ไอที ธุรกิจ

5 รายจ่ายต้องระวัง! เมื่อ Work From Home

Wealth Me Up
เผยแพร่ 07 เม.ย. 2563 เวลา 07.01 น. • Wealth Me Up

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

Work From Home (WFH) วิถีชีวิตใหม่ ที่เปลี่ยนจากตื่นแต่เช้าไปทำงานทุกวัน เป็นตื่นมาทำงานที่บ้านแทน ดูเผินๆ ค่าใช้จ่ายน่าจะลดลง แต่ก็มีบางอย่างที่เพิ่มขึ้น แบบไม่รู้ตัว เมื่อรวมๆ แล้ว ค่าใช้จ่ายตอน WFH อาจสูงกว่าออกไปทำงานก็ได้ ค่าใช้จ่ายที่ว่า เช่น

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ค่าไฟฟ้า

 

อยู่บ้านมากขึ้น ก็ต้องเปิดไฟเปิดแอร์มากขึ้น ตอนทำงานก็คงดูหนังฟังเพลงไปด้วย จึงไม่แปลกที่ค่าไฟฟ้าจะสูงขึ้น

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ส่วนมากน้อยก็ขึ้นกับการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ถ้าเปิดแอร์ตลอดเวลาที่อยู่บ้าน สมมติวันทำงานปกติกลับถึงบ้าน 20.00 น. และออกจากบ้าน 6.00 น. รวม 10 ชั่วโมง พอ WFH อยู่บ้านทั้งวัน 24 ชั่วโมง ค่าไฟฟ้าก็น่าจะสูงขึ้นเป็น 2.4 เท่าจากค่าไฟฟ้าปกติ (24 ชม.ต่อวัน ÷ 10 ชม.ต่อวัน)

 

ค่าอินเทอร์เน็ต

 

บ้านใครที่ไม่ติดตั้ง WiFi ไว้ แล้วใช้อินเทอร์เน็ตจากมือถือทำงาน อาจต้องเสียค่าแพ็กเกจเสริมเพิ่ม เน็ตมือถืออีกไม่น้อย

 

บางคนอาจค้านว่า แค่ใช้อินเทอร์เน็ต รับ-ส่งงาน จะเปลืองสักแค่ไหนกัน แต่อย่าลืมว่า ถ้าต้อง search หรือ save ข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหว หรือถ้ามีประชุม VDO Conference กับเพื่อนร่วมงาน แถมระหว่างวันถ้ามีดูหนังฟังเพลงด้วยแล้ว เน็ตมือถือที่มีคงไม่พอ

 

ค่าเดินทาง

 

บางบริษัทยังให้ลูกจ้างสลับกันเข้าออฟฟิศและ WFH กันอยู่ หรือหากต้องออกไปหาซื้อของใช้จำเป็น ก็คงเลี่ยงการเดินทางไม่ได้ ถ้าใครปกติเดินทางด้วยรถสาธารณะสถานการณ์ช่วงนี้หากเลือกได้ก็คงใช้บริการรถ Taxi หรือรถยนต์รับจ้าง ซึ่งนอกจากมีค่าใช้จ่ายเดินทางสูงขึ้นแล้ว ยังอาจมีค่าเรียกเพิ่มด้วย

 

 ค่าอาหาร

 

เมื่อไม่ออกจากบ้าน แต่อาหาร 3 มื้อยังต้องกิน หรือวันที่ต้องเข้าออฟฟิศและไม่อยากเดินตากแดดออกไปซื้ออาหารเที่ยงเพื่อถือกลับมากิน การสั่ง Delivery food จึงกลายเป็นทางเลือกยอดนิยม

 

ร้านอาหารที่มี Delivery หรือสั่งผ่าน App ได้ แม้ราคาจะไม่แพงกว่าช่วงปกติและอาจมีโปรโมชั่นทั้งลดและแถม แต่หากเทียบค่าใช้จ่ายต่อมื้อที่อิ่มเท่ากันแล้วก็ถือว่าแพงกว่าข้าวร้านแกงปกติที่เคยกินหลายเท่าตัว

 

หากเลือกกิน Delivery food ทุกมื้อทุกวัน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้รวมๆ แล้ว สามารถเก็บไว้กินภัตตาคารหรูๆ ได้หลายมื้อ เมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ

 

ค่ารักษาพยาบาล

 

ที่ไม่ใช่ค่ารักษาโรคจาก COVID-19 แต่เป็นค่ารักษาสุขภาพหลังเริ่มมีอาการหรือได้ผลตรวจสุขภาพประจำปีว่าทั้งน้ำหนักตัว ความดัน น้ำตาล ไขมัน ฯลฯ สูงเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมช่วง WFH ทั้งอาหาร ขนมขบเคี้ยวระหว่างทำงานและดูหนัง รวมไปถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยลง และการหลับพักผ่อนที่ตามใจตัวเองเกินไป เป็นต้น

 

หมั่นควบคุมค่าใช้จ่ายเฝ้าระวังช่วง WFH เพื่อลดรอยรั่วเงินในกระเป๋าให้เหลือน้อยที่สุด เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าเงินเดือนที่ได้จาก WFH จะได้อีกนานแค่ไหน คงไม่มีบริษัทไหนจ่ายเงินเดือนพนักงานเท่าเดิมได้ตลอดไป ทั้งที่เนื้องานจากพนักงานเพื่อนำไปสร้างรายได้ให้บริษัทนั้นน้อยลง

 

 

#WealthMeUp

 

ดูข่าวต้นฉบับ