โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

Work from Home ทำคนเนือยนิ่งยิ่งเสี่ยง 5 อาการร้ายทำลายสุขภาพ

PostToday

อัพเดต 13 ก.ค. 2563 เวลา 07.35 น. • เผยแพร่ 13 ก.ค. 2563 เวลา 07.40 น. • webmaster@posttoday.com
Work from Home ทำคนเนือยนิ่งยิ่งเสี่ยง 5 อาการร้ายทำลายสุขภาพ
Work from Home ทำคนเนือยนิ่งยิ่งเสี่ยง 5 อาการร้ายทำลายสุขภาพ
Work from Home ทำคนเนือยนิ่งยิ่งเสี่ยง 5 อาการร้ายทำลายสุขภาพ
Work from Home ทำคนเนือยนิ่งยิ่งเสี่ยง 5 อาการร้ายทำลายสุขภาพ
Work from Home ทำคนเนือยนิ่งยิ่งเสี่ยง 5 อาการร้ายทำลายสุขภาพ
Work from Home ทำคนเนือยนิ่งยิ่งเสี่ยง 5 อาการร้ายทำลายสุขภาพ
Work from Home ทำคนเนือยนิ่งยิ่งเสี่ยง 5 อาการร้ายทำลายสุขภาพ
Work from Home ทำคนเนือยนิ่งยิ่งเสี่ยง 5 อาการร้ายทำลายสุขภาพ
Work from Home ทำคนเนือยนิ่งยิ่งเสี่ยง 5 อาการร้ายทำลายสุขภาพ
Work from Home ทำคนเนือยนิ่งยิ่งเสี่ยง 5 อาการร้ายทำลายสุขภาพ
Work from Home ทำคนเนือยนิ่งยิ่งเสี่ยง 5 อาการร้ายทำลายสุขภาพ
Work from Home ทำคนเนือยนิ่งยิ่งเสี่ยง 5 อาการร้ายทำลายสุขภาพ

การทำงานอยู่ที่บ้าน (Work from Home) ทำให้หลายคนจ้องหน้าจอนั่งๆ นอนๆ ทำตัวตามสบาย เคลื่อนไหวน้อย หนึ่งวันคงเดินได้ไม่กี่ก้าว สภาพนี้เรียกกันว่า Inactivity หรือภาวะขี้เกียจไม่เคลื่อนไหว กลายเป็นพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary behavior) ซึ่งหากเทียบวัดพลังงาน-อัตราการเผาผลาญในร่างกายที่เกิดขึ้นจะน้อยมาก ซึ่งเรียกว่า ค่า MET (Metabolic Equivalent of task) โดยหากค่านี้น้อยกว่า 1.5 MET ก็คือพฤติกรรมเนือยนิ่ง

เพ็ญพิชชากร แสนคำ นักกายภาพบำบัดจากคลินิกกายภาพบำบัดอริยะ ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) อธิบายความหมายเพิ่มเติมของค่า MET ว่า ค่า MET คือการใช้พลังงานในการทำกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) เปรียบเทียบกับการใช้พลังงานขณะนั่งนิ่งๆ ซึ่งภาวะนี้ เมื่อสะสมนานจะทำให้ร่างกายทุกระบบย่ำแย่ เนื่องจากร่างกายต้องการการเคลื่อนไหว การขยับทำให้กล้ามเนื้อได้ทำงาน เพื่อให้เกิดการไหลเวียน และเป็นการกระตุ้นทุกระบบ ทั้งเลือด น้ำเหลือง ระบบเส้นประสาท และการทำงานของอวัยวะภายในให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับผลเสียต่อร่างกายที่เกิดจากพฤติกรรมเนือยนิ่ง 5 อาการฮิต ได้แก่

เยื่อหุ้มกล้ามเนื้อคออักเสบเรื้อรัง (Myofascial Pain Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อย จากการอยู่ในท่าก้มคอมากกว่าปกติ เช่น ท่านั่ง ทำงานนานๆ หลังค่อม ไหล่ห่อ คองุ้ม จะทำให้กล้ามเนื้อตรงก้านคอ หรือตรงฐานกระโหลกศีรษะเกร็งตัวมาก และเรื้อรังจนทำให้มักมีอาการปวดร้าว เข้ากระบอกตา ปวดร้าวขึ้นหัว มึนหัว บางเคสอาการคล้ายๆ ไมเกรน แต่ตึงๆ มึนทั้งหัวไม่สดชื่น

ปวดหลัง/กล้ามเนื้ออักเสบ (Low Back Pain/Muscle Strain) เมื่อนั่งนานและนั่งในท่าที่ผิด เสมือนกล้ามเนื้อทำงานมากขึ้นหลายเท่า เป็นธรรมดาที่จะต้องมีอาการปวดเกร็งขึ้นมา และยิ่งนั่งแบบเดิมๆ ต่อเนื่องกันหลายวันยิ่งเพิ่มความเรื้อรัง ปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบธรรมดาก็อาจเป็นเหตุให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน (Herniated Nucleus Pulposus) ได้ด้วย เพราะเวลานั่งคงนั่งหลังค่อม มีโอกาสให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนได้ง่าย

ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย (Indigestion หรือ Dyspepsia) โรคนี้อาจไม่คิดว่าจะเกิดจาก WFH ซึ่งเมื่อทำงานที่บ้าน ทำให้เราทำตัวตามสบาย อาจรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา รับประทานเสร็จแล้วก็นั่งทำงานเลย โดยไม่ได้ขยับตัว ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ ทำให้การหลั่งน้ำย่อย และการบีบตัวของกระเพาะอาหารลดลง ประสิทธิภาพการย่อยลดลง เกิดลมคั่งในช่องท้อง ทำให้ท้องอืด อาหารไม่ย่อยได้

ท้องผูก (Constipation) โดยปกติลำไส้คนเราจะบีบตัวได้ดี เมื่อร่างกายเรามีการเคลื่อนไหวมีการขยับเขยื้อน WFH ทำให้เราเคลื่อนไหวน้อย การทำงาน หรือการบีบตัวของลำไส้ลดลง หรือบางเคสอาจไม่เคลื่อนเลย ผลจากการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย และไขมันที่พอกพูนมากขึ้นในช่องท้อง สาเหตุดังกล่าวทำให้ลำไส้บีบตัวน้อยลง กากใยอาหารคั่งค้างนิ่งๆ ในลำไส้ จนกลายเป็นท้องผูกได้

โรคอ้วน (Obesity) หลายคนเจอปัญหานี้โดยเลี่ยงไม่ได้เลย ช่วง 3 เดือนที่ WFH ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว การไม่เคลื่อนไหว กินๆ นอนๆ อยู่กับบ้าน เดินกันไม่กี่ก้าว มีผลทำให้อัตราการเผาผลาญของร่างกายลดลง บวกกับการนั่งๆ นอนๆ นี้ใช้พลังงานน้อยมาก จึงทำให้อาหารที่รับประทานเข้าไปถูกดึงไปพอกพูนในรูปแบบของไขมันจนกลายเป็นโรคอ้วน ซึ่งโรคนี้เป็นเหตุให้เป็นโรคร้ายๆ อื่นตามมามากมายเลยไม่ว่าจะเป็นโรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง รุนแรงเข้าก็อาจเป็นเหตุให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในสมอง หรือเป็นสาเหตุของหัวใจวายได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0