ไอที ธุรกิจ

'กระเป๋ากะลามะพร้าว' ของฝากเมืองสตูล

กรุงเทพธุรกิจ
อัพเดต 21 ธ.ค. 2565 เวลา 07.17 น. • เผยแพร่ 21 ธ.ค. 2565 เวลา 07.06 น.

สตูลกระเป๋าผลิตภัณฑ์ใหม่ผลิตจากกะลามะพร้าว ตอบโจทย์ตลาดคนรุ่นใหม่ ขยายกลุ่มสินค้าแฟชั่น วิสาหกิจชุมชนหัตถศิลป์พื้นบ้านปากบารา

ที่วิสาหกิจสชุมชนหัตถศิลป์พื้นบ้านปากบารา ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล กรมการค้าภายใน นำกระเป๋าซึ่งออกแบบจากลวดลายโดยนำรูปแบบของฟอสซิลและสาหร่าย มาเพ้นท์บนผ้าตัดต่อ เย็บเป็นกระเป๋า และนำกะลา มาตัดเป็นรูปฟอสซิลดึกดำบรรพ์ 4 ชนิด ที่พบในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล นำมาปักตกแต่งบนกระเป๋าผ้า ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของกลุ่ม โชว์ภายในพิธีเปิด “หมู่บ้านทำมาค้าขายแห่งใหม่” ภายใต้โครงการ หมู่บ้านทำมาค้าขาย “วิสาหกิจชุมชนหัตถศิลป์พื้นบ้านปากบารา” เพื่อมุ่งพัฒนาท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็ง ให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมี พ.จ.อ.ธวัช ช่วยเกตุ ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง (ปลัดอาวุโส) ที่ทำการปกครองอำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธี นายรัฐการ ลักเลีย นายก อบต.ปากน้ำ และส่วนราชการในพื้นที่เข้าร่วมในพิธีเปิด พร้อมชมนิทรรศการผลงานจากกะลามะพร้าวไร้ค่า สู่ผลิตภัณฑ์อันเลอค่าสู่ตลาดกว้างสร้างรายได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ภายในงานมีการจัดนิทรรศการแนะนำกลุ่ม กิจกรรมสาธิตการทำผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านจาก กะลามะพร้าว ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้มาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ความพิเศษของผลิตภัณฑ์แบรนด์ กะลาบารา ก็คือ การนำประโยชน์ใช้สอยเพื่อเป็นของตกแต่งบ้าน มาเป็นไอเดียหลักในการออกแบบ โดยยังคงเน้นวัตถุดิบหลัก คือกะลา ที่มาจากแหล่งธรรมชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เริ่มต้นคือการเลือกคุณภาพของกะลา กะลาที่จะนำมาทำ ผลิตภัณฑ์ ต้องไม่บางหรือหนาเกินไป ต้องเลือกกะลาที่พอดีกับความต้องการ แล้วนำไปตากแดดเป็นเวลา 2 วัน เพื่อให้น้ำมันที่อยู่ในกะลาแห้ง ไม่เช่นนั้นเวลาที่ขัดกะลา น้ำมันจะไหลออกมา หลังจากตากแดดจนแห้งแล้ว ก็มาสู่ ขั้นตอนการขัด ที่ต้องใช้เครื่องขัดจนถึงจุดที่ใช้ให้ และนำไปขึ้นโครงเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามที่ตั้งใจ โดยในแต่ละขั้นตอนการผลิตมีความละเอียดอยู่ในนั้น ซึ่งต้องใส่ใจในทุกๆ ขั้นตอน

