โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เผย10อันดับชนิดยา ที่คนไทยเข้าใช้บริการมากสุดในโรงพยาบาล

MATICHON ONLINE

อัพเดต 04 ก.ย 2562 เวลา 11.46 น. • เผยแพร่ 04 ก.ย 2562 เวลา 04.11 น.
พรบ ยา

นายประโยชน์ เพ็ญสุต รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์  เปิดเผยว่า  จากข้อมูลราคาซื้อและจำหน่ายยา ที่โรงพยาบาลเอกชนจัดส่งมายังกรม พบว่าประชาชนใช้บริการจากโรงพยาบาลเอกชนมากสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ1ยาพาราเซตามอล  เป็นยาที่ใช้ในการแก้ปวดหัว อันดับ2ยาแอสไพริน  เป็นยาแก้ปวดหัว อันดับ3ยาไอบูโพรเฟน  เป็นยาแก้ปวดหัว อันดับ4 ยาอ็อกซิซิลลิน  เป็นยารักษาโรคที่มีสาเหตุการติดเชื้อมาจากแบคทีเรีย เช่น การติดเชื้อเกี่ยวกับทางเดินหายใจ อันดับ5ยาโรอิโทรมัยซิน เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียการรักษาหวัดไวรัส อันดับ 6 ยานิซิลลิน เป็นยาปฎิชีวนะที่รักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย อันดับ7ยาไซเมทิโคน เป็นยาบรรเทาอาการท้องอืด,อันดับ8ยาคาร์วีดิลอล เป็นยาลดความดันโลหิต อันดับ9ยาไดออสเม็กไทต์ เป็นยารักษาอาการท้องเสีย เฉียบพลันและรุนแรง และ อันดับ10 ยาเมเฟนามิค เป็นยาเกี่ยวกับแก้ปวดประจำเดือน

“ที่เข้าไปรักษาในโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่มาตรวจอาการไข้ปวดหัว ตัวร้อน เป็นหวัด ติดเชื้อทางเดินหายใจ ท้องอืด ท้องเสีย และโรคความดัน ส่วนใหญ่ยาหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ทำให้กระทรวงพาณิชย์ขอให้โรงพยาบาลออกใบสั่งยาและใบแจ้งราคายากับผู้ป่วยล่วงหน้าเพื่อเป็นทางเลือกให้สามารถนำใบสั่งยาไปซื้อจากร้านขายยาทั่วไปได้” นายประโยชน์ กล่าว

นายประโยชน์ กล่าวว่า เพื่อรับเรื่องเรียนกรณีโรงพยาบาลเอกชนคิดค่ายาและค่ารักษาพยาบาลไม่เป็นธรรม หลังจากที่โรงพยาบาลเอกชนกว่า 300 แห่งได้ส่งข้อมูลราคาซื้อและขายยาตามกฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการแล้ว จึงได้เปิดศูนย์ “รับแจ้งความคดียา เวชภัณฑ์ และค่าบริการทางการแพทย์”เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พบว่าล่าสุดมีประชาชนร้องเรียนและสอบถามผ่านสายด่วน 1569 ประมาณ 100 ราย ส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อนจากกรณีที่ถูกโรงพยาบาลคิดค่ายาและค่ารักษาพยาบาลที่แพง พร้อมกันนี้มีประชาชนเข้ามายื่นหลักฐานเกี่ยวกับการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากโรงพยาบาลเอกชนมีกว่า 10 เรื่องและอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะฟ้องไม่ฟ้องประมาณ 8 เรื่อง

นายประโยชน์  กล่าวว่า ส่วนการตรวจสอบโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่ได้ส่งข้อมูลราคาซื้อขายยาจำนวน 48 โรงพยาบาลนั้น อยู่ระหว่างเชิญให้โรงพยาบาลมาชี้แจงซึ่งส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องของการสื่อสารไม่ตรงกัน รวมถึงมีโรงพยาบาลเลิกกิจการหรือเปลี่ยนจากกิจการโรงพยาบาลลดขนาดเหลือเป็นแค่คลินิก เป็นต้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0