ไลฟ์สไตล์

ตายแล้ว! พจนานุกรมสะกดผิด! ราชบัณฑิตยังมึน! ประชาชนจะไม่งงได้ไง?

TheHippoThai.com
เผยแพร่ 18 ก.ค. 2561 เวลา 11.00 น.

ตายแล้ว! พจนานุกรมสะกดผิด! ราชบัณฑิตยังมึน! ประชาชนจะไม่งงได้ไง?

สวัสดีค่ะคุณผู้ชม มาเจอกับเจ้อีกแล้วนะคะ คือเมื่อวันเสาร์เจ้ไปดูทอล์กโชว์ "ทอมขึ้นคูล" ของ "คูลทอม" ที่เมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์มาค่ะ ไม่รู้เหมือนกันว่าอะไรทำให้มั่นหน้าคิดว่าตัวเองคูลขนาดนั้น แต่ก็เอาเถอะค่ะ อยากทำอะไรก็ทำ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

คือทอล์กโชว์ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของอีตาครูทอม ก็เลยจัดซะเหมือนกับว่าคงจะไม่ได้จัดอีกแล้ว จัดเพื่อสนองความอยากของตัวเองล้วน ๆ ที่เจ้กรี๊ดสุดก็เห็นจะเป็นช่วงโต้วาที ที่เชิญ "อาจารย์กรรณิกา ธรรมเกษร" พิธีกรรายการ "โต้คารมมัธยมศึกษา" ตั้งแต่สมัยเจ้ยังสาว ๆ มาเป็นแขกรับเชิญด้วย แล้วก็แข่งโต้วาทีกันสด ๆ บนเวที แล้วคือแข่งกับ "ทีมเจ้าขุนทอง" ค่าาาาา คนบ้าอะไร โต้วาทีแข่งกับหุ่นเจ้าขุนทอง ขนกันมาทั้งขุนทอง ทั้งฉงน ทั้งขอนลอย คือบับ น้ำตาเจ้จะไหลจริง ๆ เหมือนได้ย้อนอดีตกลับไปสมัยที่ยังเป็นเด็กไม่ประสาวิชารัก แอร๊ยยย 

แต่ที่เจ้ว่าพีคแบบพีค ๆ พีคแบบไม่ไหวแล้วก็คือช่วงที่ครูทอมแกพูดถึงพจนนุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ ค่ะคุณ 

แกเล่าประสบการณ์การหาความหมายในพจนานุกรมไง อย่างคำว่า "ถ้วย-ชาม" เนี่ย คือเราก็รู้กันอยู่แล้วใช่มะว่าถ้วยเป็นยังไง ชามเป็นยังไง แต่อย่างเจ้เองก็ไม่เคยคิดจะไปเปิดพจนานุกรมหรอกว่ามันจะแปลว่ายังไง แต่ครูทอมทำค่ะคุณ แกบอกว่าว่าง ๆ ชอบเปิดพจนานุกรมเล่น บ้าบอ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แล้วแกก็เล่าเรื่องความหมายของคำว่า "ถ้วย-ชาม" ในทอล์กโชว์ ดีค่ะดี จ่ายตังค์มานั่งดูคนเล่าเรื่องพจนานุกรมเนาะ 

คือตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า "ถ้วย" แปลว่า "ภาชนะก้นลึก มีรูปต่าง ๆ สำหรับใส่น้ำหรือของบริโภค เป็นต้น" โอเค ชัดเจน เข้าใจได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

พอไปเปิดคำว่า "ชาม" ก็เจอความหมายว่า "ภาชนะรูปคลุ่ม ๆ ชนิดหนึ่ง" เอ่อ ราชบัณฑิตฯ คะ "คลุ่ม" คืออะไรคะ ทานโทด! คืออยากจะรู้ว่าชามเป็นยังไง แต่ดันไปเจอบอกว่าชามเป็นคลุ่ม ๆ

ครูทอมงง เจ้ก็งงค่ะ อะ แต่ครูทอมแกก็ไม่หยุดนะคะ แกไปเปิดหาคำว่า "คลุ่ม" ต่อ แล้วก็เจอว่าในพจนานุกรมระบุว่า "คลุ่ม" แปลว่า "ลักษณะของปากภาชนะที่งุ้มหรือโค้งเข้าอย่างปากตะลุ่ม" เอ้า! แล้วตะลุ่มคือไรคะพี่ขา

