ไลฟ์สไตล์

'กระสุนส่องวิถี' ผู้ต้องสงสัยอันดับต้น ๆ กับลูกไฟที่ลอยขึ้นฟ้า : เสาร์นี้ในอดีต

LINE TODAY ORIGINAL
เผยแพร่ 29 ต.ค. 2564 เวลา 17.00 น. • O.J.

'15 ค่ำ เดือน 11' อย่างที่ทราบกันดีว่าตรงกับ 'วันออกพรรษา' ขอทุก ๆ ปี ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ที่ผู้นับถือศาสนาพุทธจะร่วมทำบุญตักบาตรเทโว และถือเป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษาของพระสงฆ์ 

นอกจากนี้ยังเกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์อย่าง 'บั้งไฟพญานาค' ที่ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวที่ศรัทธาแห่หลั่งไหลมาชมกันริมฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในอำเภอโพนพิสัย อำเภอรัตนวาปี อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย และ อำเภอเมือง อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งในทุกปีเรื่องความเชื่อ แรงศรัทธา ก็ทวีคูณเพิ่มขึ้น ถึงช่วงนี้มีสถานการณ์โควิด-19 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ณ ปัจจุบัน เรื่อง 'บั้งไฟพญานาค' ก็ยังเกิดข้อกังขาถึงปริศนาที่เกิดขึ้น เป็นฝีมือมนุษย์ ? , ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ? หรือเกิดจากพญานาคที่กำลังเวียนว่ายอยู่ในแม่น้ำโขง ตามที่ชาวบ้านในพื้นที่เล่ากันปากต่อปาก แต่ทว่าด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ก็ทำให้หลายคนพยายามหาคำตอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อคลายปมสงสัย แต่กลับกลายเป็นการลบหลู่สิ่งที่ผู้คนนับถือ ดั่งคำที่ว่า 'ไม่เชื่ออย่าลบหลู่' 

ล่าสุดเฟซบุ๊ก 'พิสูจน์บั้งไฟพญานาค' เพจที่พยายามหาคำตอบ พร้อมไขปริศนาที่เกิดขึ้นแท้จริงสิ่งที่เห็นเป็นฝีมือมนุษย์ โดยผู้ที่ตกเป็นข้อสงสัยอันดับต้น ๆ ของแสงที่เกิดขึ้นมาจาก 'กระสุนส่องวิถี' ที่ถูกยิงขึ้นฟ้ามาจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน !? 

เสาร์นี้ในอดีต : สัปดาห์นี้เราจะพาไปรู้จักกับผู้ต้องสงสัยอันดับต้น ๆ ของการเกิดลูกไฟที่ลอยขึ้นฟ้าคือ 'กระสุนส่องวิถี' ที่มักถูกพาดพิงของการอยู่เบื้องหลัง รวมถึงวิถีการยิงอย่างแนบเนียน ซึ่งกลุ่มคนที่พิสูจน์ปรากฏการณ์ได้ตั้งข้อสันนิษฐานนี้ทุกปี 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
wikipedia

อย่างที่กล่าวในข้างต้น กระสุนส่องวิถี มักเป็นสิ่งที่ผู้พิสูจน์ได้สันนิษฐานของการเกิดบั้งไฟพญานาค และเมื่อย้อนประวัติของผู้ต้องสงสัยพบว่า เป็นกระสุนพิเศษที่ฐานใต้หัวกระสุนถูกดัดแปลงให้บรรจุสารเคมี อาทิ ฟอสฟอรัส  แมกนีเซียม ฯลฯ หรือสังเกตได้ง่าย ๆ คือปลายกระสุนจะมีสีแดงและมีขนาดเพียง  7.62x51mm NATO และเมื่อเวลายิงก็จะเกิด ประกายไฟ ส่องความสว่าง จนเกิดวิถีกระสุนที่สามารถมองเห็นได้ในยามค่ำคืน 

พูดถึงและพิสูจน์ทุกปี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจากชาวบ้าน นักท่องเที่ยวที่มีความศรัทธาที่ตั้งตารอ การเกิดบั้งไฟพญานาคแล้ว ก็ยังมีผู้ที่รอพิสูจน์ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญออกมาให้คำอธิบายเช่นเดียวกัน ถึงจะผ่านมาหลายปีก็มักมีข้อสันนิษฐานให้ชวนคิดว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือฝีมือมนุษย์หรืออภินิหาร

เริ่มด้วย อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในทุกปีจะออกมาพูดถึงทฤษฎีในทางหลักวิทยาศาสตร์ถึงความเป็นได้มากที่สุด โดนเน้นย้ำว่าเป็นความเชื่อส่วนบุคคล

ซึ่งในปี 2557 อ.เจษฎา ได้ยกทฤษฎีของนายแพทย์มนัส กนกศิลป์ บั้งไฟพญานาคที่เราเห็นอาจเกิดจากแก๊สธรรมชาติในท้องน้ำก๊าซมีเทน ผสมกับก๊าซไดโตรเจน และมีแบคทีเรียมากระตุ้นเป็นจำนวนมาก และเมื่อถึงจุดหนึ่งก๊าซที่สะสมมาเป็นเวลานานก็สามารถเคลื่อนตัว และเป็นกระทบกับออกซิเจนจึงทำให้เกิดลูกไฟ

