บ่นไปก็เท่านั้น! “อาหารข้างทาง” อาหารอุดมโซเดียม! ที่คนกินไม่มีสิทธิ์เลือก!
“อาหารสตรีทฟู้ด” หรืออาหารริมทางเท้า เป็นที่ฝากท้องของพนักงานออฟฟิศหรือคนทั่วไปที่เดินผ่านไปมา เพราะด้วยประเภทอาหารที่หลากหลาย ราคาย่อมเยา รสชาติอร่อยถูกปากคนทุกเพศทุกวัย อาจจะมีหลาย ๆ คนที่ไม่เห็นด้วยกับอาหารสตรีทฟู้ด ในแง่สถานที่ตั้งของร้านที่ตั้งอยู่บนทางเท้าซึ่งสร้างความยากลำบากให้แก่คนเดินเท้า แต่ทว่าสตรีทฟู้ดของไทยก็ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องมาลิ้มลองของนักท่องเที่ยวหากได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย
แต่เคล็ดลับความอร่อยที่เรา ๆ ต่างรู้ดีกันของอาหารสตรีทฟู้ดก็คือ “ผงปรุงรส” หลายคนรู้อยู่แล้วแต่ก็ยังเพิกเฉย แต่ก็ยังมีคนอีกส่วนหนึ่งที่ไม่รู้จริง ๆ ว่าการใส่ผงปรุงรสลงไปในอาหารเยอะ ๆ นั้น สุดท้ายแล้วมันมี “โซเดียม” อยู่ในปริมาณเท่าไหร่?
ข้อมูลพื้นฐานที่ผู้บริโภคควรทราบคือ องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัม หรือไม่เกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม หากเฉลี่ยแบ่งเป็น 3 มื้อย่อย ปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อมื้อจึงเท่ากับมื้อละ 600 มิลลิกรัม และให้โควตาโซเดียมสำหรับของว่างอีกราว 200 มิลลิกรัม
ถึงแม้ว่า WHO จะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานไว้เช่นนั้น แต่ข้อมูลจาก “การศึกษาปริมาณโซเดียมและโซเดียมคลอไรด์ในอาหารบาทวิถี(street foods) ที่จำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานครประจำปี2560” โดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ชี้ให้เห็นว่า อาหารถุงที่ขายอยู่ริมทางเท้านั้น ไม่ว่าจะเป็นกับข้าวหรืออาหารกล่องจานเดียว เฉพาะมื้อเดียวก็มีปริมาณโซเดียมเกิน 1,500 มิลลิกรัม
ผลการศึกษานี้ได้สุ่มตัวอย่างอาหารหาบเร่แผงลอย ริมทางเท้า ตลาด รวมทั้งศูนย์อาหารจากที่ต่าง ๆ รวมทั้งหมด 221 แห่ง ซึ่งมีอาหารทั้งหมด 75 ชนิด แบ่งเป็นกับข้าว 26 ชนิด อาหารจานเดียว 29 ชนิด และอาหารว่างและขนม 20 ชนิด
https://waymagazine.org/sodium_street_foods/
https://waymagazine.org/sodium_street_foods/
https://waymagazine.org/sodium_street_foods/
จากงานวิจัยจะเห็นว่าปริมาณโซเดียมในอาหารริมทางเท้าที่สุ่มตัวอย่างมามีปริมาณสูงทั้งสิ้น แม้กระทั่งขนมและอาหารว่างบางอย่างก็มีปริมาณโซเดียมเกิน 1,000 มิลลิกรัม อาหารบางอย่างที่ไม่น่าจะมีปริมาณโซเดียมเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อหนึ่งมื้ออาหารอย่าง ฉู่ฉี่ปลา ก๋วยเตี๋ยวน้ำ หรือต้มเลือดหมูที่ดูจะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ และมีวิธีประกอบอาหารที่แทบไม่ต้องปรุงรสให้จัดจ้าน แต่ก็กลับมีปริมาณโซเดียมสูงเกินมาตรฐานทั้งสิ้น จึงแน่ชัดว่านั่นหมายถึงการใส่ผงปรุงรสเพิ่ม เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้พ่อค้าแม่ขาย
“สตรีทฟู้ด” บ้านเรายังมีโอกาสพัฒนาไปไกลกว่านี้ได้ หากใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค ลดโซเดียม และเปลี่ยนความเชื่อจากการใช้ผงปรุงรส แล้ววันหนึ่งอาหารริมทางจะถูกยกระดับเป็นอาหารทางเลือกที่ทุกคนไว้วางใจ
อ้างอิง
https://mgronline.com/qol/detail/9610000076951
https://goodlifeupdate.com/healthy-body/105892.html
https://waymagazine.org/sodium_street_foods/
ภาพประกอบ
https-//maanow.com/อาหาร/347-กรุงเทพมหานคร-ติดอันดับ-1.html
https-//www.sanook.com/travel/1400077/
https-//www.sbs.com.au/yourlanguage/thai/th/audiotrack/bitter-sweet-attempt-under-fire?language=th
http-//www.ba-bamail.com/content.aspx?emailid=24515
P ポプシー โซเดียมบ้านเรา ไม่แพ้ชาติใดในโลก
ใส่กันจนเป็นความเคยชินว่าปกติ
ญี่ปุ่นแข่งกันผลิตมาขายให้ไทย
แต่ประเทศตัวเองกลับไม่ใช้
03 ก.พ. 2562 เวลา 02.16 น.
กระนวนฟิชชิ่ง ทำกินเองปลอดภัยสุดสุด
03 ก.พ. 2562 เวลา 02.36 น.
💐🌹Bas🎉💞 ผมเป็นพ่อครัว บอกเลยกลัวทุกวันนี้กลัวผู้บริโภคเนี่ย ไม่ใส่ให้มันก้อบ่นไม่อร่อยจืดไม่นััว มันบอกให้ใส่เยอะเยอะ
03 ก.พ. 2562 เวลา 03.01 น.
wat ใครใคร่แดก แดก จบ!!!
03 ก.พ. 2562 เวลา 02.06 น.
Oratai.K ทำไมจะไม่มีสิทธิเลือกมึงก็พูดไป เลือกได้ว่าจะซื้อแดกไม่แดก ทำกับข้าวไปกินเองสิ
03 ก.พ. 2562 เวลา 02.18 น.
ดูทั้งหมด