ไลฟ์สไตล์

มาเรียมอาจจะปลอดภัย แต่พะยูนไทยกว่า 240 ตัว ยังเผชิญกับการ "ถูกคุกคาม" จากความเชื่อผิดๆ

Amarin TV
เผยแพร่ 17 มิ.ย. 2562 เวลา 10.00 น.
ณ นาทีนี้ เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก “มาเรียม” ลูกพะยูนน้อยอายุประมาณ 6 เดือน ที่เข้าเกยตื้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562 ที่ จ.กระบี่ ชา

ณ นาทีนี้ เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก“มาเรียม” ลูกพะยูนน้อยอายุประมาณ 6 เดือน ที่เข้าเกยตื้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562 ที่ จ.กระบี่ ชาวบ้านจึงแจ้งเจ้าหน้าที่ให้เข้าช่วยเหลือ ก่อนจะมีการเคลื่อนย้ายมาเรียมมายังแหลมจุโหย บนเกาะลิบง มีขึ้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน โดยเจ้าหน้าที่ปล่อยให้มันว่ายน้ำอย่างอิสระ เพื่อหาจุดเหมาะสมที่สุดให้กับตัวเอง สามวันต่อมามาเรียมได้ย้ายที่อยู่ไปเรื่อยๆ จนมาอยู่บริเวณหน้าเขาบาตูปูเต๊ะ ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลมาเรียมในปัจจุบัน และกลายเป็นขวัญใจของเจ้าหน้าที่และผู้ได้สัมผัสกับความน่ารักของมัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่พะยูนทุกตัวที่จะโชคดีเหมือนมาเรียมตัวน้อย เพราะยังมีพวกมันอีกมากในธรรมชาติที่กำลังเผชิญกับอนาคตที่ไม่แน่นอน และสาเหตุสำคัญก็ที่ผลักดันพวกมันไปอยู่ ณ ปากเหวของการสูญพันธุ์ก็คือพวกเราเอง

มีรายงานว่า ประชากรพะยูนที่หลงเหลืออยู่มากที่สุด คือ ออสเตรเลีย ซึ่งมีพะยูนอยู่ประมาณ 20,000 ตัว โดยสถานที่ๆ พบมากที่สุด คือ อ่าวชาร์ก ทางภาคตะวันตกของประเทศ มีประมาณ 10,000 ตัว คิดเป็นร้อยละ 12.5 ของประชากรพะยูนทั่วโลก เพราะเป็นสถานที่อุดมไปด้วยหญ้าทะเล

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในขณะที่ในประเทศไทย สถานที่ๆ เป็นแหล่งอาศัยแหล่งสุดท้ายของพะยูนคือ ทะเลในพื้นที่จังหวัดตรัง โดยพบมากที่สุดบริเวณรอบๆ เกาะลิบง คาดว่ามีราว 210 ตัว ซึ่งเป็นข้อมูลจากการสำรวจในเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 โดยเฉพาะที่เกาะลิบงนั้นเป็นที่อาศัยของจำนวนประชากรพะยูนในประเทศมากถึงร้อยละ 60-70 และจากข้อมูลของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รายงานว่าจำนวนพะยูนเฉลี่ยในประเทศไทย 240 ตัว แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงลดลง

แม้จะมีความพยายามในการอนุรักษ์ประชากรพะยูนในประเทศ ในปี พ.ศ. 2554 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ทำพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการอนุรักษ์และการจัดการพะยูน และแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนโดยครอบคลุมพื้นที่อาศัยของพะยูนทั้งหมด ระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ/อนุสัญญาว่าด้วยชนิดพันธุ์ที่มีการเคลื่อนย้ายถิ่น โดยที่ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ 20 ที่ลงนามในบันทึกความเข้าใจนี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แต่ปัจจุบันประชากรพะยูนในธรรมชาติยังคงถูกคุกคามอย่างหนัก ทั้งการจากรล่าเพื่อเอาเนื้อ, กระดูก และเขี้ยวไปขายตามความเชื่อทางไสยศาสตร์ มีความเชื่อว่ามีคุณสมบัติทางเมตตามหานิยม โดยเฉพาะ “เขี้ยวพะยูน” ที่มีชื่อเรียกในแวดวงการค้าในตลาดมืดว่า “งาช้างน้ำ” ซึ่งมีราคาซื้อขายที่แพงมาก และมักนำไปทำเป็นหัวแหวน นอกจากนี้แล้วยังเชื่อว่าน้ำตาพะยูนและเขี้ยวพะยูนมีอำนาจในทางทำให้เพศตรงข้ามลุ่มหลงคล้ายน้ำมันพราย

นอกจากนี้ พะยูนที่เริ่มกลับมาหากินในพื้นที่ทะเลไทย ยังถูกคุกคามจาก“ทัวร์ชมพะยูน” ของคนในพื้นที่ ที่มักมีการแล่นเรือไล่ตามพะยูนที่กำลังกินหญ้าทะเล เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เห็นพะยูนในระยะใกล้ ซึ่งอาจส่งผลให้พะยูนมีการย้ายถิ่นออกจากพื้นที่ เพราะความรู้สึกไม่ปลอดภัย และมีบางส่วนที่อาจได้รับบาดเจ็บจากใบพัดเรือ รวมถึงอุปกรณ์ประมงอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ได้มีการคำนวณา หากสถานการณ์ของพะยูนในน่านน้ำไทยยังคงเป็นเช่นนี้ และโดยเฉลี่ยยังมีพวกมันตายถึงปีละกว่า 5 ตัว ผลลัพธ์อาจทำให้พะยูนจะหมดไปจากน่านน้ำไทยภายใน 60 ปีนี้

ดูข่าวต้นฉบับ