ทั่วไป

นักวิจัยจุฬาฯยัน! ยังไม่พบ 'ไวรัสโคโรนา' ในค้างคาวไทย (คลิป)

TNN ช่อง16
อัพเดต 28 ม.ค. 2563 เวลา 03.55 น. • เผยแพร่ 28 ม.ค. 2563 เวลา 03.55 น. • TNN Thailand
นักวิจัยจุฬาฯ ยันยังไม่พบ 'ไวรัสโคโรนา' ในค้างคาวไทย เตรียมลงพท.สำรวจค้างคาว​มงกุฎ​อีก 23​ ชนิด​

วันนี้( 28 ม.ค.63) ดร. สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี นักวิจัยศูนย์ วิทยาศาตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ระบุว่า หลังจากที่ได้ทำการวิจัยไวรัสโคโรนา​ในค้างคาวมาก่อนหน้านี้​ ขณะนี้เตรียมลงพื้นที่ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ​สัตว์ป่า​และ​พันธุ์พืช​ สำรวจค้างคาว​มงกุฎ​ในไทย จำนวน 23​ ชนิด​ ว่ามีเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือไม่​ โดยจะต้องทำแผนสำรวจพื้นที่ก่อนว่า ค้างคาวมงกุฎมีอยู่ในพื้นที่ใดและจังหวัดใดบ้าง

ซึ่งก่อนหน้านี้ทีมวิจัยจุฬาฯ ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ​สัตว์ป่า​และ​พันธุ์พืช​ และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการลงพื้น​ที่​สำรวจค้างคาวในประเทศไทย เพื่อหาเชื้อไวรัสในค้างคาว เพื่อจัดทำฐานข้อมูล ถอดรหัสพันธุกรรมของโรค​อุบัติ​ใหม่​ เบื้องต้นพบเชื้อโคโรนาในค้างคาวไทย​ 300-400 ​ชนิด​แต่ยังไม่ติดต่อสู่คน​

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ค้างคาว ถือเป็นแหล่งรังโรคสำคัญที่นำไปสู่โรคอุบัติใหม่ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา โรคสมองอักเสบนิปาห์ โรคกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง และโรคกลุ่มอาการทางเดินหายใจตะวันออกกลาง

ส่วนทั่วโลกมีไวรัสโคโรนา​ ที่ก่อโรคในคน​ 7​ ชนิด​ แบ่งเป็น​ 4​ ชนิด​แรก ที่มีอาการโรคหวัด , 2​ ชนิด​ เป็นไวรัสกลุ่ม​เบต้า​ คือ โรคเมอร์​ โรคซาร์ส ที่มีความรุนแรง และ​ 1​ ชนิด​ ล่าสุด​ คือ​ โคโรนา สายพันธุ์​ใหม่​2019 ที่มีผลต่อปอดอักเสบ​

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ขณะที่ สถานการณ์​ความรุนแรง​ ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์​ใหม่​ 2019 ถือว่ามีความรุนแรงน้อยกว่าโรคเมร์สและซาร์ส​อย่างมาก​เพราะเป็นคนละชนิด​และไวรัส สามารถ​ตายได้ในภูมิภาคร้อน​จัดและแห้ง​ ซึ่งตอนนี้การติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์​ใหม่​ 2019 ในประเทศไทย ผู้ป่วยยังคงติดเชื้อมาจากเมืองอู่ฮั่น ซึ่งประชาชนสามารถป้องกันได้ คือ ล้างมือบ่อยๆใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการ ไอ จาม

ส่วนการจะวัดว่าสถานการณ์ของโรครุนแรงหรือไม่​ สามารถ​วัด​ได้ 3​ ระดับ คือ อัตราการเสียชีวิต​ , ความรุนแรงของโรค​และการแพร่ระบาด​ โดยสถานการณ์ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์​ใหม่​ 2019 ปัจจุบันยังไม่สงบ

โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์​สุขภาพ​ โรค​อุบัติ​ใหม่​ คณะ​แพทยศาสตร์​ รพ.จุฬาฯ​ ​​มีชุดตรวจไวรัสโค​โร​นา​มากกว่า​ ​ 16​ ชุด​ และอยู่ระหว่างการเร่งพัฒนาชุดตรวจไวรัสโค​โร​นา​ จากการเทียบรหัสพันธุกรรมของเชื้อ​ เพิ่มขึ้นอีก​

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ซึ่ง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์​ จะมีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านห้องปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาการตรวจโรคไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่​ให้รู้เร็วที่สุด เพื่อให้เกิดการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ

