โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

TMB-T1 ขาย หรือ ใช้สิทธิ ดี?

Businesstoday

เผยแพร่ 16 ต.ค. 2562 เวลา 06.24 น. • Businesstoday
TMB-T1 ขาย หรือ ใช้สิทธิ ดี?

คำถามสำหรับคนที่ได้ “TMB-T1” มาในตอนนี้  คงวนเวียนอยู่ในหัวว่า “จะขาย หรือ จะใช้สิทธิดี” คงเป็นเรื่องที่คิดไม่ตกสำหรับใครหลายคน  ใจหนึ่งก็อยากขายเอาเงินออกมา  เพราะเหมือนได้เงินมาแบบฟรีๆ อีกใจหนึ่งก็อยากได้หุ้นมาเก็บไว้  รอรับปันผลด้วย  สำหรับใครที่มีคำถามนี้วนอยู่ในหัว ลองค่อยๆ ตั้งสติ  แล้วคิดตามกันไป

TMB-T1 คืออะไร

“TMB-T1” คือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (TSR-Transferable Subscription Right) ที่ทาง TMB จัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือครองหุ้น  โดยจัดสรรให้ที่ 1.444533 หุ้นเดิม ต่อ TMB-T1 จำนวน 1 หน่วย

ธนาคารทหารไทย
จำกัด(มหาชน) หรือ
TMB แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ
ว่า ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ชุดที่ 1 หรือ TMB-T1 หรือ TSR จำนวน 30,355.99
ล้านหน่วย ที่จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของธนาคาร
จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ในวันที่ 15-24
ต.ค.2562 โดยกำหนดวันขึ้นเครื่องหมายพักการซื้อขาย 
และวันที่ใช้สิทธิ ในวันที่ 25 ต.ค. 
ส่วนวันชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนตามความจำนงในการใช้สิทธิในวันที่ 8-22
พ.ย.

TMB-T1 มีอายุ 55 วันนับจากวันที่ออก ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 26 พ.ย. ซึ่งกำหนดอัตราการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน 1 หน่วยต่อ 1 หุ้นเพิ่มทุน กำหนดราคาใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของใบแสดงสิทธิที่ 1.40 บาทต่อหุ้น

อ่านแล้วอาจจะดูงงๆ แต่สรุปง่ายๆ คือ TMB จะออกหุ้นเพิ่มทุน  โดยจัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิม  ผ่านการออก TMB-T1  แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะได้กี่หน่วย  ก็เอาสัดส่วนที่เขาจัดสรร 1.444533 หุ้นเดิม ต่อ TMB-T1 จำนวน 1 หน่วย  นั่นแปลว่าถ้าคุณมีหุ้น TMB 10,000 หุ้น ก็เอา 1.444533 หาร  ก็เท่ากับว่าคุณจะได้รับการจัดสรร TMB-T1 ที่ 6,922 หน่วย

ได้ TMB-T1 มาแล้วต้องทำอย่างไรดี

สำหรับใครที่ได้รับการจัดสรรมาแล้ว คุณจะมีทางเลือกอยู่ 3 ทาง คือ  ทางแรกคือใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน  ทางที่สองคือขายในตลาด  ทางสุดท้ายคืออยู่เฉยๆ ไม่ใช้สิทธิและไม่ขายให้ใคร

ทางเลือกแรก
สำหรับคนที่ต้องการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน
  ก็เพียงถือ TMB-T1 เอาไว้  แล้วรอเวลาช่วง 8-22
พ.ย.62 ก็ค่อยใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ราคา 1.40 บาท/หุ้น  เช่น 
ถ้าคุณมีหุ้น TMB 10,000 หุ้น  ได้รับจัดสรร TMB-T1 มา
6,922 หน่วย  หากต้องการใช้สิทธิ์ก็เท่ากับว่าต้องชำระเงิน
6,922 x 1.40 = 9,691 บาท 
คุณก็จะได้หุ้น TMB มา 6,922 หุ้น  ช่วงต้น ธ.ค.

ซึ่ง TMB
จะมีการจ่ายปันผลที่ 0.03 บาท / หุ้น  โดยจะขึ้น XD ในวันที่ 29
พ.ย. 62  ซึ่งหุ้นที่ใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนมาก็จะได้รับปันผลด้วย  ซึ่งหากมองในอีกมุมปันผลที่ได้มาก็เหมือนเป็นส่วนลดเงินที่คุณต้องชำระในการใช้สิทธิไปในตัว

ทางเลือกที่สอง
สำหรับคนที่ไม่อยากใช้สิทธิ
  ก็สามารถนำไป ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ได้  ระหว่างวันที่ 15-24 ต.ค. 62 ซึ่งราคาซื้อขายก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ
ณ ขณะนั้น 

ส่วนทางเลือกสุดท้าย
คืออยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย  คือไม่ขายในตลาดภายในวันที่
24 ต.ค. และไม่ใช้สิทธิชำระเงินซื้อหุ้นเพิ่มทุนช่วง 8-22 พ.ย. ก็เหมือนกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น  เพราะตัว TMB-T1 มีอายุ
55 วันนับจากวันที่ออก  ซึ่งตามอายุจะหมดในวันที่
26 พ.ย. 62 เมื่อครบเวลาก็หมดอายุไปเอง   

