ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

คิดใหม่ทำใหม่! UNIQLO งบปีล่าสุด กำไรโตกว่า 30% ยอดขายต่างประเทศยังโต

Brand Inside
อัพเดต 14 ต.ค. 2561 เวลา 17.12 น. • เผยแพร่ 14 ต.ค. 2561 เวลา 16.46 น. • Wattanapong Jaiwat
ภาพจาก Uniqlo

Fast Retailing บริษัทแม่ของ UNIQLO ได้รายงานงบปีล่าสุด โดยกำไรโตกว่า 30% ได้ปัจจัยจากยอดขายที่เติบโดในทวีปเอเชียและสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยอดขายในประเทศญี่ปุ่นยังกลับมาเติบโตได้อีกด้วย

ภาพจาก Uniqlo
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

Fast Retailing ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ UNIQLO ร้านขายเสื้อผ้าชื่อดังได้รายงานงบปี 2018 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานในปีนี้บริษัทมีกำไรสุทธิ 154,811 ล้านเยน หรือประมาณ 45,107 ล้านบาท กำไรเติบโตถึง 30% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

สำหรับรายได้งบปีล่าสุดอยู่ที่ 2.13 ล้านล้านเยน มากกว่าในปี 2017 ที่บริษัททำรายได้อยู่ที่ 1.86 ล้านล้านเยน

ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา แบรนด์เสื้อผ้าจากประเทศญี่ปุ่นประสบปัญหาแรงกดดันจากแบรนด์เสื้อผ้าคู่แข่งอย่าง H&M และรวมไปถึง Inditex ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์อย่าง Zara ที่พยายามขยายสาขาเข้ามาในทวีปเอเชียมากขึ้น แรงกดดันนี้ทำให้ Tadashi Yanai ซึ่งเป็น CEO บริษัทต้องตั้งเป้าหมายใหม่คือทำให้ Fast Retailing เป็นบริษัทที่ใหญ่กว่า Inditex ในด้านของสาขา

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

บทความที่เกี่ยวข้องกับ UNIQLO

เปิดสาขาต่างประเทศมากขึ้น

ในรอบปีที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่คือเน้นยอดขายจากสาขาต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่บริษัทได้เปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ คือยกเลิกสาขาที่ไม่ทำกำไร ยังรวมไปถึงการเปิดสาขาในทวีปเอเชียที่มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีผลดีจากยอดขายในประเทศญี่ปุ่นที่กลับมาดีขึ้นด้วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจากนี้งบปีล่าสุด UNIQLO ได้รายงานว่าในประเทศไทยทั้งสิ้น 40 สาขา แต่สำหรับจำนวนสาขาที่มากที่สุดนั้นอยู่ในประเทศจีน ซึ่งในงบปีล่าสุดสาขาในประเทศจีนมีสาขาทั้งสิ้น 623 สาขา โดยรวมสาขาทั้งหมดของ UNIQLO ล่าสุดมีอยู่ทั้งสิ้น 2,068 สาขา เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 148 สาขา

สำหรับเป้าหมายของบริษัทในงบปี 2019 บริษัทคาดว่าจะสามารถทำรายได้รวมไปถึงกำไรที่มากกว่าในปีนี้ โดยเฉพาะหลังจากการเปลี่ยนกลยุทธ์ในการเพิ่มสาขาใหม่

ที่มาSouth China Morning Post, รายงานบริษัท, Reuters

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • ⚜️TS.ガンダンム789⚜️
    FR วางกลยุทธ์ดีในเรื่องของคุณภาพกับราคา...ผู้บริโภคพอใจ แต่โรงงานผลิต เหนื่อยมาก เมื่อก่อนนู้นก็มีผลิตใน รง. ไทย แต่ไม่ไหวเรื่องต้นทุนและการควบคุมqc ....งานระดับbulk แบบนีไทยถนัดแต่ปัญหาที่ต้นทุนต้องต่ำไปด้วยนี่แหละที่ทำให้เราต้องถอยเพราะสู้ จีน ไม่ได้
    15 ต.ค. 2561 เวลา 06.43 น.
ดูทั้งหมด