“มีลูกคนเดียวจนไปสิบปี”, “มีเมียเหมือนมีแม่” เป็นคำคมตรงๆ ที่กล่าวถึงภาระความรับผิดชอบที่มาพร้อมชีวิตแต่งงาน แน่นอนว่าการแต่งงานไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของทุกชีวิต หลายคนคิดและเลือกทางโสดเพราะสบายใจกว่า รับผิดชอบน้อยกว่า แถมมีเวลาเล่นสนุกตามใจ เชื่อมั้ยว่าปัญหาคนโสดไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ย้อนกลับไปไกลได้กว่า 2000 ปี จักรพรรดิ พระราชา สุลต่าน รัฐบาล และพรรคคอมมิวนิสต์ เคยพลิกสมองแก้ปัญหาคนโสดด้วยวิธีหลากหลาย การให้รางวัล การกำหนดอายุแต่งงาน ไปจนถึงการเรียกเก็บภาษี
จักรวรรดิโรมัน
คริสตศตวรรษที่ 9 จักรพรรดิออกัสตุสออกกฎหมายให้มีการเก็บภาษีคนโสด หรือคู่แต่งงานที่ไม่มีลูก เรียกกันว่า Lex Papia et Poppaea ภาษีที่ว่ามีที่มาสำคัญสองอย่าง อย่างแรกคือเพื่อควบคุมพฤติกรรมของคนในรัฐ (เพราะการแต่งงานสร้างความรับผิดชอบ ลดการมั่วสุมและพฤติกรรมผิดศีลธรรม) อย่างหลังคือเพื่อเพิ่มโอกาสทางการแต่งงานให้กลุ่มคนหาคู่ยาก อย่าง ทาสที่เพิ่งได้อิสระ หรือ ลูกสาวจากตระกูลศิลปิน (เช่นนักแสดง นักเต้น แกลดิเอเตอร์ หรือผู้สร้างความบันเทิงอื่นๆ รวมไปถึงลูกสาวโสเภณี) ลูกหลานที่เกิดจากการจับคู่แบบนี้ ถือเป็นแรงงานที่มีความสำคัญต่อรัฐ
กฎหมายที่ว่าครอบคลุมทุกชนชั้น เว้นแต่นักบวชและนางชี เริ่มเก็บภาษีในผู้ชายตั้งแต่อายุ 25-60 และในผู้หญิงตั้งแต่อายุ 20-50 รวมไปถึงคู่แต่งงานที่ไม่มีลูก
จักรวรรดิออตโตมัน
Resm-i mücerred เป็นกฎหมายเก็บภาษีคนโสดที่เริ่มใช้ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 ร่วมกับกฎหมายอื่นๆ คือ resm-i çift ภาษีรายปีสำหรับผู้มีที่ดินทำกิน และ resm-i bennâk ภาษีรายปีสำหรับคนแต่งงาน มีครอบครัว แต่ยังไม่มีที่ดินทำกินหรือกำลังเริ่มสร้างที่ดินทำกิน
ภาษีคนโสด (Resm-i mücerred ) ถูกบังคับใช้กับบุคคลที่ยังไม่แต่งงานและไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง และเนื่องจากคนเหล่านี้มักยากจนเกินกว่าจะมีเงินจ่าย การแก้ปัญหาจึงจบที่การเดินทางหาที่ทำกินใหม่ในพื้นที่ที่ยังไม่มีการบุกเบิก ถือเป็นการช่วยนโยบายการขยายพื้นที่ทำการเกษตรของรัฐ
สหราชอาณาจักร
