ทั่วไป

บุรุษพยาบาลร่ำไห้ ห้ามลูกชาย “กอด” ทั้งที่ไม่เจอกันนาน สุดคิดถึงแต่ต้องทำเพื่อยับยั้งโควิด (คลิป)

Khaosod
อัพเดต 31 มี.ค. 2563 เวลา 05.56 น. • เผยแพร่ 31 มี.ค. 2563 เวลา 04.47 น.

บุรุษพยาบาลร่ำไห้ ห้ามลูกชาย “กอด” ทั้งที่ไม่เจอกันนาน สุดคิดถึงแต่ต้องทำเพื่อยับยั้งโควิด

บุรุษพยาบาลร่ำไห้ -  วันที่ 31 มี.ค. เดลีเมล์ เผยแพร่คลิปวิดีโอชวนใจสลายของครอบครัวเจ้าหน้าที่บุรุษพยาบาลชาว ซาอุดีอาระเบีย ที่ต้องหักห้ามใจไม่กอดลูกชายหลังกลับมาจากทำงานในช่วงวิกฤต โควิด-19 แพร่ระบาด เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ลูกชายอาจสัมผัสหรือได้รับเชื้อโรคจากโรงพยาบาล

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 ขณะที่ชาวเน็ตแห่แสดงความเห็นใจและให้กำลังใจ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทุกคนดูแลป้องกันตัวเองอย่างเต็มที่ จะได้ลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งยอมเสี่ยงชีวิตและสละความสุขส่วนตัวเพื่อทุ่มเททำหน้าที่ต่อสู้กับไวรัสมรณะ

https://www.youtube.com/watch?v=f-ehBsKFcqo

จากคลิปที่คาดว่าภรรยาของ นายนาเซอร์ อาลี อัล-ชาห์รานี บุรุษพยาบาลประจำโรงพยาบาลในกรุงริยาดเป็นคนบันทึก เผยให้เห็น ด.ช.โมฮาเหม็ด ลูกชายวัยราว 4-5 ขวบ วิ่งกางแขน 2 ข้างตรงไปหานายชาห์รานีที่เพิ่งออกเวรและเปิดประตูบ้านเข้ามา

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 โดยเด็กน้อยหวังจะกอดให้หายคิดถึงหลังจากไม่ได้เจอกันเป็นเวลานาน แต่ต้องหยุดชะงักด้วยความงุนงง เมื่อนายชาห์รานียกมือขึ้นห้ามและบอกว่าอย่าวิ่งเข้ามา พอเห็นหน้าเศร้าๆ ของลูกชาย นายชาห์รานีก็ถึงกับนั่งยองๆ ยกมือขึ้นปาดน้ำตา และคลิปก็ตัดจบ

 นายชาห์รานีกล่าวว่าตัดสินใจนำคลิปนี้โพสต์บนโซเชี่ยลมีเดียเพื่อให้คนที่ไม่ยอมทำตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ตระหนักรู้และเข้าใจถึงภัยคุกคาม รวมทั้งเริ่มทำตามคำแนะนำของทางการ ไม่ว่าจะเป็นหลีกเลี่ยงการจับมือ การกอดทักทาย และไม่รวมตัวในที่มีผู้คนหนาแน่น

ทั้งนี้ ซาอุฯ มีผู้ป่วยโควิด-19 สะสมอย่างน้อย 1,453 คน เสียชีวิตแล้ว 8 คน และรักษาหายราว 115 คน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
บุรุษพยาบาลร่ำไห้

A heartbreaking video shows nurse Naser Ali Al-Shahrani in Saudia Arabia breaking down in tears as he is forced to refuse a hug from his young son because of coronavirus. /Naser Ali Al-Shahrani/

บุรุษพยาบาลร่ำไห้

The nurse who is working in a hospital in Riyadh, had just got home when the video was filmed. Mr Al-Shahrani was seen crouching down and crying in front of his young son after stopping Mohamed from embracing him. /Naser Ali Al-Shahrani/

บุรุษพยาบาลร่ำไห้

Medical vehicles to be used as field hospital, are seen at the parking of the King Fahad Medical City, amid fear of the outbreak of coronavirus (COVID-19), in Jeddah, Saudi Arabia. The Saudi Defence Ministry/Handout via REUTERS ATTENTION EDITORS

โควิดซาอุฯ

A view of an empty Al-Rajhi Mosque, as Friday prayers were suspended following the spread of the coronavirus disease (COVID-19), in Riyadh, Saudi Arabia. REUTERS/Ahmed Yosri

โควิดซาอุฯ

A cleric calls for the prayer at an empty Al-Rajhi Mosque, as Friday prayers were suspended following the spread of the coronavirus disease (COVID-19), in Riyadh, Saudi Arabia. REUTERS/Ahmed Yosri

โควิดซาอุฯ

A general view shows an empty street after a curfew was imposed to prevent the spread of the coronavirus disease (COVID-19), in Riyadh, Saudi Arabia March 24, 2020. Picture taken March 24, 2020. REUTERS/Ahmed Yosri

โควิดซาอุฯ

A Saudi man requests a meal from a restaurant worker after the customers were prevented from sitting in restaurants, following the outbreak of coronavirus diseases (COVID-19), in Riyadh, Saudi Arabia. REUTERS/Ahmed Yosri

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

youtube
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 5
  • ในไทยมันลดไม่ได้ในเร็วนี้แน่ เพราะคนดื้อยังมี และคนที่แพร่ไปก่อนหน้าที่ยังไม่ออกอาการอีกเท่าไหร่ อย่าลืมว่าเป็นครึ่งเดือนกว่าจะออกอาการ
    31 มี.ค. 2563 เวลา 08.37 น.
  • Punnee kaha 59
    ซาอุ นี่มีโรคเข้าพอๆกับเมืองไทย ขออย่าได้เพิ่มยอดเลย
    31 มี.ค. 2563 เวลา 07.24 น.
  • ℕ🅒
    😭😭😭😭
    31 มี.ค. 2563 เวลา 06.44 น.
  • Nhung nrm
    มันเป็นโรคเกิดขึ้นใหม่...ทางเดียวที่จะชนะมันคือวีคซีน.....
    31 มี.ค. 2563 เวลา 06.39 น.
  • กรุละเกลียด พวกโลกสวยจริงๆ มาพูดว่าเมืองไทยติดแค่วันละร้อย ยังน้อย (คือที่ผมเข้าใจตอนนี้ มันควรจะลดปริมาณแพร่เชื้อลงได้แล้ว เห็นภาพพ่อ ลูกแล้วหดหู่ใจ จะติดวันละเท่าไหร่ มันไม่สำคัญ ที่สำคัญมันจะลดลงและหายไปจากเมืองไทยได้อย่าไร ถ้าคนไทยไม่ช่วยกัน)
    31 มี.ค. 2563 เวลา 05.44 น.
ดูทั้งหมด