ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เช็กเงื่อนไข เที่ยว-อบรม-เมืองรองลดหย่อนภาษีได้

Thai PBS
อัพเดต 04 มิ.ย. เวลา 09.15 น. • เผยแพร่ 04 มิ.ย. เวลา 09.14 น. • Thai PBS

วันนี้ (4 มิ.ย.2567) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีและอนุมัติในหลักการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อกำหนดการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรแก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล

สำหรับการท่องเที่ยว และการจัดการอบรมสัมมนาในจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง และจังหวัดท่องเที่ยวอื่น ๆ ภายในประเทศในช่วง low season ช่วงเดือนพ.ค.–พ.ย.นี้ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และขอส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา เพื่อเป็นเรื่องเร่งด่วน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายเศรษฐา กล่าวว่า ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวในการที่ผลักดันเศรษฐกิจ โดยได้การประชุมกับผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการสนับสนุนเมืองรอง และได้มีการประสานงานเพื่อให้จัดเทศกาลต่าง ๆ ในเมืองรองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเดือนที่เป็นเดือน low season

ทั้งนี้ แจ้งผ่านไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งเป็นสส.ในพื้นที่ให้รับทราบในพื้นที่จังหวัดมีเรื่องเทศกาลไหนที่ดี ให้ประสานไปยังกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อช่วยในการสนับสนุนและโปรโมท เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจพื้นเมืองได้

ในส่วนนี้ที่ได้มีมาตรการด้านภาษีออกไปทางกระทรวงการคลัง ได้มีการประเมินการเสียภาษีประมาณ 1,500 ล้านบาท มั่นใจว่าถ้าเราช่วยอย่างเต็มที่ เรื่องการสนับสนุนเมืองรองตรงส่วนนี้จะสามารถเกณฑ์กลับมาได้ 1,500 ล้านบาท

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อ่านข่าว เห็นชอบงบกลางปี 67 เพิ่ม 1.22 แสนล้าน แจกดิจิทัลกระตุ้นเศรษฐกิจ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อบรม-สัมนา-ท่องเที่ยวลดหย่อนภาษี

ด้านนางรัดเกล้า อินวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติให้ความเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบ รมสัมมนาภายในประเทศ (สำหรับนิติบุคคล) และมาตรการทางภาษีเพื่อสนับ สนุนการท่องเที่ยวในประเทศ (สำหรับบุคคลธรรมดา) ระหว่างเดือนพ.ค.-พ.ย.นี้

มาตรการแรก “มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ (สำหรับนิติบุคคล)” กลุ่มเป้าหมาย-บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ส่วนสิทธิประโยชน์ทางภาษี-ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศที่จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือค่าบริการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าว ที่จ่ายไปตั้งแต่ 1 พ.ค.-30 พ.ย.นี้

โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้สำหรับค่าขนส่ง สามารถจ่ายให้ผู้ที่มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ ซึ่งจะต้องมีใบรับในรูปแบบใบรับอิเล็กทรอนิกส์ โดยทำผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร

นางรัดเกล้า อินวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

เงื่อนไขหักภาษีค่าใช้จ่าย

  • หักรายจ่ายได้ 2 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด (พื้นที่บางอำเภอในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก)

  • หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่ไม่ได้จัดขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวรอง หรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดฯ (จังหวัดท่องเที่ยวหลัก)

  • ให้หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง ในกรณีที่ไม่สามารถแยกได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่ใด

  • พื้นที่ในการให้สิทธิประโยชน์ จังหวัดท่องเที่ยวรอง โดยแบ่งเป็นพื้นที่ทั้งจังหวัด 55 จังหวัด และพื้นที่บางอำเภอในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก 15 จังหวัด (หักรายจ่ายได้ 2 เท่า) และพื้นที่อื่น (จังหวัดท่องเที่ยวหลัก) (หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า)

แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล

ส่วนมาตรการทางภาษีสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ

ส่วนมาตรการทางภาษีสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ (สำหรับบุคคลธรรม ดา) กลุ่มเป้าหมาย-ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิทธิประโยชน์ทางภาษี-ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนค่าบริการได้

  • ค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
  • ค่าที่พักในโรงแรม
  • ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
  • ค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม

สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท ต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร
โดยพื้นที่ในการให้สิทธิประโยชน์ จังหวัดท่องเที่ยวรองเท่านั้น ซึ่งทั้ง 2 มาตร การดังกล่าว จะรวมอยู่ในการดำเนินการออกร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่…) พ.ศ..จำนวน 1 ฉบับ
นางรัดเกล้า กล่าวว่า กระทรวงการคลัง ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ (สำหรับนิติบุคคล) จะทำให้รัฐบาลสูญเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 1,200 ล้านบาท

ในขณะที่มาตรการทางภาษี เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ (สำหรับบุคคลธรรมดา) จะทำให้รัฐบาลสูญเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 581.25 ล้านบาท
อ่านข่าวอื่นๆ

"วิษณุ" ปัดนั่งเก้าอี้รัฐบาลเพื่อไทยแลกเปลี่ยนไตฟรี

ยินยอมหรือไม่ก็ห้ามทำ! 10 ข้อต้องระวังไม่กระทำต่อเด็ก

ดูข่าวต้นฉบับ