นางสาวจันทร์ดา กลัมพากร นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการพิเศษ รักษาการตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การพัฒนาและส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมการค้าภายใน เล็งเห็นความสำคัญและศักยภาพของชุมชนแห่งนี้ จึงได้เข้ามาช่วยส่งเสริมและพัฒนาให้เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านทำมาค้าขายแห่งใหม่ พร้อมกับพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่อีกแนวจากเดิม โดยมีการขยายกลุ่มสินค้าแฟชั่นเพิ่มขึ้นคือกระเป๋าผ้า "GEO Park เป็นคอตเลคชั่นใหม่ ที่อาจารย์ศักดิ์จิระ เวียงเก่า หรืออาจารย์ช้าง ดีไซน์เนอร์ที่มีชื่อเสียงจากแบรนด์ บายศรี เข้ามาให้ความรู้เรื่องการออกแบบ และสร้างแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ฉีกแนวใหม่ๆ เพิ่มเติมเข้ามา อีกทั้งยังมีการขยายกลุ่มสินค้าแฟชั่นเพิ่มขึ้นคือ กระเป๋าผ้าในคอลเลกชั่น “GEO Park" ที่ได้รับแรงบันดาลใจ มาจากอุทยานธรณีสตูล โดยนำรูปแบบของฟอสซิลและสาหร่าย มาเพ้นท์บนผ้าตัดต่อ เย็บเป็นกระเป๋า และนำกะลา มาตัดเป็นรูปฟอสซิล 4 ชนิด ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสตูล นำมาปักตกแต่งบนกระเป๋าผ้า เน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็น นักท่องเที่ยวและผู้ที่ชอบสีสันพื้นผิวของธรรมชาติ เพื่อให้คนสามารถใช้งานได้ง่าย ทั้งยังเพิ่มโอกาสทางการตลาดของ แบรนด์กะลาบาราให้มากขึ้นอีกด้วย มีการสร้างแบรนด์ให้โดดเด่นและยั่งยืน สามารถกำหนดอนาคตและทิศทางของแบรนด์ได้ตามความต้องการของเทรนด์และตลาด พัฒนาบรรจุภัณฑ์ และ TAG สินค้า ติดอาวุธทางปัญญาด้วยการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการณ์ณ์เสริมสร้างแนวคิดและทักษะด้านการผลิตเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ อบรมด้านการตลาด ออฟไลน์และออนไลน์ จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน เพื่อเพิ่มทักษะด้านการผลิตและการตลาด ส่งเสริมด้านการจัดจำหน่าย การขยายตลาดออฟไลน์และออนไลน์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเข้ามาช่วยพัฒนาและดูแลในเรื่องการทำเนื้อหา ประชาสัมพันธ์ในช่องทางการขายทั้งด้านออฟไลน์และออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook Page, Facebook Marketplace, LINE MyShop, Tiktok, WebApp, Songkhla Marketplace เป็นการเปิดช่องทางการขายใหม่ๆ ให้แก่วิสาหกิจชุมชน

ด้านนายจำรูณ ตาเหยบ ประธานวิสาหกิจชุมชนหัตถศิลป์พื้นบ้านปากบารา กล่าวว่า แนวคิดที่ทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว เนื่องจากชุมชนติดชายฝั่งทะเล ในอดีตจะเห็นพันธุ์เต่าอยู่บนชายหาดปากบารา แต่เมื่อความเจริญเข้ามาทำให้เต่าเหล่านี้เริ่มหายไป จึงมีแนวคิดที่จะทำผลิตภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มารู้จักวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมบ้านเรา จึงคิดค้นผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวซึ่ง กะลาเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น มีจำนวนมาก จะอยู่ตามบ้านเรือนกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ก็เลยเอากะลามะพร้าวนี้มาแปรรูปเป็นสัตว์น้ำเพื่อบ่งบอกว่าในอดีตหมู่บ้านของเราอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์สัตว์เต่าตนุ และอยากให้คนหันมาบริโภคเรื่องวัสดุเหลือใช้แทนไม้ เพราะตอนนี้การทำลายป่าไม้เริ่มมากขึ้น อยากให้คนสนใจผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวเพราะวัสดุตัวนี้สามารถทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ของฝากได้อีกมากมาย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายจำรูณ ตาเหยบ กล่าวต่อ จากการร่วมกับกรมการค้าภายใน นับเป็นความโชคดีที่เราสามารถพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เพราะทางกรมฯเขาเน้นในเรื่องการพัฒนา และเปิดช่วงทางการตลาด ทำให้ผลิตภัณฑ์ของเราสามารถขายออกไปตลาดภายนอก ชุมชน ชาวบ้าน มีรายได้เพิ่ม ส่วนราคาผลิตภัณฑ์มีตั้งแต่ หลักสิบบาทถึงหลักหมื่นบาท หลักสิบก็เป็นของที่ระลึก หลังพันก็เป็นสิ่งของเครื่องใช้ ส่วนหลักหมื่นของเป็นงานชิ้นใหญ่ๆ ต้นมะพร้าวเป็นต้นไม้ที่มหัศจรรย์กินได้ตั้งแต่น้ำ เนื้อ เศษก็ยังมีคุณค่า ก็เปรียบเสมือนเรามีทองคำในพื้นที่เราแค่เลือกนำมาใช้ เพราะมันมีเยอะ

ด้านนางสาวกัลยา เศษขาว สมาชิกกลุ่มฯ กล่าวว่า เดิมการทำผลิตภัณฑ์จากกะลาที่วิสาหกิจหัตถศิลป์พื้นบ้านปากบารา เป็นงานหลัก แต่ด้วยวิกฤตโควิดออเดอร์ลดลงก็ใช้เวลาว่างไปคัดกุ้งคัดปลา แต่ช่วงนี้สถานการณ

ดูข่าวต้นฉบับ