โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ประโยชน์และสิทธิรักษาพยาบาล จากการ "บริจาคโลหิต"

Rabbit Finance

อัพเดต 30 ก.ย 2560 เวลา 22.06 น. • เผยแพร่ 30 ก.ย 2560 เวลา 22.00 น. • Rabbit Finance Blog
ประโยชน์และสิทธิรักษาพยาบาล จากการ
ประโยชน์และสิทธิรักษาพยาบาล จากการ “บริจาคโลหิต”

ประโยชน์ของการบริจาคโลหิต นั้นมีอยู่มากมาย นอกเหนือไปจากการได้ช่วยชีวิตคนที่ต้องการเลือด หรือความรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจจากการได้ทำสิ่งดีๆ แล้ว แต่ยังมีเรื่องที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนก็คือ ประโยชน์ที่ร่างกายของเราจะได้รับจากการบริจาคเลือดรวมถึงสิทธิในการรักษาพยาบาลสุดพิเศษสำหรับผู้ที่บริจาคโลหิตเป็นประจำตั้งแต่ 7 ครั้งขึ้นไป ที่ทางสภากาชาดไทยมอบให้เป็นของขวัญตอบแทนน้ำใจอีกด้วย

บริจาคโลหิต
บริจาคโลหิต

การบริจาคโลหิต ดีต่อร่างกายของเราอย่างไร?

ก่อนหน้านี้เราอาจมีความเชื่อที่ว่า การบริจาคเลือดจะทำให้ร่างกายของเราอ่อนแอลงจากการที่ต้องสูญเสียเลือดเป็นจำนวนมาก ต้องขอบอกเลยครับว่าเป็นความเชื่อที่ผิดอย่างสิ้นเชิง! เพราะในความเป็นจริงการบริจาคเลือดไม่ได้ทำให้เราอ่อนแอลงแต่อย่างใด แถมยังส่งผลให้เรามีสุขภาพที่ดี ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังนี้

  • **ได้ตรวจสุขภาพแบบฟรีๆ

เพราะเงื่อนไขในการบริจาคเลือดนั้นมีอยู่ไม่น้อย คุณจะต้องผ่านการตรวจสุขภาพอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการกรอกแบบสอบถามสุขภาพ การตรวจหาโรคประจำตัว รวมถึงการตรวจหาความผิดปกติของเลือดอย่างละเอียด โดยที่คุณไม่ต้องเสียเงินมากมายเหมือนโปรแกรมตรวจสุขภาพอื่นๆ

  • **กระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดที่ดี

บางคนเข้าใจผิดว่าการบริจาคเลือดทำให้ร่างกายอ่อนแอ แต่ในความเป็นจริงเลือดที่สูญเสียเป็นเพียง 7% ของเลือดในร่างกายเราเท่านั้น และผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นกับเราหลังบริจาคเลือด ก็คือการกระตุ้นการทำงานของไขกระดูกสันหลัง ให้สร้างเม็ดเลือดใหม่ขึ้นมาทดแทน ส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้นอย่างมากมาย

การบริจาคเลือดจะส่งผลให้เราหุ่นดี ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และยังช่วยให้หน้าใสขึ้นอีกด้วย

การบริจาคเลือดจะช่วยให้เราห่างไกลจากมาเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งชนิดอื่นๆ และยังเป็นการลดปริมาณธาตุเหล็กส่วนเกินในร่างกาย ที่เป็นปัจจัยการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันอีกด้วย

บริจาคโลหิต
บริจาคโลหิต

สิทธิรักษาพยาบาล ของผู้บริจาคโลหิตเป็นประจำ

ผู้บริจาคเลือดบางคนอาจยังไม่รู้ว่า สภากาชาดไทยได้มอบสิทธิการรักษาพยาบาลสุดพิเศษให้กับผู้ที่บริเลือดเป็นประจำ เพื่อเป็นการตอบแทนน้ำใจให้กับคนที่เห็นคุณค่าของชีวิตและพร้อมจะทำเพื่อคนอื่นอยู่เสมอ โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • ผู้ที่บริจาคโลหิตตั้งแต่ 7 ครั้งขึ้นไป

เมื่อมีอาการเจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลในสังกัดสภากาชาดไทย ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จะเสียค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญตามปกติ แต่จะได้รับความช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายถ้าหากอยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัด หรือผ่าคลอดบุตร จะเสียค่าใช้จ่ายเพียงกึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมด

