'เรื่องใกล้ใกล้ตัว' ประจำสัปดาห์นี้ขอหยิบเอาประเด็นที่มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ แต่อยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (โดยเฉพาะในสถานการณ์ชวนหัวร้อน!) หัวข้อที่ว่าก็คือเรื่องของ 'คำด่า' ซึ่งในภาษาไทยก็ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีให้เลือกอยู่หลากหลายสำหรับการนำไปใช้ในกรณีต่าง ๆ ตามความเหมาะสม และแน่นอนว่าก็มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่วันนี้เราจะขอยกเอา 4 คำด่ายอดนิยมที่เป็นอมตะมาพูดถึงพร้อมเรื่องที่มาที่ไปของมัน จะมีคำไหนที่เคยใช้กันติดปากบ้าง ตามมาดูกัน!
**คำเตือน: บทความนี้อาจมีคำพูดที่ไม่สุภาพประกอบอยู่บ้าง แต่จุดประสงค์ของบทความเพื่อให้ความรู้เท่านั้น**
'เหี้ย'
คำที่บางครั้งถูกใช้เป็นคำอุทานเวลาตกใจ บางครั้งก็ถูกใช้เป็นคำวิเศษณ์ขยายความคำวิเศษณ์อีกที (ยกตัวอย่างเช่น สวยเหี้ย ๆ) และหลาย ๆ ครั้งก็เอาไว้ใช้เรียกแทนบุคคลที่มีคุณสมบัติเลวเกินพรรณา
ความอัปมงคลของคำว่า 'เหี้ย' นั้นถูกใช้และบันทึกลงในประวัติศาสตร์ครั้งแรก ย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 5 ในเอกสาร “วชิรญาณวิเศษ” เล่ม 7 แผนที่ 40 วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ศก 111 ได้มีกลอนที่เขียนถึง 'ตัวเหี้ย' เอาไว้ว่ามีพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ ชอบเข้าไปลักขโมยอาหารจากบ้านคน เข้าไปอยู่ที่บ้านไหนก็นำพาแต่ความฉิบหายไปให้บ้านนั้น รวมถึงมีท่อนที่เขียนเปรียบเทียบเอาไว้ว่าหากมนุษย์คนไหนที่ชอบสร้างความวิบัติให้กับผู้อื่น ก็สมควรถูกเรียกให้เป็นเหี้ยเช่นกัน นี่เลยเป็นข้อสันนิษฐานว่าตั้งแต่เวลานั้นมา คำว่าเหี้ยที่ความเดิมหมายถึงตัวเงินตัวทอง ถูกหยิบมาใช้ให้เป็นคำด่าไปโดยปริยาย
'ห่า'
จากชื่อโบราณของโรคอหิวาตักโรคที่ปรากฏครั้งแรกในพงศาวดารเหนือครั้งกรุงศรีอยุธยา สู่คำด่าที่สามารถนำไปประสมคำจากภาษาถิ่นทั้งภาษาเหนือและใต้ ออกมาเป็นหลากหลายความหมายของคำว่า 'ห่า' ได้อย่างจัดจ้าน การถือกำเนิดของคำนี้ก็คล้ายคลึงกับคำว่า 'เหี้ย' ที่นำเอาคุณสมบัติความฉิบหายของโรคห่าที่เกิดขึ้นมาใช้บรรยายตัวบุคคล
หากเรียกใครว่า 'ไอ้ห่า' ก็หมายความได้ว่าคนนั้นคือความฉิบหาย หรือในภาษาถิ่นเหนือที่นิยมเอาไปผสมกับคำอื่น ๆ เพื่อเพิ่มอรรถรส เช่น 'ห่ากิ๋นตั๊บ' (ไอ้ห่ากินตับ) หรือ 'บ่าห้าวอก' (พวกชอบโกหกเหมือนลิงหลอกเจ้า) ก็ทำให้คำนี้สามารถนำไปใช้พลิกแพลงได้ในหลาย ๆ สถานการณ์