แต่ทว่าทฤษฎีดังกล่าวเกิดข้อโต้แย้งเป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยท้องน้ำของแม่น้ำโขงไม่ได้เป็นดินที่จะสะสมของแก๊สธรรมชาติใต้ท้องน้ำได้ เพราะก๊าซต้องมีภาชนะห่อหุ้มถึงจะสามารถติดไฟได้

แล้วถ้าไม่ใช่แก๊ส สิ่งที่เกิดก็คือฝีมือมนุษย์โดยใช้ 'กระสุนส่องวิถี’ เมื่อยิงขึ้นฟ้าสารเคมีจะทำปฏิกิริยากับอากาศแล้วกลายเป็นลูกไฟ ส่วนที่เห็นลูกไฟเคลื่อนตัวช้าก็เกิดจากวิถีการยิงในแนวตรงนั้นเอง 

และเมื่อย้อนไปในปี 2555 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เปิดผลพิสูจน์บั้งไฟพญานาคชี้ชัดว่าเป็นปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจาก การทำปฏิกิริยาของสารกับอุณหภูมิที่เหมาะสม จนกลายเป็นลูกไฟพุ่งขึ้นเหนือน้ำ โดยเฉพาะพบสารฟอสฟีนซึ่งติดไฟได้เอง เป็นสิ่งยืนยันว่าไม่ใช่ฝีมือมนุษย์ 

ล่าสุดผู้สื่อข่าวบีบีซีไทยได้พูดคุยกับ นายยุทธนา ศรีตะบุตร นายก อบจ. หนองคาย พร้อมเผยว่า บั้งไฟพญานาคเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่แม้จะยังอธิบายสาเหตุการเกิดขึ้นของลูกไฟไม่ได้ แต่สิ่งที่แน่นอนคือไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์ 

ปรากฏการณ์ดังกล่าวทั่วโลกก็เคยปรากฎลูกไฟประหลาด คล้ายๆ กับบั้งไฟพญานาค ไม่ว่าจะเป็นที่ ฝรั่งเศส อเมริกา นอร์เวย์ และมีเฉดสีที่หลากหลาย ซึ่งที่ฝรั่งเศสจะเรียกว่า Feux follets หรือ Foolish fire หรือ Ghost light และพื้นที่ที่พบลูกไฟดังกล่าวมักจะอยู่ในที่ชื้นแฉะและมีน้ำท่วมขังนาน ๆ

"ทั้งนี้ บั้งไฟพญานาค ก็ยังเป็นปรากฎการณ์ที่ยังไม่สามารถหาคำอธิบายที่ได้อย่างชัดเจน มีเพียงแค่ข้อสันนิฐานว่าเกิดจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามที่สื่อหยิบมานำเสนอ รวมถึงตำนานที่อยู่คู่กับริมน้ำโขงมาหลายชั่วอายุและเรื่องเล่ามากมายจากคนในพื้นที่ที่สืบทอดกันว่าบั้งไฟที่เกิดนั้นมาจาก พญานาค 

ดังนั้นคำว่า ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ก็ยังสามารถใช้ได้ในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อ แต่ทว่าวันเวลาหมุนเปลี่ยนไปทุกคนก็ต้องการพิสูจน์ในความเชื่อนั้นว่าแท้จริงแล้วมีมูลเหตุมาจากอะไร แต่ก็ควรที่จะอยู่ในกรอบเกณฑ์ที่ไม่ก้าวก่ายซึ่งกันละกัน "

อ้างอิง 

sci find program

bbcthai

พิสูจน์บั้งไฟพญานาค

ความเห็น 98
  • ธรณ์
    ปรากฎการธรรมชาติทำไมต้องเจาะจงเกิดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
    29 ต.ค. 2564 เวลา 20.27 น.
  • Wichit N.
    คนฝั่งลาวไม่เห็นเขาแห่กันมาดูเลยมีแต่คนฝั่งไทยไปรอดู
    29 ต.ค. 2564 เวลา 23.17 น.
  • Pat Pat
    จบเหอะ อินเดีย เนปาล ศรีลังกา โบราณกว่าเรา ยังไม่มีเลย พยานาคอะไรจะมาขยันอยู่แต่แถวบ้านเรา ภาคอิสานอย่างเดียวซะด้วย ศีล5 ก็ไม่ครบ ขยันเล่นหวย ไปนั่งดูก็แดรกเหล้า แล้วจะมโนถึงสัตว์ในศาสนาพุทธ พอเหอะ มัวแต่ห่วงรายได้ท่องเที่ยว
    29 ต.ค. 2564 เวลา 21.42 น.
  • Nongnuch yodsakonkhu
    ลำน้ำโขง ตั้งแต่ ภาคเหนือ ผ่านหลายจังหวัดภาคอิสาน ทำไมเกิดเฉาะที่หนองคาย บึงกาฬ
    30 ต.ค. 2564 เวลา 00.01 น.
  • จงรักษ์
    คนไทยเราส่วนหนึ่งมีความสามารถพิเศษ สามารถสื่อสารกับสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ ต้นตะเคียนก็กราบขอหวยได้ เพราะมีเจ้าแม่ตะเคียนทองสิงอยู่ ต้นกล้วยก็กราบขอหวยได้ เพราะมีเจ้าแม่นางตานีสิงอยู่ ฯลฯ
    29 ต.ค. 2564 เวลา 21.05 น.
ดูทั้งหมด