ดร. สุภาภรณ์ แนะประชาชนในช่วงภาวะการณ์โรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่2019 ถึงแม้ยังไม่มีการแพร่ระบาดจากคนสู่คนในประเทศไทย และที่ผู้ป่วยติดเชื้อ ก็ยังคงรับเชื้อมาจากเมืองอู่ฮั่น ประชาชนชาวไทยตระหนักได้ถึงการป้องกัน แต่ต้องไม่ตระหนกล้างมือบ่อยๆ กินร้อนช้อนกลาง ใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในแหล่งชุมชน คนแออัด ยังคงเป็นวิธีป้องกันสำคัญ และการจามหากไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย ก็ให้ยกแขนตนเองขึ้นมา บังในการจาม ดีกว่าการใช้มือขึ้นมาปิด เนื่องจากเราอาจเผลอเอามือไปหยิบจับสิ่งอื่นได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เพิ่มขึ้นทุกวัน! เหยื่อ 'ไวรัสโคโรนา' ในจีน ดับพุ่ง 80 ศพ

จีนชี้ 'ไวรัสโคโรนา' สามารถแพร่เชื้อได้ในระยะฟักตัว

สธ.แถลงพบผู้ป่วยติดเชื้อ 'ไวรัสโคโรนา' ในไทยแล้ว8ราย

เช็กเรียลไทม์! การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลก

ช่วยเหลือกันและกัน! สมัครล่ามภาษาจีนคัดกรองไวรัสโคโรนาครบแล้ว

สพฐ.ห่วงวิกฤตไวรัสโคโรนาให้ผอ.โรงเรียนใช้ดุลพินิจปิดสถานศึกษา

สธ.รับสมัครล่ามภาษาจีนช่วยสกัด 'ไวรัสโคโรนา'

แคนาดาพบผู้ป่วย 'ไวรัสโคโรนา' รายแรกของปท.

วิกฤตหนัก! ยอดตาย 'ไวรัสโคโรนา' จีนพุ่ง 56 ศพ

มาส์กปิดปากก็ไม่พอ “ไวรัสโคโรนา” ติดเชื้อผ่านดวงตาได้

สลด! แพทย์จีนที่รักษาผู้ติดเชื้อ เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนารายแรก 

ผลวิจัยคาดมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสูงถึง 3.5 แสนคน ชี้ 5 ประเทศสุดเสี่ยง 

ไวรัสโคโรนา ลุกลามเข้าฝรั่งเศส ออสเตรเลียแล้ว

เหยื่อไวรัสโคโรนา พุ่ง 41 ศพ ติดเชื้อทะลุพันคน

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 6
  • Dr.Moi
    คุณหมอสุภาภรณ์ เป็นคนเก่งมากที่สามารถถอดรหัสพันธุกรรม โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น ได้คนแรกของโลก และทำได้ก่อนจีนอู่ฮั่นเสียอีก ชื่นชมคุณหมอครับ แสดงว่า ค้างคาวในไทย ไม่เป็นความเสี่ยงที่จะนำเชื้อมาให้คนไทย หวังว่า ตอนนักวิจัยทุกคนทั่วโลกกำลังพยายามช่วยกันคิดค้นวัคซีนที่จะป้องกันไวรัสตัวนี้กันอยู่ ขอให้คลี่คลายสถานการณ์วิกฤตนี่โดยเร็วครับ
    28 ม.ค. 2563 เวลา 02.52 น.
  • Somchai
    ตอนนี้ไม่ใช่จะมาจากค้างคาวแล้วครับ มันมาจากคนแล้ววิจัยการหาวัคซีนรักษาดีกว่าหรือไม่ครับความเห็นผมอาจดูโง่แต่มันคือความรู้สึกจริงๆของ ปชช.
    28 ม.ค. 2563 เวลา 02.40 น.
  • JOHNPONGSAK
    เข้าใจว่าอาจไม่มากับค้างคาวที่สงสัยคือหมอตรวจค้างคาวทุกตัวทั่วประเทศไทยได้ยังไงผมงงแค่จังหวัดผมมีเกินล้านตัวนะครับหมอ😂😂ทั่วประเทศจะมีกี่ล้านล้านตัวหมอตรวจไหวเหรอ..มโนเองตลอด
    28 ม.ค. 2563 เวลา 03.09 น.
  • S.A
    ค้างคาวไทย ไม่ค่อยอยู่ถ้ำครับ เลยไม่มีเชื้อ
    28 ม.ค. 2563 เวลา 03.07 น.
  • ธวัชชัย
    ผมไม่เชื่อว่าเชื้อนี้จะมาจากสัตว์โดยตรง สังเกตุเอาเมื่อไรมีความขัดแย้งขึ้นกับชาติตะวันตกทีไรทำไมมีเชื้อโรคแปลกๆขึ้นมาทันที ไม่คิดไม่แปลกต้องคิดแล้วแปลก ในเมื่ออดิตคนอยู่กับสัตว์มาเป็นพันล้านๆปียังไม่เคยเจอโรคแปลกๆเลย ผมเดาเอาว่าต้องมีใครสักกลุ่มหนึ่งทำงานผสมเชื้อโรคข้ามสายพันธ์ตัดต่อยีนเด่นยีนด้อยจึงมาเป็นเชื้อโรคประหลาดเหล่านี้ฝากมาให้คิดครับ
    28 ม.ค. 2563 เวลา 02.50 น.
ดูทั้งหมด