ไอที ธุรกิจ

NASA ประกาศชื่อกลุ่มดาว ก็อดซิลล่า อย่างเป็นทางการ แล้วจะมีกลุ่มดาว อุลตร้าแมน ไหมหล่ะ?

Thaiware
อัพเดต 19 ต.ค. 2561 เวลา 12.00 น. • เผยแพร่ 19 ต.ค. 2561 เวลา 12.00 น. • เคนชิน
ข่าวน่ารักๆ จาก NASA ด้วยความที่กลุ่มดาวสามารถปล่อยรังสีแกมมาได้คล้ายสัตว์ประหลาด เลยตั้งชื่อให้ว่า ก็อดซิลล่า

ก็อดซิลล่า น่าจะเป็นสินค้าส่งออกที่โด่งดังที่สุดชิ้นหนึ่งของญี่ปุ่น และก็มีแฟนของเจ้าสัตว์ประหลาด ไคจู อยู่ทั่วโลก แต่ก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยเลย กว่าที่ราชาแห่งสัตว์ประหลาดตัวนี้จะได้สร้างชื่อในจักรวาล และสำหรับคนที่เป็นแฟนสัตว์ประหลาดก็น่าจะดีใจกับข่าวนี้ไม่น้อยเลย

ต้องขอบคุณ NASA ที่ทำให้ในที่สุดเจ้า ก็อดซิลล่า ก็จะได้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วจักรวาลซะที โดยชื่อของสัตว์ประหลาดที่โด่งดังระดับโลกนี้ ถูกนำไปตั้งใหักับกลุ่มดาว (Constellation) ที่มีการปลดปล่อยรังสีแกมมา (Gamma-ray) ซึ่งแน่นอนว่ามันช่างน่าประทับใจ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
NASA ประกาศชื่อกลุ่มดาว ก็อดซิลล่า อย่างเป็นทางการ แล้วจะมีกลุ่มดาว อุลตร้าแมน ไหมหล่ะ?

NASA อธิบายว่า "ก็อดซิลล่า เป็นสัตว์ประหลาดที่โด่งดังที่สุดตัวหนึ่งในโลกภาพยนตร์ และมันเป็นสัญลักษณ์ของ Popular culture จากแดนอาทิตย์อุทัย โดยภูมิหลังของเจ้าสัตว์ประหลาดตัวนี้มาจากหนังในปี 1954 เนื้อเรื่องคือการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ได้ส่งผลกระทบให้สัตว์ที่อยู่ใต้ทะเลลึกเกิดการกลายพันธุ์ และมันได้ขึ้นฝั่งที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อทำล้างทุกสิ่งทุกอย่าง"

"และอาวุธที่มีชื่อเสียงของ ก็อดซิลล่า คือการปล่อยรังสีควมร้อน ในรูปแบบเพลิงร้อนแรงที่พวยพุ่งออกมาจากปากของเจ้าสัตว์ประหลาด ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับรังสีแกมม่าที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากหลุมดำ และดาวนิวตรอน"

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

***ดาวนิวตรอน (Neutron Star) เป็นซากที่เหลือจากยุบตัวของการระเบิดแบบซูเปอร์โนวาของดาวฤกษ์ และจะเกิดเฉพาะดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก โดยในดาวประเภทนี้จะมีส่วนประกอบเพียงนิวตรอนที่อะตอมไร้กระแสไฟฟ้า

และสาเหตุที่ทาง NASA ตั้งชื่อกลุ่มดาวนี้ว่า ก็อดซิลล่า เนื่องจากมันเป็นกลุ่มดาวที่มีการปล่อยรังสีแกมม่า คล้ายการปล่อยพลังของเจ้าราชาแห่งสัตว์ประหลาดนั่นเอง

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

NASA ประกาศชื่อกลุ่มดาว ก็อดซิลล่า อย่างเป็นทางการ แล้วจะมีกลุ่มดาว อุลตร้าแมน ไหมหล่ะ?

Fermi กล้องโทรทรรศน์ร์รังสีแกมม่า เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบการปลดปล่อยรังสีแกมม่า

และ NASA ยังกล่าวอีกว่า "การปล่อยรังสีแกมม่าสามารถเกิดได้ในระบบดาราศาสตร์หลายๆ รูปแบบ มันอาจเกิดการปล่อยรังสีเมื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่หมดเชื้อเพลิง เกิดการควบแน่นด้วยมวลอันมหาศาลของตัวมันเอง หรือเมื่อดาวนิวตรอนสองดวงที่โคจรบิดเกลียวรอบกันและกัน จนรวมตัวกันเข้าเป็นหลุมดำ ทำให้เกิดการปล่อยลำของรังสีแกมม่าที่มีพลังงานรุนแรง และเป็นการระเบิดที่มีพลังงานรุนแรงในจักรวาล ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ ในจักรวาลอันไกลโพ้น ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ตรวจจับปรากฏการณ์นี้คือกล้องโทรทรรศน์รังสีแกมม่าที่มีชื่อว่า Fermi"

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • Unknown
    ถ้านาซ่ารู้จักปลัดขิก คงมีกลุ่มดาว ปลัดขิกแน่นอน
    21 ต.ค. 2561 เวลา 08.17 น.
  • SUN69
    งื้อ น่ารัก
    20 ต.ค. 2561 เวลา 10.17 น.
  • 3rapol
    พาดหัวข่าวให้มันดีๆสิ
    20 ต.ค. 2561 เวลา 09.41 น.
ดูทั้งหมด