โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

cooking-therapy สุขภาพใจดีขึ้นได้...จากในห้องครัว

Health Addict

อัพเดต 20 มี.ค. 2562 เวลา 07.02 น. • เผยแพร่ 19 มี.ค. 2562 เวลา 10.24 น. • Health Addict
การทำอาหาร ไม่ใช่แค่การอัพเลเวลเสน่ห์ปลายจวัก แต่ยังช่วยบำบัดความรู้สึกลบในใจให้กลับมาเป็นบวกอีกครั้ง เอ้า! กำลังนอยด์แบบนี้…หนีไปเข้าครัวกันดีกว่า
การทำอาหาร ไม่ใช่แค่การอัพเลเวลเสน่ห์ปลายจวัก แต่ยังช่วยบำบัดความรู้สึกลบในใจให้กลับมาเป็นบวกอีกครั้ง เอ้า! กำลังนอยด์แบบนี้…หนีไปเข้าครัวกันดีกว่า

อะไรๆ ก็ดูเหมือนไม่เป็นไปอย่างที่หวัง ตั้งมโนภาพไว้ยังไง…ก็กลับตาลปัตรพังลงไม่เป็นท่า ความผิดหวัง ความท้อ ความเหนื่อยล้าที่เจอกันอยู่ทุกวัน มันอาจจะบั่นทอนจิตใจกันบ้างเป็นเรื่องธรรมดา ทำให้หลายคนเลือกที่จะหันหน้าไปเข้าวัดเข้าวาหาความสงบเพื่อบำบัดบ้าง แต่วันนี้เรามีอีกหนึ่งทางเลือกคือการเดินเข้าครัวไปทำอาหาร ใช่แล้ว! เรากำลังจะบอกว่า การเข้าครัวมันช่วยทำให้เรารู้สึกดีขึ้นได้ เผลอๆ อาจทำให้ feel good เหมือนเพิ่งไปฝึกเดินจงกรมมาเลยล่ะ!
ฝีกสมาธิ ช่วยให้ใจเจอความสงบ
เทคนิคนี้…ต่อให้ไม่อ้างอิงถึงผลการศึกษา ก็เชื่อได้ว่า “มนุษย์ก้นครัว” เข้าใจดี เพราะการทำอาหารก็เหมือนกับการทำงานศิลปะอย่างนึงนั่นแหละ คุณลองจินตนาการภาพตามนะ! กว่าจะเป็นอาหารสักจาน ต้องใช้ความประณีตในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกสรรวัตถุดิบ การจับมีดสไลด์ผัก หั่นเนื้อสัตว์ แม้แต่ลีลาการสะบัดกระทะ ควงตะหลิว หรือท่าโรยเกลือในตำนาน รวมไปถึงการครีเอทเมนูแปลกใหม่ หรือการจัดจานให้ดูสวยงามน่ากิน ทุกองค์ประกอบเหล่านี้นี่ล่ะ! ที่ทำให้เรามีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งตรงหน้า…จนลืมโมเมนต์พร่ำเพ้อถึงเรื่องแย่ๆ ที่กดอารมณ์ของเราให้จมดิ่งเมื่อไม่กี่นาทีก่อน 
ยิ่งช่วยกันหลายๆ คน…ยิ่งดีต่อใจ
อ่ะ! แต่ถ้ากำลังคิดว่า…นี่เป็นข้ออ้างของคนรักการทำอาหารล่ะก็ ขอบอกว่าทางฝั่งประเทศตะวันตกเค้าใช้หลักการนี้ในการบำบัดจิตใจทั้งในคนไข้ที่มีความเครียดรุนแรงหรือแม้แต่ในคนไข้โรคซึมเศร้า เหมือนกับที่ Dr.Norman Sussman นักจิตวิทยาคลินิกจาก New York University ได้บอกไว้ว่า การบำบัดอารมณ์ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยการทำอาหารนั้น…ใช้หลักการคล้ายกับการออกกำลังกาย เพราะผู้ป่วยได้ออกแรง ได้เคลื่อนไหวตลอดเวลา ได้รู้สึกสนุกกับการจัดเตรียมอาหาร และหลักการนี้จะยิ่งเวิร์คแบบคูณสองไปอีก หากคนในครอบครัวของผู้ป่วยเข้าครัวมาเป็นผู้ช่วยเชฟ…กระชับความสัมพันธ์ที่ดูเปราะบางให้แนบแน่น และไม่ลืมที่จะเอ่ยปากชมว่า “อาหารฝีมือของเค้านั้นอร่อยล้ำไม่แพ้ใคร”   
ถ้าการเข้าครัวลงมือปรุงอาหาร…คือสิ่งสุดท้ายที่คุณจะนึกถึง ลองรีรันความคิดดูใหม่ก็ไม่เสียหายนะ! เพราะไม่ใช่แค่ช่วยบูสท์อารมณ์ขุ่นมัวให้กลับมาสดใส แต่การที่คุณได้เลือกสรรเฉพาะวัตถุดิบดีๆ ที่มีประโยชน์ให้กับตัวเองในแต่ละมื้อ…ก็เป็นอีกวิธีในการเทคแคร์สุขภาพร่างกายที่ดีไม่น้อยเลย 
 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0