โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

WATS Forum 2019: ปลุกกระแส Well-being เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

ADVERTORIAL

เผยแพร่ 17 มิ.ย. 2562 เวลา 17.00 น. • WATS Forum 2019: ปลุกกระแส Well-being เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนหรือ RISC โดยการสนับสนุนจากบริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) จัดงานเสวนาระดับนานาชาติ WATS FORUM 2019 เพื่อสร้างความเข้าใจ และส่งเสริมการพัฒนาแนวความคิดและนวัตกรรมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของทุกสรรพสิ่งบนโลก หรือ For All Well-being โดยได้เชิญผู้ทรงความรู้ระดับโลกจากสาขาต่าง ๆ 4 ท่าน มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและวิสัยทัศน์ในด้านความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) สถาปัตยกรรม (Architecture) เทคโนโลยี (Technology) และความยั่งยืน (Sustainability)

รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) กล่าวถึงจุดประสงค์ในการจัดงานว่า “RISC ต้องการผลักดันกระแสการสร้างความเป็นอยู่ที่ดี หรือ Well-being เพราะเราเชื่อว่า อนาคตที่สวยงามและยั่งยืนอย่างแท้จริงจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทุกภาคส่วนร่วมกันแบ่งปันความรู้ความเชี่ยวชาญ เราจึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายมาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง โดยหวังว่าทุกท่านที่มาร่วมงานจะได้รับความรู้และแรงบันดาลใจในการค้นหาแนวทางที่จะนำความรู้ความสามารถของตนมาสร้างความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน”

ผู้ทรงความรู้ท่านแรกคือ มร. เชอริง ต๊อบเกย์ อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศภูฏาน ซึ่งได้แบ่งปันเรื่องราวความสำเร็จของประเทศในการพัฒนาแบบองค์รวม “ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) สำคัญก็จริง แต่สำหรับภูฏาน ความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness: GNH) สำคัญกว่า” มร. เชอริง ต๊อบเกย์ กล่าว “กว่า 400 ปีที่แล้ว กษัตริย์องค์หนึ่งของเราเคยกล่าวไว้ว่า ‘หากรัฐบาลไม่สามารถทำให้ประชาชนมีความสุขได้ รัฐบาลนั้นก็ไม่สมควรดำรงอยู่อีกต่อไป’ คำพูดนี้กลายมาเป็นแนวทางที่เราใช้ในการพัฒนาประเทศแบบองค์รวม คือพัฒนาเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาสังคม พัฒนาคน และสิ่งแวดล้อม เพราะความสุขนั้นไม่ใช่เพียงสิ่งที่แต่ละคนแสวงหา แต่ควรเป็นสิ่งที่รัฐส่งเสริมด้วย”

รศ. ดร. ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ วิศวกร และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมหิดล คือผู้ทรงคุณวุฒิอีกท่านที่ค้นพบแนวทางในการสร้างความสุขของทั้งตนเองและผู้อื่น จากการนำความรู้ด้าน Brain-Computer Interface มาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทุพพลภาพและผู้ป่วยอัมพาต โดยการประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สามารถสั่งงานผ่านคลื่นสมองให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง “หากเราตาบอด สิ่งที่เราต้องการก็คือความสามารถในการมองเห็นอีกครั้ง และหากเราเป็นอัมพาต ไม่สามารถขยับร่างกายได้เลย สิ่งที่เราต้องการที่สุดก็คือความสามารถในการเคลื่อนไหว ทำงาน และทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่น ซึ่งเป็นการคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับพวกเขา”

อีกหนึ่งเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน คือผลงานการวิจัยของศาสตราจารย์ ไมเคิล สตีเวน สตราโน นักวิศวเคมีจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการสร้างความสามารถใหม่ให้กับพืชเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ของมนุษยชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งผลงานที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดของเขาก็คือ “พืชเรืองแสง” ที่สามารถให้แสงสว่างได้นานถึง 4 ชั่วโมง โดยเขาหวังว่าจะสามารถพัฒนาให้พืชสามารถส่องแสงสว่างได้ยาวนานขึ้นจนนำมาใช้แทนโคมไฟอ่านหนังสือหรือเสาไฟตามท้องถนนได้ และยังสามารถเป็นแหล่งพลังงานสำรองหากเกิดเหตุฉุกเฉิน “หากเราประสบความสำเร็จในการสร้างความสามารถต่าง ๆ ให้กับพืช ในอนาคตเราอาจจะไม่จำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานไฟฟ้ามาก เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ทำให้ไฟฟ้าใช้การไม่ได้ เราก็ยังสามารถอาศัยแสงสว่างจากต้นไม้ที่อยู่รอบตัวเราได้”

ในด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับประชากรในเมืองใหญ่ มร. สเตฟาน เดอ โคนิง สถาปนิกชาวดัตช์ที่มากด้วยฝีมือและความสามารถจาก MVRDV ได้แสดงความเห็นว่า “ปัญหาต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร เป็นปัญหาที่เมืองใหญ่ทั่วโลกล้วนพบเจอ เนื่องจากเมืองเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงมีประชากรอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น และเกิดความเหลื่อมล้ำ สิ่งที่ตามมาคือปัญหามลพิษ การจราจรหน่าแน่น และน้ำท่วมขัง ในมุมมองของสถาปนิกและนักพัฒนาที่ดิน สิ่งที่เราทำได้คือการสร้างพื้นที่สำหรับทุกฝ่าย และวางแผนอย่างครอบคลุม เข้าใจถึงบริบทสังคม และภูมิประเทศในแต่ละพื้นที่ เพราะแม้ปัญหาจะใกล้เคียงกัน แต่แน่นอนว่าย่อมไม่มีที่ใดที่เหมือนกัน”

รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต กล่าวเสริมว่า “ทุกวันนี้เราให้ความสนใจกับตัวเอง กับความต้องการมนุษย์มากเกินไป จนลืมดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัว เราจึงควรหันมาสนใจการออกแบบเพื่อสังคมโดยรวม มากกว่าออกแบบเพื่อความสะดวกสบายของมนุษย์เท่านั้น”

และเพื่อตอกย้ำจุดยืนและความมุ่งมั่นขององค์กร RISC มีความตั้งใจในการจัดงานเสวนา WATS Forum เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิด แบ่งปันความรู้ และสร้างเครือข่ายคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถและสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างอนาคตที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถรับชมการเสวนา WATS Forum 2019 ฉบับเต็มได้ที่

RISC introduction 

Keynote speakers

Panel Discussion “Well-being Today and Tomorrow” 

0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0