เมื่ออังกฤษเขาสู่สงครามกับฝรั่งเศส ค่าใช้จ่ายแสนแพงในการทำสงครามได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาว่าสามารถหาเพิ่มได้จากการเก็บภาษีคนโสด… The Marriage Duty Act หรือ Registration Tax ในปี 1695 เป็นอะไรที่มากกว่าออตโตมันกับโรมันโบราณ เพราะเรียกเก็บตั้งแต่ภาษีการเกิด ภาษีแต่งงาน ภาษีงานศพ ภาษีพ่อม่าย/แม่ม่ายที่ไร้ทายาท โดยเฉพาะกลุ่มชายโสดอายุเกิน 25 ที่ต้องโดนเก็บภาษีเพิ่มเป็นรายปีจนกว่าจะเข้าพิธีแต่งงาน แน่นอนว่ากฎหมายนี้ไม่ได้รับความนิยมและถูกยกเลิกไปในปี 1706
สหรัฐอเมริกา
ภาษีชายโสดเป็นความพยายามอันยาวนานของรีฐมิชิแกน ข้อเสนอนี้ถูกยกมาพิจารณาในปี 1873, 1848, 1849, 1850 และระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกา แต่ไม่เคยถูกนำมาใช้จริง ภาษีคนโสดกลายเป็นกระแสอีกครั้งในปี 1897, 1901, 1911, 1919 คราวนี้ ไม่ใช่แค่ผู้ชาย แต่รวมถึงหญิงโสดที่ปฎิเสธการแต่งงาน โดยมีรีเสิร์จสนับสนุนอย่างเป็นทางการว่าผู้ชายที่ไม่แต่งงาน มีโอกาสทำผิดกฎหมายมากกว่าชายที่แต่งงานแล้ว ข้อเสนอครั้งสุท้ายถูกยกขึ้นพิจรณาในปี 1935 ก่อนโดนล้มไปเพราะเกิดวิกฤตเศรฐกิจทั่วโลกจากสงครามโลกครั้งที่ 1
ในปี 1921 รัฐมอนทาน่า ผ่านกฎหมายเรียกเก็บภาษีชายโสดเป็นจำนวนเงิน 3 ดอลล่าร์สหรัฐ William Atzinger หนึ่งในชายที่โดนเก็บภาษี ออกมาประท้วงไม่ยอมจ่ายโดยแย้งว่ากฎหมายนี้เลือกปฎิบัติและเหยียดเพศ ในวันที่ 11 มกราคม ปีต่อมา การประท้วงของนาย Atzinger ทำให้รัฐมอนทาน่ายอมพิจรณายกเลิกภาษีชายโสด รวมถึงภาษีอื่นๆ ที่เรียกเก็บเฉพาะกับคุณสุภาพบุรุษ
ในปี 1933 รัฐแคลิฟอเนียมีสติการเกิดของประชากรลดลงจนน่าตกใจ หนึ่งปีต่อมามีการเสนอภาษีชายโสด โดยให้เก็บเงินจำนวน 5-25 ดอลลาร์ แต่กฎหมายที่ว่าไม่ได้ถูกนำมาปฎิบัติจริง
แอฟริกาใต้
ภาษีคนโสดที่ถูกนำมาใช้ในปี 1919 มีผลเฉพาะกับประชากรชายโสดผิวขาว นโยายนี้เป็นส่วนหนึ่งของมุมมองการเมืองแบบเหยียดผิว เพราะไม่ต้องการให้ประชากรผิวสีกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
เยอรมนี
ภาษีคนโสดเคยถูกใช้ในเยอรมันเช่นกัน เพื่อเป็นการเร่งจำนวนประชากรช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 กฎหมายนี้ออกใช้ในปี 1923 กำหนดจำนวนเงิน 2,000 มาร์คต่อเดือน แต่ถูกเลิกใช้ไปในเวลาไม่นาน
อิตาลี
“เรามาพูดกันให้ชัด ประชากร 40 ล้านคนของอิตาลีเทียบไม่ได้กับประชากร 90 ล้านของเยอรมัน หรือประชากร 200 ล้านของชนชาติสลาฟ ประชากรอิตาลีมีแค่ 40 ล้านในขณะที่ฝรั่งเศสมีประชากร 150 ล้าน ทั้งในและนอกประเทศรวมถึงดินแดนอาณานิคม อิตาลีจะทำอย่างไรเมื่ออังกฤษมีประชากรทั้งอาณานิคมรวมกัน 450 ล้าน บวกคนบนเกาะอีก 46 ล้าน?”
