ไอที ธุรกิจ

ผลักดันคราฟท์เบียร์ถูกกฎหมาย เตะอ้อยเข้าปากช้าง หรือ กระจายอำนาจสู่ประชาชน

TODAY
อัพเดต 24 ส.ค. 2562 เวลา 03.00 น. • เผยแพร่ 23 ส.ค. 2562 เวลา 10.10 น. • Workpoint News

เมื่อสามปีก่อน หากใครติดตามข่าวสารในวงการแอลกอฮอล์ จะมีข่าวหนุ่มบัณฑิตนิติศาสตร์คนหนึ่ง ถูกตำรวจจับกุมด้วยข้อหาผลิตเบียร์ผิดกฎหมาย และวลีที่ชายหนุ่มคนนั้นสารภาพต่อตำรวจที่ว่า “ผมชอบเบียร์” และหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสแม้วันที่ถูกสรรพสามิตรเข้าไปจับกุม ทำให้ข่าวนี้เป็นประเด็นโด่งดัง และได้สร้างกระแสให้ประชาชนรู้จักคำว่า คราฟท์เบียร์ รวมไปถึงการเรียกร้องสิทธิในการผลิตเบียร์เองของผู้ประกอบการรายย่อย นำโดยคุณเท่าพิภพเอง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่

ปัจจุบัน หนุ่มผลิตเบียร์คนดังกล่าวได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในนามพรรคอนาคตใหม่ และแน่นอนว่าเป้าหมายสำคัญของคุณเท่าภิภพในฐานะส.ส. คือ การผลักดันกฎหมายที่เปิดกว้างให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถผลิตเบียร์เพื่อจำหน่ายได้ ในวันนี้เอง (21 สิงหาคม 2019) คุณเท่าพิภพได้ในบทบาทของส.ส. ได้ตั้งกระทู้ถามสด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เรื่อง กฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ. 2560 ว่าด้วยการอนุญาตให้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์

ก่อนที่เข้าสู่ประเด็นสำคัญของบทความนี้ ว่าทำไมประเทศไทย จึงไม่ควรเปิดกว้าง ให้มีผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์รายย่อย เรามาทำความรู้จักกับคำว่า คราฟท์เบียร์ ซึ่งเป็นสินค้าที่สำคัญที่สุดในตลาดของผู้ผลิตเบียร์รายย่อย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นิยามคราฟท์เบียร์

คำว่าคราฟท์เบียร์ แปลความหมายตรงตัวคือ เบียร์ที่รังสรรค์ด้วยความประณีต พิถีพิถัน จะมีความแตกต่างชัดเจนกับเบียร์ทั่วไป คือ คราฟท์เบียร์คือเบียร์แฮนเมด ที่ผู้ผลิตอยากจะใส่อะไรก็แล้วแต่จินตนาการ ส่วนเบียร์ทั่วไปคืองานโรงงาน ที่ต้องใส่สารประกอบอื่น ๆ เพื่อลดต้นทุน และคุณภาพอาจไม่ประณีตบรรจงเท่า คราฟท์เบียร์ในต่างประเทศมีคำจำกัดความที่เฉพาะเจาะจงยิ่งกว่า เช่น ในเยอรมันซึ่งคนนิยมบริโภคคราฟท์เบียร์มากที่สุด คราฟท์เบียร์ในแต่ละท้องที่จะมีสูตรการผลิตแตกต่างกัน แม้จะมีส่วนผสมหลักคือ มอลต์ ดอกฮ็อบ และ น้ำ แต่มักมีการใส่วัตถุดิบท้องถิ่นของพื้นที่นั้น ๆ ผสมลงไปด้วย เช่น ผลไม้ ดอกไม้ กาแฟ ช็อกโกแลต

ในสหรัฐอเมริกาได้กำหนดกฎและนิยามของคราฟต์เบียร์อย่างเป็นทางการโดย Brewers Association ที่ระบุว่า
1) จะต้องเป็นโรงเบียร์ที่มีขนาดเล็ก
2) เจ้าของเป็นผู้ถือหุ้นมากกว่า 75% และ
3) ใช้วัตถุดิบที่เป็นธรรมชาติทั้งหมด ห้ามผสมวัตถุดิบสังเคราะห์กลิ่นหรือรสเพื่อลดต้นทุน ถ้าจะผสมแล้วต้องใช้เพื่อให้มีกลิ่นและรสชาติดีขึ้นเท่านั้น

จะเห็นได้ว่านิยามแตกต่างกันเล็กน้อย แต่เนื้อหาสาระคือ เป็นเบียร์ที่ผลิตโดยรายย่อย และ เน้นเรื่องรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์

การส่งเสริมให้มีผู้ผลิตและจำหน่ายรายย่อยไม่ได้แปลว่าดีในแง่เศรษฐศาสตร์

จากนิยามข้างต้น หากคิดเผิน ๆ ตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน การผลิตอะไรก็ตามที่เจ้าของเป็นรายย่อย ย่อมดีกว่าการให้ผู้ผลิตไม่กี่รายผูกขาดตลาดทั้งหมด และหากมีการผลิตสินค้าที่หลากหลายมากเท่าไหร่ การแข่งขันยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น เมื่อการแข่งขันสูง ผลประโยชน์สูงสุดก็จะตกอยู่กับผู้บริโภค นั้นคือประชาชนนั้นเอง

