ไอที ธุรกิจ

ส่องเหตุผล ‘ลิบรา’ ภัยคุกคาม ‘ธนาคาร’ จริงหรือ

The Bangkok Insight
อัพเดต 25 มิ.ย. 2562 เวลา 07.54 น. • เผยแพร่ 25 มิ.ย. 2562 เวลา 07.54 น. • The Bangkok Insight

บรรดาผู้บริโภคอาจจะมองว่าการถือครอง “ลิบรา” เงินดิจิทัลสกุลใหม่ของเฟซบุ๊ก เป็นทางเลือกสำหรับการเก็บเงินไว้ในธนาคาร และถ้าหากผู้บริโภคมองว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ลิบราก็อาจได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ถ้าชาวตะวันตกทุกคน ถือครองลิบราในจำนวนที่เทียบเท่ากับ 1 ใน 10 ของเงินที่ฝากไว้ในบัญชีธนาคารในทุกวันนี้ เงินดิจิทัลสกุลใหม่นี้ ก็อาจจะมีมูลค่ามากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ อันจะทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ภาคธนาคารควรจะกังวลกับเรื่องนี้หรือไม่

หากมองผ่านๆ ในครั้งแรก ลิบราก็จะเหมือนกับระบบธนาคารทั่วไป “ทุนสำรองลิบรา” (Libra Reserve) จะมีสินทรัพย์ปลอดภัย และมีสภาพคล่องมากพอที่จะคอยค้ำประกันเงินลิบราทุกเหรียญที่ออกมา อันเป็นการจัดการที่นักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่ง เรียกขานมานานหลายสิบปีแล้วว่าเป็น “การธนาคารที่แคบลง” ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเข้ามาแทนที่ระบบทุนสำรองแบบแบ่งสินทรัพย์ออกเป็นหลากหลายประเภท และเงินฝากที่ธนาคารจะมีสินทรัพย์จดจำนอง และเงินกู้สภาพคล่องต่ำ หนุนหลังอยู่

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาให้ลึกซึ้งกว่าเดิม จะเห็นว่า การซื้อลิบราไม่ได้ทำให้ปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารลดลง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ตัวอย่างเช่น ชาวอังกฤษใช้เงินฝากในบัญชีธนาคาร เพื่อซื้อลิบรา เขาอาจจะโอนเงินปอนด์เข้าไว้ใน Libra Reserve หรือผู้ขายรายอื่นๆ ที่อาจจะมีบัญชีเงินฝากธนาคารอยู่เช่นกัน เพื่อใช้รับการชำระเงิน ก็จะทำให้เงินฝากยังอยู่ในระบบบัญชีธนาคารเหมือนเดิม

ทั้งระบบธนาคารในยุคสมัยใหม่นี้ เงินฝากในบัญชีธนาคาร สามารถส่งผ่านไปยังบัญชีต่างๆ แปลงเป็นเงินสด หรือนำไปใช้ชำระหนี้เงินกู้ธนาคาร หรือซื้อสินทรัพย์จากธนาคารได้ ทำให้เงินในบัญชีไม่สามารถที่จะหายไปเข้าไปในระบบนอกภาคธนาคารได้อย่างง่ายๆ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

กระนั้นก็ตาม ข้อเท็จจริงเหล่านี้ ไม่ได้ทำให้ธนาคารสบายใจ วางตัวเฉยเมยได้

เหตุผลแรกก็คือ ลิบราสามารถทำให้ดุลบัญชีของธนาคารลดน้อยลงได้ หาก Libra Reserve ใช้เงินทุนของลูกค้าเข้าไปซื้อหลักทรัพย์ต่างๆ อย่างตราสารหนี้ภาครัฐจากธนาคาร

ประการที่ 2 คือ ลิบราอาจทำให้รายได้ของภาคธนาคาร จากการชำระเงินข้ามแดนลดลงไป เพราะเฟซบุ๊กต้องการที่จะให้เงินเสมือนจริงนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เลย

เหตุผลสุดท้ายคือ แม้เฟซบุ๊ก จะยังไม่ได้ตัดสินใจที่จะทำให้ตัวเองกลายเป็นธนาคารที่ให้บริการอย่างเต็มที่ แต่ความยั่วยวนใจในเรื่องนี้ย่อมสูงขึ้นอย่างแน่นอน หากลิบราเติบโตมากขึ้น ทั้งข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เฟซบุ๊กมีอยู่ ก็เพียงพอที่จะให้บริษัทคิดถึงเรื่องนี้ได้

นอกจากนี้ แม้ว่า Libra Reserve จะเป็นอิสระจากเฟซบุ๊กเป็นส่วนใหญ่ แต่ยักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดียรายนี้ ก็มีแผนนำเสนอกระเป๋าเงินดิจิทัลของตัวเอง ที่ใช้ชื่อว่า “คาลิบรา” สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการเก็บเงินดิจิทัลของตัวเองให้ปลอดภัย และแน่นอนว่า สิ่งที่ต้องเก็บไปพร้อมๆ กันก็คือ ข้อมูลการเงินส่วนบุคคล

ที่มา: The Economist 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • ถ้ารัฐบาลจะเก็บภาษี 15% facebook คงไม่ให้ความร่วมมือ เพราะขัดเป้าหมาย เป็น currency หลักของโลก
    28 มิ.ย. 2562 เวลา 06.18 น.
  • ถ้าใช้เงินสกุลนี้กันหมดรัฐจะเก็บภาษีไม่ได้ การบำรุงท้องที่จะเกิดจากการบริจาคของคนพื้นที่ ข้าราชการจะลดน้อยลง ไม่ต้องมีธนาคาร ไม่ต้องตู้ ATM
    27 มิ.ย. 2562 เวลา 16.12 น.
  • มานพ
    มึงจะเอาอะไรมาเสนอก็เรื่องของมึง กูแก่แล้วเดี๋ยวกูก็ตาย
    25 มิ.ย. 2562 เวลา 20.46 น.
ดูทั้งหมด