ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ประชาชนเตรียมตัว! ปี 2562 สรรพากรลุยรีดภาษี 2 ล้านล้านบาท

Khaosod
อัพเดต 18 ต.ค. 2561 เวลา 12.04 น. • เผยแพร่ 18 ต.ค. 2561 เวลา 11.25 น.

กรมสรรพากรตีปี๊บรีดภาษีเกินเป้า 4.6 หมื่นล้าน พร้อมเดินหน้าชูดิจิทัลหนุนเก็บถึง 2 ล้านล้านบาทในปี’62 พร้อมเร่งการขยายฐานภาษีและการสร้างความสมัครใจในการเสียภาษี

สรรพากรลุยรีดภาษี 2 ล้านล้าน – นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรในปีงบประมาณ 2561 (ต.ค. 2560-ก.ย. 2561) อยู่ที่ 1.91 ล้านล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณก่อนหน้าจำนวน 1.23 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 7% และสูงกว่าเป้าหมายที่ได้รับมอบหมายจาก 4 หน่วยงานวางแผนเศรษฐกิจ (กระทรวงการคลัง, ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) จำนวน 4.66 หมื่นล้านบาท หรือสูงกว่าเป้าหมาย 2.5%

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทั้งนี้ เนื่องจากในปีงบประมาณ 2561 กรมสรรพากรได้มีมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีทำให้สามารถจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ได้แก่ การตรวจวิเคราะห์ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีผลขาดทุนหรือมีกำไรทางบัญชีสูงแต่ชำระภาษีต่ำ การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรผู้ออกและผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอม และการแนะนำทางภาษีอากรกับกลุ่มธุรกิจเงินสด (Cash Economy) และธุรกิจที่มีศักยภาพในการเสียภาษี รวมถึงผลจัดเก็บภาษีสำคัญได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บได้ 6.63 แสนล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 6% ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเก็บได้ 6.36 หมื่นล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 61.7% จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีแวต) เก็บได้ 7.92 แสนล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 6.8% จากการเก็บภาษีจากการบริโภคและการนำเข้าที่ดีขึ้นจากปีก่อนๆ

อย่างไรก็ดี ในปีงบประมาณ 2562 กรมสรรพากรได้รับเป้าหมายจัดเก็บภาษี จำนวน 2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2561 จำนวน 8.39 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 4.4% และเพื่อให้สามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย กรมสรรพากรจะมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการทำงานมากขึ้น ได้แก่ การนำดิจิทัลมาใช้ในการขับเคลื่อนงานของกรมสรรพากร (Digital Transformation) เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการทำงานและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีอากร รวมทั้งการจัดการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ (Data Analytics) ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการคัดเลือกผู้เสียภาษีเพื่อกำกับและตรวจสอบ (RBA) และการวิเคราะห์ข้อมูลของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

นอกจากนี้ จะเร่งการขยายฐานภาษีและการสร้างความสมัครใจในการเสียภาษี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรให้ยั่งยืนต่อไป

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 7
  • chat🌿
    เงินเดือนเราโดนหักภาษีไว้ก่อน ซื้อของโดนอีก 7% ใช้บริการโดนเซอร์วิส 10 % แล้วตามด้วย vat 7 % รีดจนเราไม่มีเงินออม ใกล้อดตายล่ะ
    19 ต.ค. 2561 เวลา 04.19 น.
  • K.กิต งานดับเพลิง
    เงินหมดคลังอีกแล้วเหรอตูบ ถึงต้องมาใช้วิธีนี้
    19 ต.ค. 2561 เวลา 04.16 น.
  • 出茶納得(スワン)_16
    ภาษีทีจะต้องเก็บจากพวกที่มันมีเงินซื้อนาฬิกา2-30เรือน พวกท่านเป็นง่อยหรือไง ปชชทำมาหากินแทบตายก็หาเรื่องรีดๆๆจนต้องถามว่าพวกท่านทำงานเพื่ออะไร ออกมาตรการแต่ละเรื่องมีแต่ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนกันทั้งนั้น ชาวบ้านเป็นขี้ข้าของพวกท่านหรือไง ทุกนาทีอ้างถฎหมายที่มีอยู่ในมือรังแกปชช แล้วไอ้พวกที่มันมีอำนาจใช้อำนาจหาผลประโยชน์เข้าตัวมหาศาล ท่านรู้แต่แกล้งหลับตามองไม่เห็นหรือว่ามีอะไรในตาพวกท่าน ไม่มีจิตสำนึกในการทำงานเลย ทำเพื่ออะไร เกษียณแล้วอยากเป็นอะไร
    19 ต.ค. 2561 เวลา 04.11 น.
  • Duke
    ก็ใครละ อนุมัติสร้างโน้นนี้ ทั่วประเทศ เยอะไปหมด แล้วก็บอกว่า ฉันจ่ายเท่านี้ ก่อนนะ แล้วอนาคตข้างหน้า จะมีคนอื่นจ่ายที่เหลือ หนี้สาธารณะพุ่งสูง....ถ้าเงินภาษีไม่พอ ก็ต้องมาเบียดเงินงบประมาณรายปี ถ้ามันไม่พออีก....ก็...นะ ประชาชน รับกรรมไป
    19 ต.ค. 2561 เวลา 03.53 น.
  • Alpha788
    รีดเจ้าสัวเยอะๆแล
    19 ต.ค. 2561 เวลา 03.13 น.
ดูทั้งหมด