โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

WWF ค้นพบ "สิ่งมีชีวิตน้องใหม่" 3 ชนิด 39 สายพันธุ์ในลุ่มนำโขง

Khaosod

อัพเดต 17 ธ.ค. 2561 เวลา 09.33 น. • เผยแพร่ 17 ธ.ค. 2561 เวลา 09.33 น.
สัตว์พันธุ์ใหม่
WWFค้นพบสัตว์ชนิดใหม่

WWF ค้นพบ “สิ่งมีชีวิตน้องใหม่” 3 ชนิด 39 สายพันธุ์ในลุ่มนำโขง

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. นายสจ๊วต แชปแมน ผู้อำนวยการสายงานอนุรักษ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) เปิดเผยว่า WWF ส่งนักวิจัย ศึกษาเก็บข้อมูลสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงประจำปี 2560 โดยในรายงานฉบับล่าสุด มีชีวิตที่ถูกค้นพบใหม่ ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง แบ่งได้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 3 สายพันธุ์ ปลา 23 สายพันธุ์ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 14 ชนิดพันธุ์ สัตว์เลื้อยคลาน 26 ชนิดพันธุ์ และพืช 91 ชนิดพันธุ์

จาก 5 ประเทศภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และ ไทย จากหลายพื้นที่ตั้งแต่ป่าเขา แม่น้ำ จนถึงทุ่งหญ้า

ผู้อำนวยการสายงานอนุรักษ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก WWF กล่าวว่า นักวิจัยค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ๆ ถึง 3 ชนิด 39 สายพันธุ์ ต่อสัปดาห์ ซึ่ง 39 สายพันธุ์เหล่านี้ ค้นพบใน เมียรมาร์ และมีการคาดการณ์ว่า ในอนาคตอาจมีการค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ๆ เพิ่มเติมได้อีก

ขณะที่มีการค้นพบอื่นๆ ได้แก่ การค้นพบ 58 สายพันธุ์ใหม่ใน เวียดนาม และ 35 สายพันธุ์ในประเทศไทย 24 สายพันธุ์ใน ลาว และ 8 สายพันธุ์ใน กัมพูชา

“สัตว์และพืชสายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบ ได้แก่ ค้างคาว ที่มีขนคล้ายกับทรงผมของแลนซ์ เบสส์ นักร้องวงบอยแบนด์ NSYNC ค้นพบในป่าฮักกาบู แถบเทือกเขาหิมาลัย บริเวณประเทศเมียร์มาร์ปลาบึก มีลักษณะที่เหมือนแพนเค้ก อาศัยอยู่ในแหล่งกระแสน้ำเย็นที่ไหลเชี่ยว ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

ฮอร์ปกาน ราสิ ต้นไผ่ บริเวณภูเขาการ์ดามัม ใน กัมพูชา มีลักษณะลำต้นคล้ายหลอดไฟ คากคกขนาดเล็ก และมีเขาเล็กๆปลายแหลม

จิ้งจกดิน พบบริเวณเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย ซึ่งมี 2 สายพันธุ์ที่แตกต่างกันที่ลวดลาย จะเห็นได้ชัด ตั้งแต่ด้านหน้าของลำตัวจรดถึงหาง

งูสายรุ้ง ที่อาศัยบริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวินของประเทศเมียรมาร์ ซึ่งถูกคุกคามจากพัฒนาที่อยู่อาศัยของมนุษย์ และการขยายพื้นที่การเกษตรชะนีสกายวอล์คเกอร์ ปัจจุบัน เป็นสัตว์ที่ถูกจัดให้เป็นสิ่งมีชีวิต 25 ลำดับแรกของโลกที่ใกล้สูญพันธุ์”นายสจ๊วต กล่าว

รายงานแห่งสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติLiving Planet Index ล่าสุดจาก WWF ระบุว่า ประชากรสัตว์ป่าทั่วโลกลดลงเฉลี่ยกว่า 60% ใน 40 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่การลดลงของจำนวนประชากรในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกลับเลวร้ายยิ่งกว่า จากการแหล่งที่อยู่อาศัยในเขตป่าที่ถูกทำลาย รวมถึงการล่าสัตว์ในในหลายพื้นที่ของภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่มีอยู่จำกัด ทำให้ไม่สามารถคาดคะเนจำนวนประชากรสัตว์ป่าที่ลดลงอย่างชัดเจนในระดับภูมิภาคได้ ในขณะที่การสร้างถนน ทางรถไฟ รวมถึงเขื่อนก็ให้ผู้ล่าสัตว์ป่าสามารถเข้าถึงการล่าได้ง่ายขึ้น

ขณะที่ ตลาดบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย เมียรมาร์ ลาว และ จีน ยังคงมีการซื้อขายสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ กันจำนวนมาก

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่

เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0