โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

Toyota อวดโฉมยานยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์อำนวยความสะดวก พร้อมใช้งานจริงโอลิมปิก 2020

THE STANDARD

อัพเดต 22 ก.ค. 2562 เวลา 07.42 น. • เผยแพร่ 22 ก.ค. 2562 เวลา 07.42 น. • thestandard.co
Toyota อวดโฉมยานยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์อำนวยความสะดวก พร้อมใช้งานจริงโอลิมปิก 2020
Toyota อวดโฉมยานยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์อำนวยความสะดวก พร้อมใช้งานจริงโอลิมปิก 2020

โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน (Toyota Motor Corporation) ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ประกาศแผนเตรียมนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทางบริษัทพัฒนาขึ้น ทั้งยานยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์อำนวยความสะดวกต่างๆ ฯลฯ มาใช้งานจริงในมหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก 2020 ที่ญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในช่วงกรกฎาคมถึงกันยายนปีหน้า 

 

เริ่มต้นตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม ที่โตโยต้าได้เปิดตัว APM ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าขนาดกะทัดรัดที่เน้นวิ่งในระยะทางสั้นๆ สามารถวิ่งได้สูงสุดถึง 100 กิโลเมตรต่อการชาร์จไฟ 1 ครั้ง อัตราเร่งสูงสุดอยู่ที่ 19 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถูกออกแบบมาให้รองรับผู้โดยสารที่ต้องใช้รถวีลแชร์ได้ด้วย โดยโตโยต้าพร้อมจะนำมาวิ่งใช้งานจริงกว่า 200 คัน

 

แนวคิดหลักๆ ของโตโยต้าในการพัฒนา APM คือเพื่ออำนวยความสะดวกเหล่านักกีฬา, ทีมงานสตาฟฟ์โค้ช หรือผู้เข้าชมการแข่งขันกีฬาที่ต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ผู้พิการ, ผู้สูงอายุ, สตรีมีครรภ์ และครอบครัวที่มีเด็กเล็กให้สามารถเดินทางสัญจรเข้าถึงสถานที่ต่างๆ บริเวณการจัดการแข่งขัน รวมถึงหมู่บ้านนักกีฬา

 

ขณะที่เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา โตโยต้าก็เพิ่งจะเปิดตัวนวัตกรรมหุ่นยนต์อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ที่พวกเขาพัฒนาขึ้นมาพร้อมกันสูงสุดถึง 5 โมเดล ประกอบด้วย

1. หุ่นยนต์มาสคอตมิไรโทวะ: หุ่นยนต์ต้อนรับผู้เข้าชมเกมการแข่งขันในแต่ละสนามกีฬา ที่สามารถแสดงออกทางสีหน้าท่าทางและการขยับเขยื้อนตอบโต้กับมนุษย์ผ่านการประมวลผลจากกล้องที่อยู่บนศีรษะ หวังเอาใจเด็กๆ โดยเฉพาะ

2. หุ่นยนต์​ T-HR3: หุ่นยนต์ฮิวมานอยด์ที่มีหน้าที่คล้ายกับหุ่นยนต์มิไรโทวะ แต่เน้นไปที่การสร้างปฏิสัมพันธ์ผ่านท่าทางและการแสดงออกกับนักกีฬาเป็นหลัก เช่น การไฮไฟว์แท็กมือกับนักกีฬา เป็นต้น

3. หุ่นยนต์ T-TR1: หุ่นยนต์ที่ช่วยให้ผู้ที่ไม่สามารถเดินทางไปชมเกมการแข่งขันกีฬาในบางสนาม สามารถชมผ่านหน้าจอจากตัวเครื่องได้เพื่อสร้างความรู้สึกเสมือนจริงประหนึ่งว่าเข้าไปนั่งชมเกมในสนามนั้นๆ ด้วย

4. หุ่นยนต์ HSR และ DSR: หุ่นยนต์ช่วยเหลือมนุษย์ (HSR) บอกทางและให้ข้อมูลที่นั่งในสนามกับผู้เข้าชมเกมกีฬาการแข่งขัน และหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร-เครื่องดื่มและสินค้าอื่นๆ (DSR)

5. หุ่นยนต์ FSR: หุ่นยนต์เพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่เกมการแข่งขันกีฬาประเภท ‘พุ่งแหลน’ โดยเฉพาะ เพื่อลดการใช้เจ้าหน้าที่มนุษย์และลดทอนการสูญเสียเวลาที่ไม่จำเป็น

 

โนบุฮิโกะ โคกะ (Nobuhiko Koga) หัวหน้าเจ้าหน้าที่แผนกวิจัยของโตโยต้า ฟรอนเทียร์ กล่าวว่า “ที่โตโยต้า เราใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์การใช้งานที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ของมนุษย์ ปัจจุบันเราได้ทรานส์ฟอร์มตัวเองสู่การเป็นบริษัทด้านการคมนาคมการเดินทางอย่างเต็มรูปแบบ และยังได้เปิดแผนกพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อช่วยให้มนุษย์มีอิสระในการเคลื่อนไหวหรือทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น

 

“แนวคิด ‘Mobility for all’ จึงไม่ใช่แค่การเดินทางที่จับต้องได้ของผู้คนทั่วไปเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงการเดินทางแบบจำลองด้วยเพื่อช่วยให้ผู้คนมีโอกาสได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ พบและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างไร้ข้อจำกัด”

 

จะเห็นได้ว่าความตั้งใจของโตโยต้าที่ทยอยเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ๆ ในครั้งนี้อย่างต่อเนื่องไม่ใช่แค่การพัฒนานวัตกรรมด้านยานยนต์ไฟฟ้าที่ล้ำสมัยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการผลิตหุ่นยนต์ต่างๆ ออกมาใช้งานเพื่อยกระดับ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์และหุ่นยนต์ผ่านเคสการใช้งานจริงในมหกรรมการแข่งขันกีฬาที่จะมีผู้คนเดินทางมาจากทั่วโลกอีกด้วย

 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0