เบนิโต มุสโสลินี ผู้เสนอเก็บภาษีชายโสด กล่าวไว้แบบนี้เมื่อเริ่มขึ้นสู่อำนาจ การเก็บภาษีเริ่มใน 1927 คาดว่าสามารถหาเงินเข้ารัฐได้มากถึง 40-50 ล้านลีราต่อปี
ในปี 1936 ภาษีคนโสดเก็บได้เกือบสองเท่าของภาษีบุคคลธรรมดา
การเก็บภาษีจบลงในปี 1943 พร้อมกับอำนาจของมุโสลินี
โปแลนด์
หลังจบสงครามโลกไปหมาดๆ โปแลนด์ที่บอบช้ำจากสงคราม ต้องการเพิ่มจำนวนประชากรโดยเลือกเก็บภาษีคู่แต่งงานที่ไม่มีลูก รวมทั้งประชากรที่ไม่ยอมแต่งงานทั้งชายหญิง การเก็บภาษีเริ่มตั้งแต่อายุ 21 ปี ภายหลังมีการลดหย่อนให้ถึงอายุ 25 ภาษีคนโสดของโปแลนด์ถูกเลิกใช้ไปในปี 1973 เพื่อเปลี่ยนมาใช้การเก็บภาษีแบบเดียวกับสหภาพโซเวียตที่เรียกว่า налог на бездетность หรือ tax on childlessness
สหภาพโซเวียต
tax on childlessness ของสหภาพโซเวียตถูกใช้ในระหว่างปี 1941 ถึง 1990 เป็นไอเดียของโจเซฟ สตาลิน ที่ต้องการเพิ่มประชากรและแรงงานให้สหภาพโซเวียต ภาษีนี้ใช้กับชายหญิงที่ไม่มีลูก ฝ่ายชายเริ่มเก็บตั้งแต่อายุ 25-50 ฝ่ายหญิงอายุ 20-55 โดยหักจากเงินค่าจ่างเป็นจำนวน 6% กฎนี้ไม่ถูกใช้กับครอบครัวที่สูญเสียลูกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2, วีรบุรุษสงครามที่ได้รับเหรียญกล้าหาญจากรัฐ, ผู้มีรายรับต่ำกว่า 70 รูเบิลต่อเดือน, และผู้มีใบรับรองทางการแพทย์ว่าเป็นหมันหรือไม่สามารถมีบุตรได้
ในปี 1990 เพดานการงดเว้นภาษีถูกเพิ่มขึ้นจาก 70 เป็น 150 รูเบิล
ในปี 1991 ภาษีถูกยกเลิกในผู้หญิง
ในปี 1992 ภาษีที่ว่าถูกกยกเลิกอย่างเป็นทางการหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
.
.
ติดตามบทความของเพจพื้นที่ให้เล่า ได้บน LINE TODAY ทุกวันเสาร์
.
.
References:
https://www.wikiwand.com/en/Tax_on_childlessness
https://www.wikiwand.com/en/Lex_Papia_Poppaea#/Promotion_of_Marriage
สุกิติ์ ยุคสมัยเปลี่ยนไป ประชากรจะล้นโลก อยู่คนเดียวดีกว่า
07 ธ.ค. 2562 เวลา 03.15 น.
Miss.mui เออถ้าจะเก็บก็ยอมวะ เด็กสมัยนี้เลี้ยงยากฉิบหาย ผัวดีๆแม่งก็หาไม่ได้นี่หว่า ยอมให้เค้าคิดว่าเป็นภาระสังคมดีกว่า
07 ธ.ค. 2562 เวลา 02.04 น.
ads เอามาเล่าเพื่อ? หรืออยากจะเก็บภาษีคนโสดเหมือนต่างประเทศบ้าง
07 ธ.ค. 2562 เวลา 03.12 น.
ประเพณี ขยะ
07 ธ.ค. 2562 เวลา 03.13 น.
al far อัลฟา farook แถวบ้านผมเค้าจะเก็บภาษี "คนเอากัน" ดีกว่าน่าจะได้หลายตัง
ต้องแยกกันให้ชัดเจนด้วยนะ "เอากันในบ้าน" "เอากันในห้าง" "เอากันในห้าง" ในห้องน้ำตามปั๊ม ฯลฯ
ได้หลายบาทอยู่นะ เอาสิ ทำสิ
07 ธ.ค. 2562 เวลา 04.04 น.
ดูทั้งหมด