ทั่วไป

เกษตรเชิงพื้นที่ตอบโจทย์การส่งเสริมเกษตรแนวใหม่ ผลักดันให้เกษตรกรร่วมคิด รัฐร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็ง

สยามรัฐ
อัพเดต 27 พ.ค. 2563 เวลา 06.40 น. • เผยแพร่ 27 พ.ค. 2563 เวลา 06.20 น. • สยามรัฐออนไลน์

การเกษตรเชิงพื้นที่เป็นการพัฒนาการเกษตรโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งเป็นการส่งเสริมต่อยอดจากเกษตรแปลงใหญ่วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพหรือแม้แต่ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ท กลุ่มบุคคลหรือบุคคลเหล่านี้มีพื้นฐานที่เข้มแข็งพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง โดยใช้หลักการพัฒนาที่เกิดขึ้นมาจากความต้องการของคนในชุมชน ร่วมกับภาครัฐและภาคีเครือข่ายช่วยกันผลักดันให้เกิดความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ ความอย่างยั่งยืนของการพัฒนาเกิดจากการดำเนินงานภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนทุกขั้นตอนตั้งแต่การร่วมคิดร่วมตัดสินใจร่วมวางแผนและลงมือทำ การติดตามผลที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องและผู้นำชุมชนผู้นำกลุ่มเกษตรกรในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยยึดหลักความพึงพอใจของคนในชุมชน ความสำเร็จของการเกษตรเชิงพื้นที่จะเป็นความมั่นคงทางเศรษฐกิจช่วยกระจายรายได้เป็นระบบกองทุน มีการจ้างงาน มีการศึกษาเรียนรู้ร่วมมือร่วมใจกันสร้างกิจกรรมสาธารณประโยชน์ เกิดความยั่งยืนในอาชีพและความสุขในชุมชน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้กล่าวถึงรายละเอียดและความสำเร็จของการทำเกษตรเชิงพื้นที่ ว่า “จากสถานการณ์การแพร่กระจายของโควิด -19 ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรด้วย แต่การประกอบอาชีพของพี่น้องเกษตรกรก็ไม่ได้หยุดชะงัก อาจจะมีปัญหาอุปสรรคอยู่บ้าง ในส่วนของการส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง เป็นนโยบายของรัฐบาล หลักของการทำการเกษตรเชิงพื้นที่ มีอยู่ 2 ประการ ประการแรกคือความต้องการของเกษตรกร เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรรวมกลุ่มกันคิดวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่ม นำข้อมูลที่ได้มาเสนอให้กับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร หรือที่เราเรียกว่าเกษตรตำบล ร่วมกันคิดร่วมวิเคราะห์ร่วมกันตัดสินใจ แล้วกำหนดเป็นทิศทางการพัฒนางานเกษตรพื้นที่ เป็นจุดเด่นของพื้นที่ตอบสนองความต้องการของเกษตรกร ประการที่สองคือสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดตามความต้องการของเกษตรกร อยู่บนฐานของความเหมาะสมของพื้นที่นั้นเขาตัดสินใจที่จะผลิตตอบสนองในเรื่องของความต้องการบริโภคของผู้บริโภคในพื้นที่ ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายเป็น 6 เขตภูมิประเทศโดยมีเขตละ 1 จังหวัดเป็นจังหวัดต้นแบบพร้อมกำหนดมาตรฐานด้านการผลิตทั้งด้านการเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุนการผลิต คุณภาพผลผลิต

