ไลฟ์สไตล์

ง่วงบ่อย เพลียตลอดเวลา น่ากลัวกว่าที่คิด

LINE TODAY
เผยแพร่ 09 ส.ค. 2562 เวลา 04.31 น.

เคยไหม..อาการง่วงอยู่นั่นแหละ ยิ่งช่วงกลางวัน บ่าย ๆ พร้อมจะหัวทิ่มโต๊ะแทบจะตลอดเวลา หรือบางวันดีหน่อยก็แค่เพลีย ไม่ถึงกับง่วงจนทำอะไรไม่ได้

จริง ๆ อาการง่วงนอน อ่อนเพลียแบบนี้มีสาเหตุ และอาจนำไปสู่ความน่ากลัวได้มากกว่าที่คิด เพราะปกติเวลาเราง่วงนอนหรืออ่อนเพลีย ก็มักจะคิดเอาเองว่าพักผ่อนน้อย นอนหลับไม่สนิท ก็เลยทำให้ง่วงนอนเกือบทุกวัน แต่จริง ๆ แล้วอาการง่วงนอนบ่อย ๆ เป็นสัญญาณอะไรได้บางอย่าง ซึ่งถ้าเราไม่เอาแต่มองข้าม..สัญญาณเหล่านี้ก็บ่งบอกถึงสุขภาพร่างกายของเราได้เหมือนกัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เพราะฉะนั้นต้องลองสังเกตตัวเองให้ดีว่าการที่เราง่วงบ่อย เพลียตลอดเวลานั้น เป็นเพราะอะไร ไม่งั้นนอกจากง่วงนอนแล้ว อาจพ่วงด้วยโรคสารพัดมาแบบไม่รู้ตัวก็ได้

สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อพบว่าตัวเองง่วงนอนบ่อย ๆ ก็คือ อย่าเพิ่งคิดว่าเกิดจากการพักผ่อนน้อยเพียงอย่างเดียว แม้การพักผ่อนน้อยจะมีส่วนอยู่บ้าง แต่อาจไม่ใช่ทั้งหมด ต้องลองสังเกตพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่างของเราร่วมด้วย เช่น การนอนไม่เป็นเวลา นอนหลับไม่สนิท การอดนอน เป็นต้น

นอกจากพฤติกรรมของเราเองแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องสังเกตร่วมด้วยก็คือเรื่องของจิตใจ โดยเฉพาะความเครียดและอารมณ์ที่มีส่วนทำให้เกิดอาการง่วงนอนบ่อย ๆ ได้ เพราะสาเหตุของอาการง่วงนอนส่วนใหญ่มักมาจากความเบื่อหน่าย หรือถ้าเป็นโรคซึมเศร้าก็ส่งผลให้เกิดความอ่อนเพลียจนเป็นสาเหตุของอาการง่วงนอนได้เหมือนกัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยปกติความอ่อนเพลียที่ทำให้ง่วง หากนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ อาการง่วงก็จะหายไป แต่สำหรับความอ่อนเพลียที่แสดงถึงความผิดปกติทางร่างกาย เช่น โรคโลหิตจาง โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ โรคซึมเศร้า และในผู้ที่มีความผิดปกติในการนอนหลับจะมีความแตกต่างกับคนที่ง่วงนอนปกติ โดยเมื่อเกิดอาการอ่อนเพลียจะมักรู้สึกเหนื่อย แต่เมื่อนอนกลับนอนไม่หลับ

ในทางกลับกันสำหรับคนที่ไม่ได้พักผ่อนน้อย แต่กลับมีอาการง่วงนอนระหว่างวันบ่อย ๆ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเป็นโรคความผิดปกติในการนอนหลับได้ ซึ่งอาการก็คือมักจะรู้สึกง่วงนอนทุกวันโดยเฉพาะตอนก่อนเข้านอน และระดับความง่วงจะเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ยังคงตื่นอยู่ โดยโรคนี้ต้องอาศัยการสังเกตตัวเองเป็นประจำ เพราะตามธรรมดาคนเราก็มักจะง่วงเหงาหาวนอนกันเป็นปกติอยู่แล้ว แทบจะไม่มีใครมาสังเกตเท่าไหร่นักว่าเราง่วงจนผิดปกติหรือไม่

เมื่อง่วงก็ต้องนอน แต่การนอนอาจไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องสำหรับคนที่มีความปกติทางร่างกาย เพราะการงีบหลับเป็นเพียงการบรรเทาความง่วงเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อตื่นสักระยะก็จะกลับมาง่วงอีก ดังนั้นจึงต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ อาจเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่างก่อน เช่น พฤติกรรมการนอนหลับทำให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น การออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียด เป็นต้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจากนี้ หากสังเกตเบื้องต้นพบว่าตัวเองอาจเป็นโรคความผิดปกติในการนอนหลับได้ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพราะโรคนี้อาจนำไปสู่ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ และโรคลมหลับได้ ซึ่งโรคดังกล่าวส่งผลกระทบต่อทั้งทางด้านจิตใจ กระบวนการรับรู้ การทำงาน การเรียน และกิจกรรมทางสังคมอื่น ๆ ด้วย

การง่วงนอน นอนไม่หลับ หรืออ่อนเพลียเรื้อรัง อาจเป็นปัญหาเล็ก ๆ สำหรับบางคน แต่อาการเหล่านี้เมื่อสั่งสมในร่างกายนานวันเข้า ก็เหมือนการค่อย ๆ ทำร้ายตัวเองไปทีละน้อย และในที่สุดสักวัน..เมื่อผลลัพธ์ทั้งหมดแสดงออกมา ร่างกายก็จะแสดงอาการออกมาเอง ถึงเวลานั้นก็สายเกินไปที่จะมาหันกลับมาใส่ใจดูแลตัวเองซะแล้ว

ความเห็น 23
  • song songkram
    มันเอาบทความมาแต่ใส
    09 ส.ค. 2562 เวลา 07.41 น.
  • อธิคม ส.
    ขอบคุณนักเขียนโปรแกรมครับ ที่ให้ AI ก้าวพัฒนาไปอีกขั้น แต่ก็ยังเขียนภาษาคนไม่ค่อยรู้เรื่อง ควรปรับปรุงให้มีความซับซ้อนในการเขียนบทความให้มากกว่านี้ ไม่วกไปวนมา อ่านแล้วเพลียตามหัวข้อบทความจริงๆ ...อนาคตผมหวังว่า AI จะทัดเทียมกับการเขียนบทความของคนครับ
    09 ส.ค. 2562 เวลา 15.38 น.
  • Sanchai Lkb.
    ข่าว นี้ ไม่ มี เอาบทวิจัย ใดๆ ที่ อ้างอิง ตามหลักวิชาการ มาแสดง เหมือน มโน เอาเอง
    09 ส.ค. 2562 เวลา 16.13 น.
  • kuma sang
    บทความเหมือนก๊อปบทความเด็กพม่าและวางกูเกิลแปลไทยมาวางชัวร์
    09 ส.ค. 2562 เวลา 15.37 น.
  • xxx
    ผมนี่..นิ่งเป็นหลับ ขยับเป็นกิน ครับ
    09 ส.ค. 2562 เวลา 09.19 น.
ดูทั้งหมด