ไลฟ์สไตล์

นักโหราศาสตร์พร้อม! นักวิทยาศาสตร์พร้อม! 27 กรกฎานี้ “จันทรุปราคา” ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21

TheHippoThai.com
อัพเดต 25 ก.ค. 2561 เวลา 04.17 น. • เผยแพร่ 24 ก.ค. 2561 เวลา 11.00 น.

นักโหราศาสตร์พร้อม! นักวิทยาศาสตร์พร้อม! 27 กรกฎานี้ “จันทรุปราคา” ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 

ศตวรรษที่ 21 นี้ คือช่วงเวลา 100 ปี นับจากวันที่ 1 มกราคม 2001 ถึง 31 ธันวาคม 2100 จะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงทั้งสิ้น 85 ครั้ง แต่ละครั้งจะมีช่วงเวลาที่พระจันทร์มืดหมายถึงเข้าไปในเงามืดของโลกนานไม่เท่ากัน ครั้งที่สั้นที่สุดคือ 20 นาที ซึ่งจะเกิดในวันที่ 21 ตลาคม 2097 แต่ครั้งที่ยาวที่สุด ดวงจันทร์มืดมิดเป็นสีแดงเข้มนานที่สุด จะเกิดในเดือนนี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ค่ำคืนวันที่ 27 กรกฎาคม ซึ่งตรงกับ วันอาสาฬหบูชา ต่อเนื่องเช้าวัน 28 กรกฎาคม ซึ่งเป็น วันเข้าพรรษา ประเทศไทยเราและอีกหลายชาติทั่วโลก จะได้เห็นปรากฏการณ์ จันทรุปราคา ที่มีช่วงเวลาการเกิดคราสยาวนานที่สุดในรอบ 100 ปี นั่นคือดวงจันทร์จะเข้าไปในเงามืดของโลกนานถึง 1 ชั่วโมง 42 นาที  57 วินาที ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในรอบศตวรรษที่ไม่ควรพลาด

ลำดับเหตุการณ์ในคืนวันนั้นคือจะเริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วนเวลา  01:24:27 แต่จันทรุปราคาเต็มดวงจะเริ่มตอน 02:30:15 ประทับกึ่งกลางคราสเวลา 03:21:44 จากนั้นดวงจันทร์จะเริ่มถอยออกจากเงามืดจนสิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวงตอน 04:13:13 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจากจะได้เห็นดวงจันทร์มืดมิดยาวนานกว่าครั้งไหนๆแล้ว ยังมีของแถมอีก 2 อย่างนั่นคือ ในคืนวันเดียวกัน ทางด้านซ้ายของดวงจันทร์ห่างไปไม่มาก เราจะได้เห็นดาวอังคารสว่างเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นช่วงที่โลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันที่สุดในรอบ 15 ปี เท่านั้นยังไม่พอ สำหรับคนที่อยู่นอกตัวเมือง หรือมีโอกาสขับรถไปชมจันทร์ในที่แสงน้อยๆตามต่างจังหวัดแล้ว ท่านอาจได้เห็นทางช้างเผือกปรากฏตัวด้านขวาของดวงจันทร์ที่มืดมิดนี้อีกด้วย

ประเทศที่จะได้เห็นจันทรุปราคาครั้งสำคัญนี้พร้อมไทย ก็ได้แก่ทุกประเทศในทวีปยุโรป แอฟริกา เอเชีย มหาสมุทรอินเดีย ออสเตรเลีย เรียกว่าเห็นกันทั่วโลก ยกเว้นสหรัฐอเมริกาฯ 

ถิอว่าเป็นปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ที่อาจทำให้เราคนไทยต้องนอนดึกกันอีกครั้งหลังบอลโลก หรือเรียกว่านอนกันเกือบสว่างเลยทีเดียว แต่คงไม่เป็นไรเพราะวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

โดย Mr.Vop

 

อ้างอิง List of 21st-century lunar eclipses

เครดิตภาพ วรเชษฐ์ บุญปลอด สมาคมดาราศาสตร์ไทย และ วิกิพีเดีย

ความเห็น 1
  • เป็นคนแรก#ดีใจจังเลย
    25 ก.ค. 2561 เวลา 13.05 น.
ดูทั้งหมด