นอกจากมาตรฐานด้านการผลิตแล้ว ยังกำหนดมาตรฐานที่ต่อเนื่องจากการผลิต คือการแปรรูปผลผลิตสร้างมูลค่าเพิ่ม การเชื่อมโยงสู่ตลาด ความรู้ที่ได้จากจังหวัดต้นแบบทั้ง 6 จั้งหวัด จะถูกถอดองค์ความรู้ที่ได้และนำมาใช้เป็นคู่มือให้กับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่นำมาใช้พัฒนาต่อยอดสู่ ในแต่ละพื้นที่เรามีเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมให้ความรู้ แนะนำ ช่วยแก้ปัญหา ช่วยกันคิด วิเคราะห์หาแนวทางพัฒนา กรมฯสนับสนุนงบประมาณตามแนวทางการพัฒนา เกษตรกรทำงานประสานกับเจ้าหน้าที่เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและตรงกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ สนับสนุนเงินทุนเพื่อความต่อเนื่องของการทำงานในระดับชุมชนในระดับพื้นที่มีความต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆต่อยอดกันไปเรื่อยๆมีการพัฒนาติดตามสถานการณ์ตลอดถ้าหากว่าพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่เขาต้องการอะไรก็จะแจ้งผ่านมาทางเกษตรอำเภอตำบลเจ้าหน้าที่ต่างๆ ส่งข้อมูลขึ้นมาว่าต้องการอะไรต้องการปลูกอะไรเราสนับสนุนเรื่องของบประมาณไม่แค่นั้นเราส่งเสริมตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำปลายน้ำโดยเฉพาะเรื่องของการผลิตเป็นเรื่องของการแปรรูปเรื่องของการตลาดเรียนเราจะต้องส่งเสริมให้อีกเยอะเลยวันนี้ภารกิจเหล่าไม่ได้อยู่ที่กระทรวงเกษตรฯอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับองค์กรอื่นกระทรวงอื่นหรือภาคเอกชน กระทรวงเกษตรฯเป็นผู้ประสานความร่วมมือให้ การตอบรับจากเกษตรกรในโครงการนี้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ เกษตรกรให้ความตอบรับเป็นอย่างดีเพราะเป็นโครงการที่สามารถตอบสนองความต้องการได้ตรงจุด นอกจากการพัฒนาด้านการผลิตแล้ว ในยุคปัจจุบันการตลาดแบบใหม่เป็นเรื่องที่เกษตรกรต้องปรับตัวและเรียนรู้ การซื้อขายแบบออนไลน์ พัฒนาการผลผลิต มีการแปรรูปเพิ่มมูลค่าของสินค้า ควบคู่ไปกับการตลาดแนวใหม่ ความสำเร็จของการทำเกษตรเชิงพื้นที่เราคงต้องมองไปที่ความยั่งยืน ความยั่งยืนเรามองที่ความสุขของเกษตรกรในชุมชน และในวิกฤตของโควิด 19 ทำให้ทางเจ้าหน้าที่ไม่สามารถลงพื้นที่เข้าไปพบกับเกษตรได้ ทางกรมได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เตรียมความพร้อมจัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้เบื้องต้นเช่นข้อมูลของชุมชนไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางด้านดินน้ำหรือข้อมูลเรื่องของการตลาดข้อมูลของเทคโนโลยีการผลิตของพี่น้องเกษตรกรและนำมาวิเคราะห์ไว้เบื้องต้น กำหนดเป็นแนวทางพัฒนา เมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ เราก็จะส่งเจ้าหน้าที่เรานำข้อมูลเหล่านี้นะครับไปคุยกับพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ซึ่งจะทำให้เกิดความรวดเร็วในการทำงาน สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องขอฝากสำหรับพี่น้องเกษตรกรว่าวันนี้จะทำการเกษตรแบบเดิมไม่ได้ ต้องมีการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ต้องปรับตัวอย่างอย่างเร็ว เราจะร่วมกันฝ่าฟันวิกฤตนี้ไปพร้อมกัน สุดท้ายผมเชื่อว่าเกษตรกรทุกคนจะสามารถผ่านวิกฤตนี้ไปได้ เพราะองค์ความรู้ที่ได้สะสมไว้ ความสำเร็จของการทำเกษตรเชิงพื้นที่ คือความยั่งยืน ความยั่งยืนคือความสุขของเกษตรกร การอยู่ดีกินดีของพี่น้องเกษตรกรทุกคน เจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทุกทำงานเคียงข้างเกษตรกรทุกคนในทุกสถานการณ์”

