- ป่าอเมซอนเป็นป่าฝนขนาดใหญ่ที่กินพื้นที่ 5.5 ล้านตารางกิโลเมตร ขณะที่ ลุ่มน้ำอเมซอนมีพื้นที่ 7.4 ล้านตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตทั้งหมด 9 ประเทศ ได้แก่ โบลิเวีย บราซิล โคลอมเบีย เอกวาดอร์ กายอานา เปรู ซูรินาเม และเวเนซูเอลา แต่ 60% ของพื้นที่ลุ่มน้ำอเมซอนอยู่ในบราซิล ถือเป็นแหล่งโอโซนที่สำคัญของโลกและผลิตออกซิเจนมากถึง 20% นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ สูงสุด 1.4 แสนล้านตัน ซึ่งช่วยควบคุมภาวะโลกร้อน
- ปัญหาไฟป่าอเมซอนเป็นปัญหาเรื้อรังที่รัฐบาลบราซิลพยายามแก้ไขมาเนิ่นนาน เนื่องจากมีการบุกรุกป่าแผ้วถางเพื่อทำการเกษตร ทั้งนี้มนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่ประมาณ 34 ล้านคน บ้านของชนพื้นเมือง 420 เผ่า
- ปัญหาไฟป่าอเมซอน ยิ่งแย่เข้าไปอีกจากนโยบายเปิดป่า โดยเมื่อ 23 ส.ค. 2560 รัฐบาลบราซิลได้เผยแพร่คำสั่งของ มิเชล เตเมร์ อดีตประธานาธิบดี ที่ประกาศยกเลิกคำสั่งเขตพื้นที่สงวนแห่งชาติในเขตป่าอเมซอน (National Reserve of Copper and Associates: Renca) ที่ถูกเขียนขึ้นตั้งแต่ปี 1984 เพื่อเปิดพื้นที่ดังกล่าวให้เอกชนเข้าไปทำเหมืองแร่ ส่งผลให้มีการแผ้วถางพื้นที่ ตัดไม้ทำลายป่า 1 ในนั้นคือการ "เผา"
- นายชาอีร์ โบลโซนาโร นักการเมืองจากพรรคเสรีนิยมสังคม ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีบราซิลเมื่อเดือนตุลาคม 2561 ซึ่งเขามีนโยบายสิ่งแวดล้อมสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าไปตัดไม้ทำลายป่าอเมซอนหวังให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ นอกจากนี้ นายชาอีร์ และรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องยังไม่เห็นด้วยกับบทลงโทษที่รุนแรงกับผู้บุกรุกทำลายป่า ส่งผลให้การปราบปรามการทำไม้และการจับกุมผู้ก่ออาชญากรรมต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลดลงอย่างเห็นได้ชัด
- เมื่อเดือนก.ค. ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยอวกาศแห่งชาติของบราซิล (ไอเอ็นพีอี) ได้เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับการตัดไม้ทำลายป่าในผืนป่าอเมซอน ซึ่งระบุว่าอัตราการทำลายป่าในเดือน มิ.ย. 2562 เพิ่มขึ้นถึง 88% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 ส่งผลให้นายชาอีร์ ไม่พอใจอย่างมากสั่งปลดผู้บริหารของสถาบันออกจากตำแหน่ง โดยไม่สนกระแสต้านของนักสิ่งแวดล้อมและนักอนุรักษ์
- 19 ส.ค. กระแสลมแรงได้พัดพากลุ่มควันจากไฟป่าลงไปไกลถึงรัฐเซาเปาลู ซึ่งห่างจากป่าอเมซอนราว 2,700 กิโลเมตร ควันอันหนาแน่นนี้ส่งผลให้เมืองทั้งเมืองตกอยู่ในความมืดสลัวเป็นชั่วโมง
ภาพจากทวิตเตอร์ @shannongsims
- รายงานของไอเอ็นพีอีเปิดเผยว่า ระหว่างเดือน ม.ค.-ส.ค. 2562 ตรวจพบการเกิดไฟป่าในป่าอเมซอนมากถึง 72,000 จุด ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา และในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ ระหว่างวันที่ 15-21 ส.ค. เกิดไฟป่ามากถึง 9,500 ครั้ง เพิ่มขึ้น 3% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
- ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เรียกร้องให้ประเทศกลุ่มจี-7 ขอให้เรื่องไฟป่าอเมซอนเป็นวาระสำคัญในที่ประชุมสุดยอดจี-7 เช่นเดียวกันกับอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ หรือยูเอ็น แสดงความเป็นห่วงอย่างยิ่งและเรียกร้องให้ช่วยกันปกป้องป่าอเมซอน
- ประธานาธิบดี ฌาอีร์ โบลโซนาโร่ ของบราซิล กล่าวตอบโต้มาครงและกูเตอร์เรสด้วยความไม่พอใจว่า ห้ามต่างชาติแทรกแซงเรื่องนี้ แม้เขาจะยอมรับว่า บราซิลไม่มีทรัพยากรเพียงพอ ที่จะดับไฟป่าอเมซอนก็ตาม ทำให้ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้เลยว่าไฟป่าจะดับลงเมื่อใด
- โลกโซเชียลมีเดียต่างพากันแฮชแท็ก #PrayforAmazonia เพื่อเรียกร้องให้ประชาคมโลกให้ความสนใจกับวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ เนื่องจากถูกนำเสนอเป็นข่าวน้อยมากทั้งๆที่แหล่งโอโซนของโลกกำลังถูกทำลาย
ธวัลรัตน์ มนุษย์ผู้โลภมาก เห็นแก่ตัว มีทุกแห่งบนโลกนี้ สงสารโลกนี้จัง
23 ส.ค. 2562 เวลา 08.13 น.
Kik369 มนุษย์เป็นผู้ทำลายโลกโดยแท้ เห็นแก่ผลประโยชน์ตัวเอง
23 ส.ค. 2562 เวลา 08.34 น.
Rainbowsun ผู้นำไม่มีความสามารถเเละกลั่นกรองปัญหาได้เก่งจริง ทำให้นึกถึงในหลวง รัชกาลที่๙ ท่านทรงเป็นนักปราชญ์และทราบวิธีแก้ปัญหาเรื่องดิน ฟ้า ป่าไม้ได้ดีกว่ามากนัก
23 ส.ค. 2562 เวลา 09.03 น.
Sanit จะร้อนแล้ง จะน้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟไหม้ ดินถล่ม ภูเขาไฟระเบิดเคยเป็นอย่างนี้มาหลายครั้งแล้ว โลกจะยังอยู่ แต่ที่ตายคือมนุษย์และสิ่งมีชีวิต คนจะแทบสูญพันธุ์และเริ่มวัฒนธรรมกันใหม่
23 ส.ค. 2562 เวลา 08.47 น.
OJJ จะเอาให้โลกแตกให้ได้เลยใช่มั้ยไอ้พวกมนุษย์ไร้สมอง
23 ส.ค. 2562 เวลา 08.24 น.
ดูทั้งหมด