และแน่นอนค่ะ ครูทอมก็ยังงงอยู่ เจ้ก็ยังงงตามไปด้วย ตาครูทอมก็ไปเปิดพจนานุกรมต่อ หาคำว่า "ตะลุ่ม" เจอความหมายว่า "ภาชนะมีเชิงคล้ายพาน แต่ปากคลุ่ม"
โอ้โหหหหหห ทำไมวนเป็นงูกินหางขนาดนี้ล่ะคะพี่ขา ตาครูทอมก็ขยันขยี้จั๊ง ชามเป็นคลุ่ม ๆ คลุ่ม ๆ แบบเดียวกับตะลุ่ม ตะลุ่มที่มันเป็นคลุ่ม ๆ 

อันนี้เจ้ถามว่าพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยังจำเป็นอยู่ไหมคะ สำหรับการหาความหมายคำว่า "ถ้วย-ชาม" คือเจ้เห็นด้วยกะครูทอมนะว่าพจนานุกรมควรจะให้ความหมายเป๊ะ ๆ หน่อย ไม่ใช่ว่าต้องไปเปิดต่อหลาย ๆ คำจนกว่าจะเจอความหมาย นี่ขนาดเปิดไปตั้ง 3 คำแล้วยังแทบไม่รู้เลยค่ะว่าตกลงแล้วชามมันเป็นยังไง

แต่ยังไงซะ ถ้าจะอ้างอิงการสะกดคำก็ต้องเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนั่นแหละค่ะ ก็หวังว่าการแก้ไขพจนานุกรมครั้งต่อไป จะทำให้อะไร ๆ มันชัดเจนถูกต้องขึ้นกว่าเดิมด้วย คิดซะว่าเจ้ขออออออออ

แต่เดี๋ยวก่อน เดี๋ยวก่อน เดี๋ยวก๊อนนนนนนนนนน ถึงแม้ว่าจะเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่เราก็ต้องใช้วิจารณญาณเหมือนกัน อย่าแบบเอะอะเชื่อ เอะอะเชื่อ เพราะเคยมีเคสนึงที่ครูทอมเล่าในโชว์นี่แหละ คำว่า "แซว" คือเมื่อก่อนนี้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานไม่เคยมีคำว่า "แซว" มาก่อนเลย เพิ่งจะมามีในพจนานุกรมฉบับล่าสุดนี่แหละ เป็นฉบับพ.ศ. 2554 (แต่วางขายในปี 2556) ซึ่งในพจนานุกรมนี่ไม่ได้สะกดว่า "แซว" นะคะ แต่เขียนว่า "แซ็ว" ค่ะคุ้ณณณณ แอร๊ยยยย เกิดมาจนอายุจะ 50 ไม่เคยเขียนว่า "แซ็ว" เลยค่าาาา ไม่เคยคิดจะเอาไม้เลขแปดไปไว้บน ซ โซ่ ในคำนี้เลยอะ 

แซ็ว แซ็ว แซ็ว คือแบบดูยังไงมันก็ไม่ใช่มะ แต่ก็ต้องทนใช้ไป เพราะว่าราชบัณฑิตยสถานเขาบัญญัติไว้แบบนี้เนาะ

จนกระทั่งเมื่อเดือนมีนาคม 2561 หรือพูดง่าย ๆ คือ 5 ปีผ่านไปหลังจากการวางขาย ราชบัณฑิตยสภาก็ได้ออกประกาศนี้มาจ้าาาาา

ย่อหน้าแรกไม่ต้องไปสนใจค่ะ ดูย่อหน้าที่ 2 เลย อ่านชัด ๆ เน้น ๆ ไปเล้ยยยย นางบอกว่า "พิมพ์คำผิดเป็น แซ็ว จึงทำให้มีคำว่า แซ็ว ปรากฎอยู่ในพจนานุกรมฯ และทำให้เกิดข้อสงสัย"

