“เดียร์ รวิสรา” ฉะค่านิยมล้าหลัง ด้อยค่าคนจบจาก ม.ราชภัฏ ไม่เก่งเท่าเด็กจุฬาฯ เชื่อถ้าได้รับการศึกษาดี ทุกคนมีศักยภาพ ชี้ ค่านิยม “เตรียมอุดม-จุฬา” คือ ความล้มเหลวการศึกษาไทย
วันที่ 25 กรกฎาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลายเป็นที่พูดถึงอยู่ในโลกโซเชียลอย่างแพร่หลาย ภายหลังนางสาวรวิสรา เอกสกุล หรือ เดียร์ บัณฑิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นจำเลยคดี ม.112 จากการอ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมันในการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมันฯ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 ได้โพสต์ข้อเขียนผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า
“เมื่อเย็นเห็นสเตตัสของเด็กราชภัฏที่บอกว่าอยากให้มีโครงการแลกเปลี่ยนมาเรียนที่จุฬาที่มีคนบางกลุ่มแคปมาขำคิกคักกันแล้วรู้สึกว่าเป็นอะไรที่ใจร้ายมาก”
“เราอ่านเจอคอมเม้นในทวิตเตอร์แนวแบบ “เด็ก ฬ เขาไม่มาอะไรกับราชภัฏหรอก มันคนละ tier กัน เขาไปตีกับธรรมศาสตร์นู่น” หรือ “ก็สอบให้ติดก่อนสิ” แล้วก็รู้สึกว่ามันเป็นคำพูดที่ใจร้ายมาก เราไม่แปลกใจที่เด็กราชภัฏจะไม่พอใจในสถานะของมหาวิทยาลัยตัวเอง เพราะสังคมยังคงตีตราว่าเด็กราชภัฏ = ไม่เก่ง สอบมหาวิทยาลัยรัฐดัง ๆ ไม่ติด พวกเขาไปที่ไหน แค่เห็นชื่อมหาลัยก็โดนเหยียด โดนปฏิเสธ โดนปัดตกไปหมดแล้ว ดังนั้นมันไม่แปลกเลยซักนิดถ้าเค้าจะรู้สึกโดนด้อยค่าตลอดเวลา”
“ยิ่งเห็นเด็กจุฬาออกมาพูดว่า “ก็สอบให้ติดก่อนสิ” มันยิ่งดูใจร้ายมาก ส่วนตัวเราเชื่อว่า 85% ของคนที่ติดจุฬาคือคนที่มีโอกาสในชีวิตดีกว่าคนอื่น อย่างเราเองก็รู้ตัวมาตั้งแต่เด็กว่าไม่ใช่คนฉลาดหัวไว แต่โชคดีที่ที่บ้านถึงจะไม่รวยแต่ก็มีแรงซัพพอร์ต ส่งไปเรียนพิเศษ ยิ่งช่วงปิดเทอมก่อนสอบเข้าเตรียมก็เช่าหอให้ไปเรียนในกรุงเทพ ในขณะที่เด็กต่างจังหวัดบางคนยังไม่มีโอกาสได้รู้เลยด้วยซ้ำว่าเตรียมอุดม/จุฬาคืออะไร หรือต่อให้รู้จัก มันก็เป็นความฝันที่ไกลจนหลายคนไม่คิดด้วยซ้ำว่าตัวเองจะเอื้อมถึง”
“เราเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ (แทบ) ทุกคน เราเชื่อเสมอว่าถ้าทุกคนได้รับการศึกษาที่ดีและเท่าเทียมกัน ทุกคนก็มีสิทธิที่จะได้เป็นแสดงศักยภาพในด้านที่ตนเองถนัดผ่านการบ่มเพาะจากการศึกษาที่ดี ค่านิยมการเข้าเตรียมอุดม/จุฬามันก็คือความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทยดี ๆนี่เอง”
“การที่เด็กมหาลัย so called ชื่อดังต่าง ๆ ออกมาขำคิกคักเด็กราชภัฏที่แค่ต้องการพิสูจน์ตัวเองว่าไม่ได้ตรงตามภาพจำที่สังคมยัดเยียดให้มันก็ไม่ต่างอะไรจากการลืมรากเหง้า privilege ในชีวิตของตัวเองเลยซักนิด”
“สงสัยคนที่ออกมาเรียกร้องอยากให้คนเท่าเทียมกัน แต่พอถึงเรื่องนี้กลับขำชอบใจที่ตัวเองสูงส่งกว่าคนอื่น แบบนี้เมื่อไหร่คนจะเท่ากันจริง ๆ เสียที”
lek 20 แต่กลับยกย่องเทอดทูนตี๋น้อยศาสดาของแก๊ง ที่เป็นคนพูดประโยคนี้ที่แบ่งชนชั้นของคนออกมาจากปากตัวเอง ตรรกะกับการกระทำแต่ละเรื่องจะย้อนแย้งไปถึงไหนคัฟ
26 ก.ค. 2565 เวลา 03.54 น.
Archangel Que เดียร์ก็ลาออกไปเรียนราชภัฏถ้าคิดว่าไม่ต่างกัน ง่ายนิดเดียวตัวเองยังเรียนจุฬาอยู่เลย ปากไม่ตรงกับใจ
26 ก.ค. 2565 เวลา 03.41 น.
Nichapon จุดหมายของการศึกษาของทุกสถาบันคือการมอบความรู้เพื่อเข้าสู่การทำงาน จบแล้วมีอาชีพ ทำเพื่อครอบครัว สังคม สุดท้ายประเทศชาติ จะจบที่ไหนไม่สำคัญเท่ากับเรียนสูงแล้วทำตัวอย่างไร มากกว่า
26 ก.ค. 2565 เวลา 03.36 น.
tae นี่แหล่ะหนอ หลงอยู่กับโลกอุดมคติที่โดนหล่อหลอมจากอาจารย์แล้วเชื่อว่ามันจะเป็นจริงได้เรื่องความเท่าเทียมซึ่งมันไม่สามารถเท่ากันได้ทุกเรื่อง คนเท่ากันมันคือเรื่องของสิทธิที่มีเท่ากันได้ตามที่พึงมี ส่วนความสามารถมันมีเท่ากันทุกคนไม่ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้มันแบ่งลำดับชั้นทางสังคมและแบ่งบทบาทและหน้าที่ทางสังคม ฉะนั่นเราควรแยกเรื่องความเท่าเทียมกันให้ออกก่อน
25 ก.ค. 2565 เวลา 14.51 น.
มันก็มีหมดทั่วโลกแหล่ะ ไม่งั้นคนเก่งเค้าคงไม่แย่งกันเข้าระดับโลกเช่น MIT, Havard, oxford , cambridge หรือ ม.กลุ่ม lvy league หรอก ต้องยอมรับระดับสมองคนมันไม่เท่ากัน คนเก่งไม่เท่ากัน แม้แต่คนที่สอบเข้าจุฬาได้ก็มีคนเก่งมากๆๆๆ เก่งมาก เก่งปานกลาง และ เก่งน้อย แต่ก็เก่งมากกว่าที่อื่นน่ะ เด็กมีความสามารถหลาหหลาย ครบเครื่องกว่า ต้องยอมรับครับ
25 ก.ค. 2565 เวลา 08.18 น.
ดูทั้งหมด