นอกจากการทำเกษตรเชิงพื้นที่แล้วอาชีพประมง ก็ถือเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สำคัญ การทำประมงพื้นบ้านแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถือเป็นการทำประมงแบบยั่งยืนหลักสำคัญในการช่วยพัฒนาและส่งเสริมอาชีพประมง ที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เป็นพื้นที่ตัวอย่างของการทำประมงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นแหล่งประมงพื้นบ้านที่มีความอุดมสมบรูณ์มีจำนวนสัตว์น้ำหลากหลายและมีจำนวนมากและในปัจจุบันประสบปัญหาเรื่อประมงต่างพื้นที่เข้ามาจับสัตว์เป็นจำนวนมาก ในอดีตการประมงในพื้นที่ประสบปัญหาการทรัพยากรสัตว์น้ำลดลงอย่างมาก ชุมชนจึงได้ริเริ่มโครงการธนาคารปู เพื่อให้สมาชิกที่ได้ปูไข่นอกกระดองนำมาบริจาคให้กับกลุ่มเพื่อนำเพาะพันธ์ ขยายพันธ์ปูม้าเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรควบคู่ไปกับการทำประมงอย่างรับผิดชอบ รวมทั้งมีแนวทางฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำที่ชัดเจนโดยมีคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มกำหนดกฎระเบียบกติกาในการปฏิบัติและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อให้เกิดการจัดการที่ดีและนำไปสู่ความยั่งยืนในอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

ประธานธนาคารปูม้า แหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี กล่าวถึงโครงการธนาคารปูว่า “ช่วงเช้าทุกวันจะขอปูม้าที่มีไข่นอกกระดองจากชาวประมงจำนวนลำเพียง 1 ตัว เพื่อนนำมาใช้ขยายพันธ์ ไข่ปูม้ามี

4 ระดับคือเหลือง เหลืองส้มเป็นระยะแรกอยู่สัก 2 วัน 3 วันมันจะเป็นสีน้ำตาล จากน้ำตาลจะกลายเป็นสีเทาและสีดำ เมื่อไข่เป็นสีดำเราจะต้องเขี่ยลูกออกเพื่อนำมาเพาะพันธ์ และเก็บแม่มันไว้ อยากจะให้มีการทำธนาคารปูม้าในที่อื่นๆด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนสัตว์น้ำ”

นางอัจรี เสริมทรัพย์ ผู้ใหญ่บ้านคอนใน ม.2 ต.แหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี กล่าวว่า “ปัญหาหลักๆเลย 2 ปัญหาที่เกิดมาดั้งเดิมเลยก็คือสัตว์น้ำลดลงและสองราคาตกต่ำจำนวนสัตว์น้ำมันลดลงเพราะมีจำนวนเรือประมงเพิ่มขึ้นแล้วก็จับกันอย่างเดียวจับกันโดยที่ไม่คำนึงถึงว่าสัตว์น้ำสัตว์น้ำมันลดลงหลายชนิดมากแต่พวกเราเลือกที่จะพัฒนาในเรื่องของปูม้า และให้เรืองประมงที่มีขนาดอวนตั้งแต่ 9 เซ็นขึ้นไปจับปูม้า ถ้าอวนขนาดเล็ก 7-8 เซ็นจะจับได้ปูม้าขนาดเล็ก จะทำให้จำนวนปูลดลงเพราะขาดแม่พันธ์ ธนาคารปูม้าทำให้มีจำนวนปูม้าเพิ่มขึ้น โดยมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นของปูม้าเมื่อชาวบ้านไปจับปูหรือว่าไปงมหอยจะมีลูกปูม้าวัยอ่อน ขึ้นมาไต่ที่หลังเท้าทำให้รู้สึกเลยว่ามีปูม้าเพิ่มขึ้นจริงๆ ชาวบ้านสามารถจับปูมาได้มากขึ้น เรือประมงพาณิชย์ จากที่ไม่เคยจับปูม้าก็หันมาจับปูมาสามารถเพิ่มรายได้ให้กับทั้งเรือประมงพื้นบ้านและเรือประมงพาณิชย์ การทำธนาคารปู เราทำให้เพื่ออนาคต ทำให้ลูกหลานมีปูม้าจับกินตลอดไป ถ้าเราไม่ทำตอนนี้แล้วเราจะมีปูม้าให้ลูกหลานเราจะกินได้ยังไรถ้าฝากเงินกับธนาคารเราก็จะได้ดอกเบี้ยถูกไหมแต่ถ้าเราฝากปูกับธนาคารเราจะได้ความยั่งยืน“กรณีมีเรือประมงจากต่างพื้นที่เข้ามาทำประมงส่งผลกระทบต่อการทำประมงของชาวประมงในพื้นที่เกิดผลเสียต่อระบบชายฝั่งส่งผลทำให้ปูม้าและสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งต้องย้ายถิ่นทำให้ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ชุมชนคลองเทียน อ.ชะอำ จ.เพชรบุรีประสบความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเข้าร่วมประชุมรับฟังปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว โดยศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรจัดประชุมเสวนา แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี มีชาวประมงในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน

กิจกรรมการจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านในชุมชนท้องถิ่นครั้งนี้ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรทำหน้าที่ในการประสานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือแนะนำ และแก้ไขปัญหา

นาวาเอก จีระ มิตรดี ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล) ภาค 1กล่าวว่า “ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล มีหน้าที่ในการอำนวยการสั่งการ วางแผนบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล สำหรับกิจกรรมวันนี้ ศรชลจัดสานเสวนาเกี่ยวกับประมงพื้นบ้าน ช่วยในเรื่องของการประมงที่ถูกต้องพยายามพูดคุยทำความเข้าใจแล้วก็หาทางออกให้กับชาวบ้านเพื่อให้เขาสามารถทำมาหากินได้ตามปกติและมีความเข้าใจในเรื่องของการใช้เครื่องมือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเช่นการจับปูม้าที่มีไข่นอกกระดองมามากๆ จะทำให้จำนวนปูม้าลดลง ศรชลได้ร่วมกับกรมประมง ทำเรื่องคืนปูไข่ส่งคืนทะเลนะครับ ก็ให้ความรู้คำว่าการไม่เอาปูไข่ที่มีไข่นอกกระดองมากินส่งผลให้เขาได้มีอาชีพที่ยั่งยืนกับในส่วนของ”
นายปรเมศร์ อรุณ หัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง สำนักงานประมง จ.เพชรบุรีกล่าวถึงการรับฟังปัญหาของชาวบ้านว่า “ประเด็นของอำเภอชะอำนะครับมีปัญหาก็คือในเรื่องการทำประมงพื้นบ้าน มีการร้องเรียนไปทางสำนักงานประมงอำเภอชะอำ กรณีของเรือที่มาจากนอกพื้นที่เข้ามาดำหอย หอยคราง หอยกาบ ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดน้อยลง สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรีร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจัดทำประชุมกันไปเพื่อแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ และมีมติให้ทางชาวประมงพื้นบ้านเขตประมงอำเภอชะอำ ดำเนินการทำประชาคมกรมประมงได้นำนักวิชาการจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนบนเข้ามาร่วมสำรวจและแก้ไขปัญหาและนำผลการประชุมประชาคมร่วมกับข้อมูลทางวิชาการนำเสนอคณะกรรมการประมงจังหวัดเพชรบุรี ต่อจากนั้นจะนำเสนอเพื่อที่จะออกร่างเป็นกฎหมายเพื่อที่กำหนดเขตอนุรักษ์ต่อไป”

