โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ธรรมlife EP39 #รักแบบไม่ครอบครอง ต้องทำอย่างไร

สวนโมกข์

เผยแพร่ 11 ก.พ. 2563 เวลา 23.05 น.

รายการธรรมlife โดยอ้อม สุนิสา สุขบุญสังข์

คำถาม รักแบบไม่ครอบครอง ต้องทำอย่างไร

คำตอบโดย พระราชพัชรมานิต (ชยสาโรภิกขุ) อาศรมชนะมาร จ.นครราชสีมา

ผ่านวันมาฆบูชาที่เป็นวันสำคัญของชาวพุทธไปแล้ว ทีนี้ก็ใกล้จะถึงวันที่คนเกือบทั่วโลกให้ความสำคัญ (ไม่ว่าจะศาสนาไหน) นั่นก็คือวันที่ 14 กุมภาพันธ์ หรือวันแห่งความรัก

หลายคนถือเอาวันนี้เป็นวันแสดงออกว่ารักชอบใคร หรือถือเป็นวันพิเศษที่จะให้ความสำคัญกับคนรัก แต่อ้อมว่าการเลือกแสดงออกวันไหนก็ไม่สำคัญเท่ากับความเข้าใจในความรัก เข้าใจในวิถีที่จะช่วยให้รักของเรามีคุณภาพในทุกๆ วัน สิ่งนั้นต่างหากที่จะช่วยให้ความรักของเรายั่งยืน

เหมือนคำถามวันนี้ว่า “รักแบบไม่ครอบครอง ต้องทำอย่างไร” ท่านชยสาโร เมตตาตอบคำถามไว้แบบนี้ค่ะ

เริ่มจากต้องเห็นความทุกข์ เห็นโทษในความรักแบบครองครอง แล้วต้องคุยกับผู้ที่เรารักด้วยว่า เขาต้องการอย่างนี้เหมือนกันไหม บางทีเราตั้งใจจะไม่รักแบบครอบครอง แต่เขาคิดครอบครองเราก็มี เพราะฉะนั้นต้องพูดคุยกัน ต้องเข้าใจกัน แล้วก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ที่อาตมาพูดบ่อยคือชีวิตคู่ เรื่องความรักไม่ใช่ประเด็นใหญ่ ประเด็นหลักคือ เราสามารถเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันและกันไหม เรื่องการเป็นเพื่อนที่ดีนั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้อยู่ด้วยกันได้นานเป็นสิบ ๆ ปี มีความสุข

ถ้าหากว่าทิฐิที่เสมอกัน มีความคิดความเห็น มุมมองคล้ายกัน สอดคล้องกันได้ ศีลเสมอกัน แล้วพยายามเป็นกัลยาณมิตรต่อกันและกัน เรื่องนี้ความรัก มันก็จะปรับตัวของมันเอง

ที่สำคัญคือ ถ้าผิดพลาดแล้วให้ตั้งต้นใหม่ เหมือนการนั่งสมาธิ เราไม่ใช่ว่าจะไม่เผลอ เผลอสติไปแล้วตั้งต้นใหม่ เผลอไปแล้วตั้งต้นใหม่ แล้วจะค่อย ๆ ฉลาดขึ้นเองในท้ายที่สุด

อย่าลืมนะคะ ถ้าคุณรู้สึกทุกข์หรือหนัก ๆ ในใจ ส่งความหนัก ความทุกข์ สิ่งสงสัยมาให้พวกเราได้ที่ www.bia.or.th/dhamlife อ้อมจะไปหาคำตอบจากพระอาจารย์มาให้ค่ะ อะไรที่อ้อมช่วยได้ อ้อมยินดีค่ะ

ติดตามข้อธรรมดี ๆ ได้ที่เพจเฟซบุ๊ก : หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ หรือ LINE @Suanmokkh_Bangkok

องค์คุณของกัลยาณมิตร, คุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้คือท่านที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=278

อ้างอิงจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) , พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0