  • ผู้ที่บริจาคโลหิตตั้งแต่ 24 **ครั้งขึ้นไป

เมื่อมีอาการเจ็บป่วยและได้เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลในสังกัดสภากาชาดไทย ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จะได้รับความช่วยเหลือมากกว่าผู้ที่บริจาคเลือด 7 ครั้ง คือการยกเว้นค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญ และถ้าหากได้อยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัด หรือผ่าตัดคลอดบุตร จะเสียค่าใช้จ่ายเพียงครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมด

บริจาคโลหิต
บริจาคโลหิต

จากที่ได้อ่านหลายคนคงสงสัยว่า หากมีผู้ที่บริจาคเลือดอยู่ทั่วประเทศ แต่โรงพยาบาลในสังกัดของสภากาชาดกลับมีอยู่ไม่กี่แห่งจะไปเพียงพอต่อการใช้สิทธิของทุกคนได้อย่างไร?

 

ต้องขอบอกเลยว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาอย่างแน่นอน เพราะทางสภากาชาดตระหนักถึงน้ำใจของคนไทยทั้งประเทศ และต้องการให้ผู้บริจาคเลือดทุกคนได้รับสิทธิดีๆ อย่างทั่วถึง จึงมีการเปิดโอกาสให้ผู้บริจาคเลือดทุกคน สามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่มีอยู่มากมายได้เช่นกัน โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • ผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 7 **ครั้งขึ้นไป

จะมีหนังสือรับรองจากสภากาชาดไทย ว่าได้บริจาคเลือดตั้งแต่ 7 ครั้งขึ้นไป สามารถอาศัยอำนาจกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลในสังกัดจะได้รับความช่วยเหลือเฉพาะค่าใช้จ่ายห้องพิเศษและอาหารพิเศษ โดยไม่เกินสิทธิอันพึงเบิกได้จากหน่วยงานต้นสังกัดก่อน ส่วนที่เกินสิทธิให้เรียกเก็บเพียงครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมด

  • ผู้ที่บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 **ครั้งขึ้นไป

จะมีหนังสือรับรองจากสภากาชาดไทย ว่าได้บริจาคเลือดตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป สามารถอาศัยอำนาจกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลในสังกัดจะได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ถ้าหากต้องอยู่ห้องพิเศษจะได้รับการช่วยเหลือค่าห้องและค่าอาหารพิเศษ โดยไม่เกินสิทธิอันพึงเบิกได้จากหน่วยงานต้นสังกัดก่อน ส่วนที่เกินสิทธิให้เรียกเก็บเพียงครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมด

แต่การจะใช้สิทธิรักษาพยาบาลของสภากาชาดก็ยังมีสิ่งที่ควรรู้อีกเล็กน้อย นั่นคือการที่ไม่สามรถใช้ร่วมกับสิทธิอย่างอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นประกันสังคม หรือข้าราชการ และยังต้องเป็นผู้ป่วยใน ที่ได้รับห้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลแล้วเท่านั้น

เรียกว่าเจ็บนิดป่วยหน่อยก็อย่างพึ่งรีบออกไปใช้สิทธิกันละ รอวันที่เราป่วยหนักขึ้นมาจริงๆ สิทธิเหล่านี้จะช่วยเหลือเราได้เป็นอย่างดีแน่นอน

หลังจากได้รู้ข้อดีของการบริจาคเลือดที่มีอยู่มากมาย ใครที่อดใจไม่ไหวอยากจะไปบริจาคเลือดซะเดี๋ยวนี้ ก็ขอให้ใจเย็นๆ ก่อนนะครับ เพราะก่อนที่จะบริจาคเลือดได้ เราควรสำรวจความพร้อมของตัวเองเสียก่อนว่ามั่นใจในสุขภาพของตัวเองมากแค่ไหน มีโรคร้ายแรงหรือความผิดปกติของร่างกายหรือเปล่า?

แต่ถ้าใครมั่นใจแล้วว่าตัวเองแข็งแรงดี เลือดลมสูบฉีดพร้อมเต็มที่แล้ว ก็ลุยโล้ด! เพราะมีคนมากมายที่กำลังต้องการเลือดของพวกเราอยู่!

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0