ทั่วไป

ไม่ใช่แค่เด็ก!หนุ่มรีวิวโรค ‘สมาธิสั้นในผู้ใหญ่’ เช็กเลยอาการนี้ใช่ชัวร์ๆ

เดลินิวส์
อัพเดต 22 ก.พ. 2565 เวลา 11.20 น. • เผยแพร่ 22 ก.พ. 2565 เวลา 04.03 น. • เดลินิวส์
หนุ่มโพสต์แชร์ประสบการณ์ “โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่” ที่ไม่เป็นแค่ในเด็ก เล่าอาการแบบชัด ๆ ทำงานชนเดดไลน์-ลืมนัดบ่อย

เรียกได้ว่ากำลังกลายเป็นเรื่องราวที่ชาวเน็ตบนโลกออนไลน์กำลังกันแชร์อยู่ในขณะนี้ ภายหลังสมาชิกผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า Chinapong Lienpanich ได้ออกมาโพสต์รีวิวอาการ “โรคสมาธิสั้น” ที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่ ซึ่งโรคนี้หลาย ๆ คนมักจะคุ้นหูว่าเกิดขึ้นในเด็ก แต่ความจริงแล้ว โรคสมาธิสั้นสามารถเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ได้เช่นเดียวกัน โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กรายดังกล่าวได้เขียนข้อความเล่าว่า

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“รีวิวโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ ใช่แล้วเราเป็นสมาธิสั้น หรือ ADHD โรคที่คนไทยหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักดี ถ้าหากดูเผิน ๆ จากภายนอกเราอาจจะเป็นคนที่เรียนเก่ง หัวดี ความรู้รอบตัวเยอะ แต่ข้างในแล้วเราเป็นคนที่ มักผัดวันประพรุ่ง นอนไม่เป็นเวลา ทำงานชนเดดไลน์และลืมนัดอยู่บ่อย ๆ จนมักมีคนบอกเราบ่อยว่าเราเป็นคนที่ "ไร้ความรับผิดชอบ" หรือไม่ก็มี "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด" อยู่บ่อย ๆ ซึ่งมันส่งผลให้เรามีปัญหาด้านการเรียนและการทำงานอยู่พอสมควร

นับตั้งแต่เด็กจนโต เราคิดมาโดยตลอดว่าปัญหาเหล่านี้เป็นนิสัยที่สามารถแก้ไขให้หายไปได้ จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและจัดการเวลาชีวิตให้ดีขึ้น แต่มันก็ไม่เคยได้ผลเลย เพราะมันเป็นเรื่องของสารเคมีในสมอง ไม่ต่างอะไรไปจากโรคซึมเศร้า ซึ่งต้องอาศัยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและยาที่ถูกต้องในการรักษาอาการให้คงที่

แล้วเราอยากจะบอกว่า ไม่ว่าใครก็เป็นโรคสมาธิสั้นได้ เพราะอาการนี้มีรูปแบบหลากหลายมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเหม่อลอย ไปจนถึงการอยู่ไม่นิ่งที่ต้องขยับร่างกายตลอดเวลา ซึ่งสำหรับเราแล้ว โรคนี้ทำให้เราไม่มีสมาธิโฟกัสกับงาน หรือทำงานภายใต้กรอบเวลาที่แน่ชัดไม่ได้ เพราะสมองเราจะสั่งให้เราทำตามที่ที่ตนเองให้ความสนใจในเวลานั้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจากนี้ แพทย์ยังวินิจฉัยว่าเรามีอาการบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์อีกด้วย (LD) ซึ่งก็ได้คลายปมตั้งแต่เด็กละว่าทำไมเราถึงโง่เลข 5555555 ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การรักษาโรคประเภทนี้ตั้งแต่ช่วงแสดงอาการแรกเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ยังเล็ก ไม่งั้นพฤติกรรมจะลากยาวกลายมาเป็นแบบเราและอาจส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตได้

นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราตัดสินใจมารักษาโรคนี้ เราไม่อยากให้ใครเดือดร้อนเพราะพฤติกรรมการทำงานของเราอีก และเราอยากขอบคุณเพื่อน ๆ ทุกคนจริง ๆ ที่เคยได้ช่วยตามงานเรา เตือนเรา บอกเรา พาให้เราเรียนจนจะจบได้ และก็ขอบคุณทุกคนที่อ่านมาถึงตรงนี้นะ รักส์”..

ขอบคุณภาพประกอบ : Chinapong Lienpanich

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 2
  • Psi
    ดูดีๆ
    02 ส.ค. 2563 เวลา 05.48 น.
  • ต่างประเทศยังรุนแรงอยู่ อนุญาติให้ต่างด้าวเข้ามาทำไมแม้จะเพื่อนบ้านก็ตามเถอะ หาเรื่องถ้าระบาดจะได้สยบม๊อบรึ
    02 ส.ค. 2563 เวลา 00.35 น.
ดูทั้งหมด