ชาวประมงพื้นบ้านที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เป็นตัวอย่างชุมชนเข้มแข็ง ในเรื่องการดูแลทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งทะเล การดูแลทรัพยากรไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของทุกคน การดูแลเพื่อรักษาทรัพยากรก็เพื่อ ส่งต่อทรัพยากรให้รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปและอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับการแก้ไขปัญหาก็คือการพึ่งพาตนเองตามหลักหน้าที่พลเมืองเพราะเมื่อทุกคนปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วก็จะสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
อีกหนึ่งตัวอย่างของชุมชนที่เข็มแข็งและพึ่งพาตนเองคือ ชุมชนที่ อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ ชาวบ้านรวมกลุ่มกันทำน้ำพริกสำเร็จรูปสูตรดั้งเดิม พัฒนาต่อยอดจนตอนนี้กลายเป็นของดีประจำชุมชน สามารถจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเป็นอย่างมาก

นางสาวศุพรลักษณ์ พูลขวัญ ประธานกลุ่มน้ำพริกศุพรลักษณ์ กล่าวว่า“อาชีพส่วนใหญ่ของคนในชุมชนคือการทำนาการที่มารวมกลุ่มกันทำน้ำพริกเพราะทางกลุ่มได้แรงบันดาลใจในการทำผลิตภัณฑ์น้ำพริกสูตรดั้งเดิม จากการไปเปิดโรงทานหลายที่ปรากฏว่ามีคำสั่งซื้อกลับมาเยอะมาก ทางกลุ่มแม่บ้านก็เลยรวมตัวกันมาหารายได้เสริมหลังจาการทำนา ชุมชนมีพืชผักสวนครัวและสมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบอยู่แล้ว ทางกลุ่มได้ประชุมและตกลงกันทำน้ำพริกสูตรดั้งเดิมตำครกหินและเมื่อปี 2560ได้จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนเรายังคงอนุรักษ์เรื่องครกหิน ซึ่งเป็นวิธีการทำที่ทำให้น้ำพริกมีความอร่อยมากว่าใช้เครื่องจักร วัตถุดิบที่กลุ่มน้ำพริกศุพรลักษณ์นำมาใช้นั้นก็ต้องมีการคัดสรรคุณภาพมาเป็นอย่างดีเพราะเป็นน้ำพริกที่ไม่ใส่สารกันบูดจึงจะต้องมีการควบคุมกระบวนการทำที่สะอาดทุกขั้นตอน ซึ่งทางกลุ่มเขาได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาแบบองค์รวมจากส่วนราชการในพื้นที่ตั้งแต่กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการบริหารจัดการกลุ่ม กระบวนการพัฒนาการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและสิ่งสำคัญก็คือการตลาด ทางหน่วยงานราชการได้เข้ามาสนับสนุนกลุ่มหลายหน่วยงานมีทั้งสำนักงานเกษตรและพัฒนาชุมชน ธ.ก.ส..หอการค้า ทางสำนักงานเกษตรได้ส่งกลุ่มไปอบรมและได้พบกับทางอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้ามาช่วยเรื่องให้ความรู้ด้านการตลาด สอนการทำแผนตลาด สอนการทำระบบเงินหมุนเวียนให้กับสมาชิก อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นพี่เลี้ยง ให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย การทำบัญชี สนับสนุนเครื่องจักรวันนี้เรากำลังจะขยายธุรกิจต่อก็คือสร้างอาคารโรงเรือน เป็นอาคาร อย. ”

นายบุญมี แท่นงาม เกษตร จ.นครสวรรค์ กล่าวถึงการสนับสนุน ว่า “กรมส่งเสริมการเกษตรโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายเรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ทางกลุ่มแม่บ้านมีการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเช่นปลาร้าทรงเครื่อง น้ำพริกปลาร้าทางกลุ่มก็สามารถที่จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตัวนี้เป็นรายได้ให้กับครอบครัว ได้รับการยอมรับจากตลาดทางกลุ่มเรามีจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนแล้วพร้อมที่จะให้หน่วยงานราชการเข้ามาสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางวิชาการ ความรู้ในด้านการตลาด ด้านการจำหน่าย การจดบันทึกบัญชี การจัดทำบัญชีครัวเรือนเป้าหมายที่เราอยากเห็นในพื้นที่ขณะนี้คือทุกโครงการที่ดำเนินการร่วมกับประชาชนหรือเกษตรกร เป้าหมายที่อยากเห็นที่สุดคือเกษตรกรมีความสุข อยู่ดีกินดีมีสตางค์ใช้สามารถส่งลูกเรียนหนังสือได้เห็นหน้ากันยิ้มแย้มแจ่มใสถ้าเกษตรกรมีความสุข ภาครัฐก็มีความสุขไปด้วย”

