ไลฟ์สไตล์

ไอบ่อย ไอเรื้อรัง เสี่ยงหลายโรค

LINE TODAY
เผยแพร่ 18 ก.ย 2562 เวลา 07.09 น.

เคยคันคอ ไอค่อก ๆ แค่ก ๆ กันใช่ไหม

จริง ๆ แล้วคนเราไอเพื่อทำให้ลำคอและทางเดินหายใจโล่งขึ้น หรือบางทีก็กระแอมเพื่อเคลียร์สิ่งแปลกปลอมบางอย่างที่ติดอยู่ในลำคอ หรืออาจเกิดจากการไอชั่วคราวที่มีที่มาจากการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด หรือส่วนล่าง เช่น ปอดอักเสบ การเกิดภูมิแพ้ และโรคทางเดินหายใจบางชนิด เช่น หอบหืด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สำหรับวิธีแก้ไอชั่วคราว บางกรณีไม่มีความจำเป็นต้องรักษาอาการไอที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เนื่องจากการไอเหล่านี้มักจะหายได้เองภายใน 3 สัปดาห์ แต่ควรสังเกตตัวเองว่าเมื่อไอแล้ว กินระยะเวลานานแค่ไหน เพราะส่วนใหญ่ไม่ค่อยมั่นใจว่าเกิน 3 สัปดาห์ไปแล้วหรือไม่ ซึ่งหากไอเป็นระยะเวลานานกว่านั้นก็ควรรีบพบแพทย์ทันที

นอกจากการไอชั่วคราวแล้ว ยังมีการไอที่ผิดปกติอีกหลายรูปแบบ เช่น ไอแห้งบ่อย ๆ ไอแบบมีเสมะ ไอหนัก ๆ ซึ่งเป็นการไอแบบเรื้อรังและเป็นสัญญาณบอกโรคหรือภาวะรุนแรงของโรคอันตรายต่าง ๆ ด้วย

ไอเรื้อรัง คือการไอติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 8 สัปดาห์ การไอเรื้อรังมีสาเหตุหลากหลาย อาจติดเชื้อหรือไม่ได้ติดเชื้อก็ไอได้ เช่น ภูมิแพ้ หลอดลมอักเสบ หอบหืด บางกรณีภาวะไอเรื้อรังอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ เช่น กรดไหลย้อน ภาวะหัวใจวาย ดังนั้นถ้าเริ่มไอจนผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากการหาสาเหตุของไอเรื้อรังมักต้องอาศัยเวลา และการวินิจฉัยจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง ผู้ที่ไอบ่อย ๆ จึงต้องทำความเข้าใจและให้ความร่วมมือในการรักษาให้มากขึ้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ไอเรื้อรัง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

การไอเป็นสัญญาณของโรคบางอย่าง โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับปอด เช่น วัณโรคปอด ซึ่งจะไม่มีอาการในระยะแรก แต่เมื่อโรคลุกลามมากขึ้นจะมีอาการไอเรื้อรัง มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางรายอาจไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย

นอกจากนี้ยังเสี่ยงเป็นโรคหืด โรคภูมิแพ้อากาศ กรดไหลย้อน ไซนัสอักเสบ ที่สำคัญต้องระวังให้ดีหากไอเรื้อรังและออกมาเป็นเลือดสด มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด และหากสูบบุหรี่จัดมานานก็อาจเป็นโรคถุงลมโป่งพองด้วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อย่างไรก็ตาม การไอเรื้อรังในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งการรักษาที่ดีที่สุดก็คือการหาสาเหตุของอาการไอและรักษาตามสาเหตุ เช่น ไอจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนหรือเป็นหวัด ก็ควรรีบรับประทานยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ และหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์อีกครั้ง

ดังนั้นเมื่อรู้ตัวว่าไอไม่หายซักที จึงควรรีบไปแพทย์โดยไม่ต้องรอให้ถึง 8 สัปดาห์ หากมีอาการไอรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีเลือดปนเสมหะ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หอบเหนื่อย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หรือมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต หัวใจ และอย่านิ่งนอนใจเด็ดขาด เพราะแค่ไอ..อาจอันตรายถึงชีวิตได้

ความเห็น 5
  • Jacky
    ถ้าไอมากๆจนมีเลือดสดออกมาระวัง เป็นมะเร็งปอดนะครับ
    19 ก.ย 2562 เวลา 01.43 น.
  • mala
    ตอนเด็กๆพ่อไอดึกๆไม่เคยหลับสนิททุกคืนเห็นแล้วสงสารหมอบอกเป็นโรคหอบหืด
    18 ก.ย 2562 เวลา 23.37 น.
  • การไอบ่อยๆอันดับแรกเลยมักที่จะทำให้คนรอบข้างเขาลำคาญ.
    18 ก.ย 2562 เวลา 09.35 น.
  • เม้นไร้สาระบ่อยๆก็คงน่ารำคาญ 55
    18 ก.ย 2562 เวลา 15.37 น.
  • Deaw
    ไอจนเจ็บเข่า
    19 ก.ย 2562 เวลา 07.18 น.
ดูทั้งหมด