'ดอกทอง'
พลั้งคำนี้ออกไปเมื่อไร อาจถูกฟ้องในข้อหาหมิ่นประมาทได้ ซึ่งคำว่า 'ดอกทอง' ก็ถูกตราไว้ในกฎหมายพระไอยการลักษณวิวาท ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1990 เช่นกันว่าเป็นคำประทุษร้ายที่มีบทลงโทษหากเกิดการฟ้องร้อง
'ดอกทอง' เป็นคำด่าที่ค่อนข้างจำกัดเพศและใช้จู่โจมเพศหญิงโดยเฉพาะ เพราะความหมายของมันสามารถแปลได้ว่า หญิงแพศยาหรือผู้หญิงชั้นต่ำ ที่มาของมันมีหลายข้อสันนิษฐาน บ้างว่ามาจาก นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน ที่พูดถึง 'อีดอกทอง'ผู้เสพสังวาสไม่เว้นวัน ทำให้เป็นกามโรค ดอกดวงขึ้นเต็มตัว แต่อีกหนึ่งข้อสันนิษฐานที่น่าสนใจ บอกว่าต้นกำเนิดของคำด่าคำนี้มาจากดอกไม้ที่มีชื่อว่า 'ว่านดอกทอง' โบราณเชื่อกันว่าเมื่อต้นนี้ออกดอกและส่งกลิ่นโชยเมื่อไร จะทำให้หญิงในหมู่บ้านเสียคน ทนกำหนัดตัวเองไม่ไหว ต้องคบชู้สู่ชาย จึงนำคำว่าดอกทองมาใช้เรียก/ด่าหญิงที่มีพฤติกรรมไม่อยู่กับขนบ เสมือนโดนฤทธิ์ของว่านดอกทองในเวลาต่อมา
'พ่อมึงตาย'
ไม่ได้มีการบันทึกเอาไว้ว่าคนที่นำประโยคนี้มาใช้คนแรกคือใคร แต่เป็นประโยคที่งัดมาใช้เมื่อใด ความยาวเมื่อนั้น ต่างจากคำด่าเจ็บ ๆ อย่างเช่นคำว่า 'เ-็ดแม่' ที่มีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษแบบตรงตัวได้ว่า 'Mother*ucker' ประโยคด่าที่หลาย ๆ คนอาจจะเผลอหลุดปากไปในหลายสถานการณ์ที่ฉุนเฉียวอย่างการสาปแช่งบุพการีกลับไม่สามารถ Apply ได้กับภาษาอื่น ๆ หากเราโกรธเพื่อนฝรั่งแล้วยกนิ้วชี้หน้าไปด่าพ่อมันว่า 'Your father die' อาจจะทำให้เกิดความงุนงงขึ้นได้ว่าหากพ่อตายแล้วอย่างไร
เหตุผลก็เป็นเพราะว่าการนำบุพการีมาใช้เป็นประกอบในประโยคด่าอยู่เป็นการด่าในเชิงวัฒนธรรม ในบ้านเรา พ่อแม่เปรียบเสมือนพระในบ้าน คือบุคคลที่ลูก ๆ เคารพนับถือ ฉะนั้นการนำบุคคลที่เป็นที่รักมาใช้รองรับอารมณ์เดือดดาลจึงกลายเป็นเชื้อเพลิงที่จุดน้ำโหได้เป็นชั้นดี
อ้างอิง
สวยที่สุด ว่างจัดไม่มีอะไรจะเขียน
คนมันจะด่า มันไม่ต้องหาที่มาที่ไปหรอกนะ
29 ก.ย 2564 เวลา 05.17 น.
Ben สำนักข่าวขยะจริงๆ
29 ก.ย 2564 เวลา 08.49 น.
สงสัยพ่อของแอดมินไลน์ตาย
เลยเอาข่าวนี้มาลง
29 ก.ย 2564 เวลา 06.14 น.
Tan ข่าวอะไรเนี่ย ช่างอัปปรี จันไร เสียจริงๆ
29 ก.ย 2564 เวลา 15.02 น.
Messerschmitt109 "เวรตะไล!" เป็นคำใช้ด่าตนเอง😅
เวลาหาอะไรไม่เจอ(วางเอง ลืมเอง)
29 ก.ย 2564 เวลา 00.38 น.
ดูทั้งหมด