นายอุบล เมืองพรม พัฒนาชุมขน กล่าวถึงการสนับสนุนชุมชนว่า” โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนในเรื่องของกิจกรรมสัมมาชีพชุมชนนำความรู้ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาเข้ามาเพื่อให้หมู่บ้านได้เรียนรู้ ได้ศึกษาได้ขับเคลื่อนรวมถึงในการคัดครัวเรือนต้นแบบเพื่อเป็นเป้าหมายในการประกอบสัมมาชีพหรือที่เรียกว่าสัมมาชีพชุมชน ปีที่ผ่านมาเราก็เน้นขับเคลื่อนหมู่บ้านเป้าหมายเหล่านี้โดยการนำครัวเรือนเป้าหมายไปฝึกอบรมศึกษาดูงาน นำหมู่บ้านหรือครัวเรือนที่ประสบผลสำเร็จมาขยายผลในเรื่องการทำกิจกรรมตัวอย่างที่หมู่ที่ 2 บ้านหนองเต่าใต้ เป็นเรื่องการกิจกรรมในการแปรรูป คือการทำน้ำพริกน้ำพริก ทำปลาร้า เราพัฒนาอาชีพให้ชุมชนทุกการขับเคลื่อนเราก็หวังผลร้อยเปอร์เซ็นต์ บางกลุ่มประสบความเสร็จอย่างรวดเร็ว บางกลุ่มต้องใช้เวลา แต่สิ่งที่เราต้องการเห็นเลยก็คือการนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักที่สำคัญ ชุมชนมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าหรือจากการนำวัตถุดิบเอามาเอามาแปรรูปร่วมกัน

ผศ.นิวัติ อุณฑพันธ์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ กล่าวว่า “ทางเราเข้ามาอบรมเปลี่ยน วิธีคิด ทำเขาให้เป็นนักธุรกิจให้เป็นผู้ประกอบการ ขั้นต่อไปคือช่วยเขาให้เขียนแผนธุรกิจ สอนให้รู้ว่าเป้าหมายอยู่ที่ไหน เขียนแผนธุรกิจเสร็จ เราช่วยหาพี่เลี้ยง ช่วยหาผู้เชี่ยวชาญหลายๆเรื่องเช่นเป็นวิศวกรด้านการออกแบบเครื่องจักร เข้ามาออกแบบเครื่องจักรให้เขาในเรื่องของการทำน้ำพริก อยากได้การตำด้วยครกหินซึ่งเป็นเอกลักษณ์ เราก็ออกแบบให้ ในส่วนเรื่องมาตรฐานอาหารเราก็พาไปพบ อ.ย .ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านทำแพ็คเกจและแบรนด์มาช่วย เมื่อกลุ่มสามารถหาเอกลักษณ์ที่เป็นอัตลักษณ์ ที่เด่นได้แล้วก็จะทำให้แบรนด์มีความเข็มแข็งส่งผลให้มีหน่วยงานต่างๆเข้ามาให้การสนับสนุน คุณผลิตอาหารซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องกินอย่างปฏิเสธไม่ได้ คุณเป็นเกษตรกรก็สามารถประสบความสำเร็จมากว่านักธุรกิจได้"