แล้วจะขาย หรือใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนดี

นายธนภัทร
ฉัตรเสถียร ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
  คาดว่าหน่วยลงทุน TMB-T1 ราคาจะผันผวนตามราคาหุ้นแม่ เนื่องจากประเมินว่าหุ้น TMB จะได้รับผลกระทบจากการเพิ่มทุนที่เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม
และเสนอขายให้แก่นักลงทุนเฉพาะเจาะจง  ซึ่งเป็นไปตามแผนการควบรวมกิจการกับธนาคารธนชาต
จำกัด หรือ TBANK และเป็นปัจจัยที่กดดันราคาหุ้น

นอกจากนี้ขั้นตอนการควบรวมในช่วงแรก
ซึ่งธนาคารยังเป็นบริษัทลูกของ TMB อยู่ คาดว่าจะมีรายจ่ายเข้ามา แต่เมื่อมีการควบรวมเสร็จสมบูรณ์แล้ว
เชื่อว่าจะทำให้ในแง่ต้นทุนการดำเนินธุรกิจลดลง ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่ารายจ่ายที่เพิ่มขึ้น
กับต้นทุนที่ลดลงอยู่ในระดับใด แต่มีมุมมองเชิงบวกว่าน่าจะออกมาดี
โดยการลดต้นทุนน่าจะมากกว่ารายจ่ายที่เพิ่มขึ้น

บล.
เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด
ระบุในบทวิเคราะห์ว่า
มีมุมมองเป็นบวกต่อ TMB ที่ประกาศจ่ายเงินปันผลพิเศษที่
0.03 บาทต่อหุ้น คิดเป็น dividend yield เพิ่มเติมอีก 2% โดยประเมินราคา TMB-T1 ที่ระดับ 0.10 บาท อ้างอิงราคาตลาดของ TMB ที่ 1.50 บาท
ขณะที่กระบวนการเพิ่มทุนจะเสร็จสิ้นในช่วงต้นเดือน ธ.ค.

ทั้งนี้
คาดว่า synergy ที่เกิดขึ้นจากการควบรวมของ
TMB และ TBANK จะเกิดขึ้นได้ทันทีหลังจากควบรวมเสร็จ
ซึ่งเร็วกว่าดีลการควบรวมธนาคารอื่นๆในอดีต โดยประเมินมูลค่าหุ้นใหม่ของ New
TMB จะอยู่ที่ 2.06 บาทต่อหุ้น แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายที่ 1.86 บาท

บล.ดีบีเอส
วิคเคอร์ส
ระบุว่า แนะนำให้ผู้ถือหุ้น TMB เดิม
โดยเฉพาะที่มีต้นทุนสูงใช้สิทธิแปลง TSR @ 1.40 บาท/หุ้น
แต่ถ้ามีต้นทุนใกล้กับราคาตลาด (ราคาปิดวันศุกร์ของ TMB คือ
1.49 บาท) ก็สามารถขาย TSR ออกไปในช่วงที่มีการซื้อขาย
(15-24 ต.ค.62) โดยไม่ต้องใช้สิทธิแปลงสภาพฯก็ได้

แนะนำถือ
TMB โดยให้ราคาพื้นฐาน 2 บาท
โดยมองว่าหลังการควบรวมกิจการแล้วเสร็จ คือ ภายในสิ้นปี 2564 ธนาคารจะมี Synergies
ในการทำธุรกิจ
ความสามารถในการแข่งขันและความสามารถในการทำกำไรดีขึ้น
แต่ในระยะสั้นยังมีความท้าทายในช่วงปรับเปลี่ยนโครงสร้าง
รวมทั้งอาจมีค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างสาขาและบุคคลากรเกิดขึ้น

บล.ทิสโก้ ประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของ  TMB-T1  ที่ 0.09 บาท (Intrinsic
Value) อิงราคาหุ้นแม่ที่ 1.49 บาท และคิดเสมือนการเพิ่มทุน โดยไม่ได้ให้น้ำหนักต่อส่วน
Time Value ของการประเมินมูลค่าเนื่องจากอายุของ  TMB-T1  ที่สั้นเพียง 55 วัน
และเหลือเวลาในการซื้อขายจริงเพียง 7 วันทำการเท่านั้น (ขึ้นเครื่องหมาย SP
ในวันที่ 25 ต.ค. เป็นต้นไป) และในด้านของ Dilution ต่อผลประกอบการนั้นได้สะท้อนไปในวันที่ขึ้นเครื่องหมาย XW ไปแล้ว เนื่องจากการเพิ่มทุนของ  TMB-T1 
เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นหากการควบรวมกับ TCAP จะเดินหน้าต่อ
สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มี  TMB-T1 
และคิดจะเข้าลงทุนนั้นมองการซื้อหุ้น TMB โดยตรงเป็นทางเลือกที่สะดวกกว่า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0