โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

แนะนำ! วิทยาการคอมพิวเตอร์ อีกหนึ่งสาขาวิชาน่าเรียนทางด้านคอมพิวเตอร์

Campus Star

เผยแพร่ 30 เม.ย. 2561 เวลา 08.12 น.
แนะนำ! วิทยาการคอมพิวเตอร์ อีกหนึ่งสาขาวิชาน่าเรียนทางด้านคอมพิวเตอร์
วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาสาตร์คอมพิวเตอร์ (computer science) เป็นศาสตร์ที่เรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเครือข่าย

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาสาตร์คอมพิวเตอร์ (computer science) เป็นศาสตร์ที่เรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเครือข่าย

สาขาน่าเรียน วิทยาการคอมพิวเตอร์

ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งระดับนามธรรมหรือแนวคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน ฯลฯ ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และทฤษฎีเครือข่าย ฯลฯ

สำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็น 1 ใน 5 ศาสตร์ของสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิงเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิงเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจหรือระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ จะพาทุกคนมาดูกันว่าสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นเขาเรียนอะไรกันบ้าง มีมหาวิทยาลัยไหนเปิดสอนบ้าง และเรียนจบแล้วสามารถทำงานอะไรได้บ้าง…

วิทยาการคอมพิวเตอร์ เรียนอะไรบ้าง?

โดยสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ทั้งทางด้านโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ การทำงานภายในคอมพิวเตอร์ และรวมไปถึงการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งาน วิทยาการคอมพิวเตอร์จะช่วยทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงหลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น โดยเป็นการผสมผสานระหว่างศาสตร์ด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คณิตศาสตร์หลายแขนง เช่น ตรรกศาสตร์ สถิติ เรขาคณิต รวมถึงอัลกอริทึมและเทคนิคในการเขียนโปรแกรม ฯลฯ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ ได้ดังนี้

1. การเขียนโปรแกรมและซอฟต์แวร์

เป็นการเรียนรู้วิธีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมและซอฟต์แวร์ เช่น ภาษา Java, ภาษา PHP, MySQL เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นการเรียนรู้ถึงหลักการเขียนโปรแกรมหรืออัลกอริทึม เพื่อศึกษาว่ามีโครงสร้างอะไรบ้างที่นำมาใช้ในการเขียนโปรแกรม รวมทั้งศึกษาว่าภาษาที่ใช้ในการเขียนนั้นมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะตัวอย่างไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร นอกจากนี้ยังเรียนเกี่ยวกับหลักการออกแบบระบบขนาดใหญ่และวิธีการควบคุม/ดูแลระบบ อีกด้วย

2. โครงสร้างและการควบคุมคอมพิวเตอร์

เป็นการศึกษาว่าคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าอะไรบ้าง มีโครงสร้างหรือสถาปัตยกรรมเป็นแบบใด นอกจากนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และโปรแกรมขั้นพื้นฐานที่คอมพิวเตอร์ควรมีเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้งาน เรียกว่า “ระบบปฏิบัติการ” รวมทั้งศึกษาเกี่ยวกับวงจรคอมพิวเตอร์ที่ใช้เฉพาะงานด้วย เรียกว่า “ไมโครโปรเซสเซอร์” หรือที่ทุกคนรู้จักกันดีในชื่อ “หน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ (CPU)” นั่นเอง ทั้งนี้เรายังจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเข้ารหัสและการถอดรหัสเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการควบคุมดูแลความปลอดภัยของข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์

3. การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร

เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล โครงสร้าง และโปรโตคอลของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ รวมทั้งยังศึกษาเรื่องการนำคอมพิวเตอร์ไปให้บริการต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ

4. การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานด้านกราฟิก/มัลติมีเดีย

เป็นการศึกษาที่ประยุกต์เอาคณิตศาสตร์ไปผสานเข้ากับการออกแบบชิ้นงานรูปร่างต่างๆ หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “ซอฟต์แวร์เขียนแบบ CAD/CAM” นอกจากนี้ยังมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการในเรื่องของเสียงและภาพอีกด้วย

5. การนำเอาคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้อย่างชาญฉลาด

เป็นการศึกษาวิธีการสร้างระบบสารสนเทศที่มีความชาญฉลาดหรือปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน โดยเป็นการศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่มีแม่แบบมาจากมนุษย์หรือเป็นการเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบวิเคราะห์ภาพ/เสียง เป็นต้น

6. การคำนวณและการประยุกต์ใช้งานระดับสูง

เป็นการศึกษาถึงหลักการคำนวณของเครื่องคอมพิวเตอร์ และศึกษาวิธีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานระดับสูงที่มีความยากในการประยุกต์ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นด้านชีวภาพ ด้านมัลติมีเดียระดับสูง ฯลฯ

ตะลุยโจทย์ Function EP.1

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

5. มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์มัลติมีเดีย

7. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

8. มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

9. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรม

10. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

11. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะวิทยาการสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

12. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

13. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะวิทยาศาสตร์ วิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์

14. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

15. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

16. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

17. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คณะวิทยาศาสตร์ วิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ (บพิตรพิมุข มหาเมฆ)

18. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะวิทยาศาสตร์ วิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์

20. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

21. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ติวเข้ม ! แคลคูลัส Part 1

เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?

  1. ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ในบริษัทหรือองค์กรต่างๆ

  2. ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์

  3. ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมระบบงาน หรือที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์

  4. ผู้ออกแบบสร้างและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลซึ่งเป็นระบบสารสนเทศพื้นฐานในทุกองค์กร

  5. ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  6. ผู้ออกแบบและโปรแกรมคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ

  7. ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบกราฟิกหรืออะนิเมชั่น

  8. ผู้ประสานงานในโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์

  9. ผู้จัดการแผนก ส่วนหรือฝ่ายคอมพิวเตอร์หรือฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การ

  10. ผู้ให้คำปรึกษาด้านระบบคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศแก่องค์กรต่างๆ

  11. ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักลงทุนด้านระบบคอมพิวเตอร์

บทความที่น่าสนใจ

อ้างอิงข้อมูลจาก : http://rru-comsci.blogspot.comhttp://comscithai.blogspot.comวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Written by : Toey

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น