ภูมิปัญญาความรู้ด้านการทำน้ำพริก ที่ได้รับการสืบทอดมาจากรุ่นปู่ย่าตายายเป็นอาหารพื้นเมืองของชุมชนที่ได้รับการพัฒนาสนับสนุนเป็นผลิตเป็นสินค้าของชุมชน สร้างรายได้เสริมจากการทำนาทำไร่ จังหวัดนครสวรรค์เป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์รวมการเกษตร มีทั้งข้าว อ้อยและมันสำปะ เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมและมีน้ำท่าที่อุดมสมบูรณ์ปัจจุบันชาวบ้านหมู่ 2 ตำบลหนองเต่าใต้ มีเศรษฐกิจพอมีพอกินสามารถพึ่งพาตนเองได้แม้ว่าจะต้องเผชิญกับสถานการณ์บ้านเมืองที่ยากลำบากแต่ผลิตภัณฑ์น้ำพริกอย่างเช่นน้ำพริกแมงดา น้ำพริกตาแดง น้ำพริกผัด น้ำพริกแกง ปลาร้าทรงเครื่องและแจ่วบอง ก็ยังคงจำหน่ายได้ตลอดทั้ง เป็นตัวอย่างของชุมชนที่เข็มแข็ง สามารถเลี้ยงตนเองได้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ขอขอบคุณข้อมูลจากรายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ทุกวันพุธและพฤหัสบดี เวลา 21.00-22.00 น.

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 6
  • Peace
    ชุมชนเก้าเลี้ยว ของดีชุมชน ดีพวกท่านพร้อมใจกันสร้างอาชีพ และสร้างชื่อเสียงให้ชาวนครสวรรค์ ก็เป็นไปได้ ช่วยกันผลักดัน สส นครสวรรค์ ตระกูล เก่าแก่ สวัสคำประกอบ และนิโรจน์ ชว่ยดันโครงการขุดรอกแม่ปิง จากท้ายเขื่อนภูมิพลถึงปากน้ำโพ โครงการนำร่อง เงินกู้ ล้านล้าน เจีียดมา สร้างประโยชน์ ให้ต้นเจ้าพระยา ดักว่าไปอุ้มนายทุน ประชาชน ตั้งแต่ จังหวัดตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ และเจ้าพระยาจะมีน้ำดิบตลอดปี
    27 พ.ค. 2563 เวลา 09.36 น.
  • คิดดี ทำดี มีน้ำใจ
    ถ้าทำได้แท้จริง 100% ตามแนวคิดและมีการบูรณาการให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดไม่แห่กันเพราะปลูกจนล้นตลาด. เชื่อว่าอนาคตเกษตรกรไทย จะดีกว่าอาชีพค้าขายอื่น
    27 พ.ค. 2563 เวลา 08.12 น.
  • peerapat
    หัวใจเกษตรคือต้นทุนการผลิต ถ้าช่วยตรงนี้ได้หนี้สินจะน้อยลงอย่างเช่น เครื่องจักร อุปกรณ์การเกษตร ปุ๋ยยาต่าง ๆ เห็นเดี๋ยวนี้ใช้โดรนพ่นยาราคาแพงมากเกษตรเข้าไม่ถึง อ่อไอพวกพ่อค้าคนกลางอีกกดราคาจนผู้ผลิตแทบไม่เหลือแต่ตัวเองรวยเอารวยเอา
    27 พ.ค. 2563 เวลา 08.01 น.
  • Sretwikrom
    เป็นโครงการที่ดีมากถ้าหากทำได้จนสำเร็จทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันโดยเฉพาะทางทีมพี่เลี้ยงต้องเน้นทางเชิงรุกถ้าไม่ร่วมมือกันเท่าที่ผ่านมามันก็แค่โครงการนั่งห้องแอร์
    27 พ.ค. 2563 เวลา 07.54 น.
  • ส่งเสริมไป ช่วยเหลือไปสำหรับบางคนอาจจะได้แต่ทีอีกจำนวนมากทำไปก็ขาดทุน เพราะความไม่รู้จักประมาณตน มีสิบบาทใช้ร้อยบาท ประเภทนี้เยอะ ความอยากได้อยากมี สุดท้ายไปไม่ไหวมันก็กลับมาด่าพวกเอ็งบริหารประเทศไม่ดี. นี้แระที่ทำให้เกษตรกรไทยบางคน ทำเท่าไรก็ไม่รวย
    27 พ.ค. 2563 เวลา 07.21 น.
ดูทั้งหมด