แต่ เมื่อเราพูดถึงสินค้าชนิดพิเศษอย่างแอลกอฮอล์ รายละเอียดยิบย่อยจะเพิ่มเข้ามาให้พิจารณาเพิ่มขึ้น เพราะการบริโภคเพิ่มขึ้นของแอลกอฮอล์ ไม่ได้ส่งผลให้มีเงินไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้นเท่านั้น แต่มันทำให้สังคมมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นด้วยจากการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแอลกอฮอล์ ดังนั้นสินค้าชนิดนี้จึงไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักการเศรษศาสตร์พื้นฐานที่ยกมา กำไรที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต และการเพิ่มขึ้นของการบริโภคสินค้าชนิดนี้มีผลกระทบที่เลวร้ายตามมาด้วย!

จากการประเมินผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ของประเทศที่เป็นตัวอย่างของการกระจายอำนาจการผลิตเบียร์ที่ดีที่สุดประเทศหนึ่งคือประเทศเยอรมัน ประเทศที่ได้รับฉายานามว่าเมืองเบียร์ เพราะทุกมุมเมืองมีโรงเบียร์ การดื่มเบียร์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวเยอรมัน และระบบการกระจายอำนาจแก่ผู้ผลิตรายเล็กที่ดี ทำให้ภายในประเทศมีโรงเบียร์มากถึง 1,300 แห่ง มีแบรนด์เบียร์มากถึง 5,000 แบรนด์ เฉพาะเบียร์อย่างเดียวมีการแบ่งประเภทไว้ถึง 40 ชนิด เรียกว่าเป็นประเทศที่มั่งคั่งสมบูรณ์ไปด้วยเบียร์ กระนั้นก็ตามรายได้ที่รัฐเรียกเก็บได้จากกิจการทั้งหลายนั้นมีมูลค่าเพียง 7.5% ของความสูญเสียทางเศรษรฐกิจที่เกิดขึ้นเท่านั้น (รัฐเก็บภาษีได้ 3,000 ล้านยูโร มูลค่าความสูญเสียต่อปีประมาณ 40,000 ล้านยูโร)

บทความโดย ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีนักวิชาการประจำศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 25
  • นฤนารถ
    ไม่เห็นมีส่วนที่วิเคราะห์ว่า การเปิดคราฟเบียร์ จะดีกับรายย่อย หรือจะกลายเป็นการเอื้อรายใหญ่ เลยนี่ครับ มีแต่ส่วนที่วิเคราะห์ว่า การขายเบียร์ มีส่วนของาุขภาพที่ต้องจ่ายด้วย ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับหัวข้อเลยครับ
    23 ส.ค. 2562 เวลา 12.33 น.
  • Otto
    ก็ชนชั้นนำเล่นผูกขาดตลาดผ่านกฏหมายมาเนิ่นนานนี่ครับ กดหัวรายย่อยไม่ให้เกิดด้วยกุศโลบายทางข้อกฏหมาย เค้าผลักดันให้เสรีน่ะถูกแล้ว ให้คนตัวเล็กตัวน้อยเค้าเกิดบ้าง ตลาดเบียร์ในไทยมีมูลค่าตลาดกว่า 2แสนล้านบาท ภาพชัดมั้ยทำไมชนชั้นปกครองและชนชั้นนำทางเศรษฐกิจไทยถึงไม่ยอมถอย!!!
    23 ส.ค. 2562 เวลา 12.57 น.
  • วนัส หนูน้อย
    อย่าทำเลยครับ ทำอะไรไม่ค่อยได้เมืองไทยคนดีทั้งนั้น ลิขสิทธิ์ปล่อยให้เป็นของต่างชาติให้หมด ประโยชน์จากกัญชา การทำเบียร์ทำไม่ได้ นำเข้ามาดีกว่าครับไม่สูญเสียมาก แค่เงินไหลออกนิดหน่อยเท่านั้น ของดีๆ มีแบรนด์ต้องของนอก รถเยอรมัน สินค้าอิตาลี่ เมืองไทยนี่ทำอะไรไม่ได้ นอกจากขายผักขายปลาฯลฯ
    23 ส.ค. 2562 เวลา 12.22 น.
  • แอลกอฮอล เป็นมิตรกับคนดี
    23 ส.ค. 2562 เวลา 11.55 น.
  • BOM
    ถ้ามันแย่มากก็ปิดโรงงานผลิตเบียร์รายใหญ่ด้วย เห็นว่าต้องผลิตกันเดือนละเป็นล้านลิตร แล้วของที่ผลิตออกมามันไปอยู่ใหน
    23 ส.ค. 2562 เวลา 12.15 น.
ดูทั้งหมด