โอ๊ยยยยยย เจ๊จะบ้าตายยยยย นี่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนะคะคุณ ไม่ใช่หนังสือทำมือของเด็กประถม ทำไมไม่ตรวจตราให้มันเรียบร้อยก่อนจะวางขาย พอชาวบ้านชาวช่องเห็นว่าในพจนานุกรมเขียนแบบนี้ เขาก็เขียนผิดกันไปเป็นสี่ซ้าห้าปี วางขายตั้งแต่ 5 ปีก่อน ทำไมไม่ออกมาบอกว่าผิดตั้งแต่ตอนนั้น นี่ผ่านไป 5 ปี ค่อยคิดจะแก้ไข เจ้ว่าไม่ไหวนะ ทำแบบนี้ แล้วต่อไปจะเชื่อถือได้ไหม แล้วในพจนานุกรมนี้จะมีคำผิดคำอื่นอีกไหมเนี่ย งงเวอร์ คือไรอะ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สะกดผิด แล้วปล่อยให้คนใช้ผิดอยู่ตั้งนาน

สมแล้วที่เขาว่ากันว่า "สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง" แต่อย่าพลั้งอย่าพลาดให้มันมากนักนะคะ เดี๋ยวจะไม่มีใครเขาเชื่อถือเอา! 

ที่เจ้เอามาเล่าต่อนี่ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งจากในโชว์ของครูทอมอะนะ ใครได้ดูเจ้ก็ดีใจด้วย ใครไม่ได้ดูไปดู เจ้ก็ขอแสดงความเสียดายตรงนี้เลยละกัน บอกเลยว่าพลาด!

ความเห็น 30
  • PetcH เพชร 李金龍 🐲
    คนไทยแม่งโง่ สะกดคำว่า "นะค่ะ" กันประมาณ90%
    18 ก.ค. 2561 เวลา 11.53 น.
  • เฉลียว
    เราคนไทยช่วยกันอนุรักษ์ภาษาไทยกันค่ะ
    18 ก.ค. 2561 เวลา 12.31 น.
  • นี่ขนาดผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงยังขาดการทบทวน ไตร่ตรอง ปล่อยเวลาล่วงเลยมาถึง5ปี กว่าจะเเก้ไข เเต่กับคำวิบัติตามกระเเสอย่างในโซเชียลมาทำตีโพยตีพาย เพราะภาษาโซเชียลท้ายที่สุดมันก็หายไปตามยุกต์สมัย อีกอย่าง ฃ.ขวด ทำไมคำว่า ขวด ใช้ ข. ไข่ เเทนที่จะใช้ ฃ.ตามเเบบของอักษร เเละ ฅ.คน ก็เช่นกัน เเทนที่จะใช้ ฅ. เขียนตามรูปเเบบอักษร กลับมาใช้ ค. ควาย ทั้งที่อักษรเหล่าก็ยังมีการท่อง การเรียนอยู่ในปัจจุบัน ฝากผู้ที่เกี่ยวข้องทบทวนนะครับ เพราะถ้าไม่ใช้จะมีไว้ทำไม มันไม่เกิดประโยชน์ !!!!!
    19 ก.ค. 2561 เวลา 01.23 น.
  • Boy
    ภาษาวิบัติเพราะน้อยคนที่รักและอนุรักษ์จริง มีแต่พวกดัดจริตสร้างกระแส/ตามกระแสที่มีเฉพาะพวกปัญญานิ่มเท่านั้นที่เข้าใจหรือคล้อยตาม น่าอนาถ
    18 ก.ค. 2561 เวลา 11.26 น.
  • kitt
    คุณแค่อยากจะกัดพจนานุกรมเค้า ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปคำบางคำก็แทบไม่ได้แล้ว แต่ก็ไม่ยากเกินไปที่จะค้นหาเรียนรู้ อย่าง คลุ่ม ตะลุ่ม คนรุ่นก่อนเขาใช้กัน เข้าใจ ไม่ต้องเปิดดูความหมายเป็นทอดๆอะไรนัก มาสมัยนี้ ดีซะอีก จะได้รู้จักคำไทยสมัยทวดเราเขาใช้ ของแท้ ดั้งเดิม ควรอนุรักษ์ ไม่ใช่เอามาล้อเลียนให้เห็นเป็นขำ หรือเป็นเรื่องบกพร่องผิดพลาด พรรณาใส่อารมณ์กระแดะแรดเว่อร์เกินสังขาร
    19 ก.ค. 2561 เวลา 01.48 น.
ดูทั้งหมด