สุขภาพ

ใช้เครื่องพิมพ์ 3D ปั๊มยารูปการ์ตูน แก้ปัญหาเด็กเล็กกินยายาก

TODAY
อัพเดต 23 ก.ค. 2562 เวลา 11.53 น. • เผยแพร่ 23 ก.ค. 2562 เวลา 11.53 น. • Workpoint News

โรงพยาบาลสวนปรุง จับมือ ม.เชียงใหม่ นำเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มาผลิตยาผสมช็อกโกแลตผลิตเป็นรูปการ์ตูน จูงใจเด็กเล็กที่ป่วยให้กินยาง่ายขึ้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

วันที่ 23 ก.ค. ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่ มีการจัดแถลงข่าวการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตยาด้วยระบบการพิมพ์แบบ 3 มิติ โดยมี เภสัชกร วนิดา พุ่มไพศาลชัย หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสวนปรุง พร้อมด้วย รศ. นิพนธ์ ธีรอำพน ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์วิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้นำเสนอ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นการนำระบบการพิมพ์แบบ 3 มิติ มาดัดแปลงใช้ในการพิมพ์ยารูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดยาให้กับผู้ป่วย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

รศ.นิพนธ์ กล่าวว่า ในปัจจุบันโลกเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 ดังนั้นศูนย์วิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้คิดค้นในการนำเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติรูปแบบใหม่ นำมาใช้เพื่อเปิดโอกาสให้เภสัชกรสามารถสร้างเม็ดยาที่มีรูปแบบเฉพาะตามความต้องการของผู้ป่วยแต่ละคนได้อย่างรวดเร็ว ช่วยทำให้การกินยานั้นง่ายขึ้น เพียงแค่เภสัชกรผสมยาตามสูตรที่ต้องการ จากนั้นป้อนตัวยาที่ต้องการใช้เข้าไปในเครื่อง ก่อนที่จะสั่งพิมพ์ออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ ซึ่งนวัตกรรมนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการผลิตยาที่ต้องลงทุนสูง ให้สามารถผลิตยามาใช้กับผู้ป่วยเฉพาะรายในโรงพยาบาลได้เอง ในราคาประหยัดและรวดเร็ว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ขณะที่ เภสัชกร วนิดา เปิดเผยว่า โครงการนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง 3 หน่วยงานคือ โรงพยาบาลสวนปรุง, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์วิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่จะแก้ไขปัญหาสำหรับผู้ป่วยที่กลืนยาลำบากโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ซึ่งเราสามารถปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะราย จากนั้นจะนำตัวยาไปผสมกับช็อกโกแลต และใช้เทคโนโลยีระบบการพิมพ์แบบ 3 มิติ เปลี่ยนรูปลักษณ์ของยาให้ออกมาเป็นรูปการ์ตูน เพื่อให้เด็กเล็กสามารถทานยาได้ง่ายแต่ปริมาณของตัวยายังคงเท่าเดิม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้มีการทดลองกับยาแก้อักเสบจากโรคไขข้อ รวมไปถึงยากันชัก และยารักษาโรคประสาท และในอนาคตจะพัฒนาเพื่อให้ใช้กับยาได้หลากหลายประเภทมากยิ่งขึ้นต่อไป

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 6
  • Piyada
    What a good idea!!!!! But, still the designs need to be improved. Keep up with your good work!!
    23 ก.ค. 2562 เวลา 15.10 น.
  • ENICIDEM
    ระวังเด็กแอบเอาไปกินเล่นหากเหมือนขนมหวานจนเกินไป
    24 ก.ค. 2562 เวลา 04.27 น.
  • Boat Watunyou
    ผมว่าปัญหาอีกอย่างคือยามันเม็ดใหญ่ด้วยครับ ตอนผมเป็นเด็กกินพาราทีซอยแล้วซอยอีก
    29 ก.ค. 2562 เวลา 05.47 น.
  • Tboonsa
    ถือว่ามีความพยายามช่วยเหลือเด็กได้ดีเลยครับ ถ้าไงก็ระวังเรื่องการกินของเด็กด้วยก็ดี บางทีเด็กเล็กๆชอบกัด อม คาย ทิ้ง จะทำให้ขนาดยาไม่ได้ และระวังเรื่องความคงตัวของยา กับปฏิกิริยาระหว่างยากับสารเคลือบด้วยก็ดีครับ ส่วนตัวผมชอบให้ลูกกินยาน้ำมากกว่า แต่ก็เลือกเจ้าที่แต่งรสอร่อยๆหน่อย กินยากนักจับใส่ไซริงค์ฉีดเข้าปากซะเลย
    29 ก.ค. 2562 เวลา 08.56 น.
  • Lynne Barty
    อย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ใหญ่อย่างเราก็กินยายาก เราเป็น
    29 ก.ค. 2562 เวลา 06.44 น.
ดูทั้งหมด