โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

แฟชั่น บิวตี้

TIJ จับมือ UN Women รณรงค์ให้ตระหนักเรื่องเพศในกระบวนการยุติธรรม

Manager Online

อัพเดต 21 เม.ย. 2562 เวลา 15.34 น. • เผยแพร่ 21 เม.ย. 2562 เวลา 15.34 น. • MGR Online

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และองค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ หรือ UN Women ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดงานความร่วมมือระหว่างสององค์กรและเปิดเผยผลวิจัยของสถาบันยุติธรรมอย่างเป็นทางการ โดยมีการเผยแพร่งานวิจัย 2 หัวข้อ ได้แก่ “ผู้หญิงในฐานะผู้สร้างความยุติธรรม” (Women as Justice Makers) และ “ความยุติธรรมในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องเพศ – กรณีศึกษาเรื่องมาตรการปฏิบัติที่ดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการจัดการความรุนแรงต่อผู้หญิง” (Towards Gender-responsive Criminal Justice: Good Practices from Southeast Asia in Responding to Violence against Women” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ต้นแบบ

ศ.พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “แน่นอนว่าเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่รุนแรงจริงๆ” ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย อัยการ ผู้พิพากษา ผู้เคราะห์ร้ายเอง เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ เจ้าหน้าที่ด้านนิติวิทยาศาสตร์ รวมทั้งความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ ภายใต้องค์การสหประชาชาติ ตลอดจนสถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง”รายงานเรื่อง “ผู้หญิงในฐานะผู้สร้างความยุติธรรม” มุ่งเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีผู้หญิงในกระบวนการยุติธรรม เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและความตระหนักในเรื่องความละเอียดอ่อนทางเพศในระบบยุติธรรมทางอาญา การละเลยหรือไม่ตระหนักในเรื่องดังกล่าว อาจจะเกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย รวมถึงการที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นเพศชาย ล้วนทำให้ความรุนแรงต่อผู้หญิงแย่ลง ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความเสมอภาคของผู้หญิงในระบบยุติธรรม โดยจะต้องมีนักกฎหมาย ตำรวจ อัยการ หรือผู้พิพากษาที่เป็นผู้หญิงมากขึ้นส่วนรายงานเรื่อง “ความยุติธรรมในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องเพศ” นำเสนอตัวอย่างที่ดีที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกรอบนโยบายด้านกฎหมายที่ครบถ้วนและอยู่บนหลักสิทธิมนุษยชน หรือที่เรียกว่ายุทธศาสตร์ต้นแบบ ตลอดจนอยู่ในกรอบการปฏิบัติที่ดี ซึ่งครอบคลุมการป้องกันอาชญากรรมอย่างรอบด้าน ตั้งแต่การตรวจสอบ การพิพากษา และการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด

แอนนา คาริน แจทฟอร์ส ผู้อำนวยการสำนักงาน UN Women ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “มีผู้หญิงและเด็กหญิงจำนวนมากที่ยังคงตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ถูกเอาเปรียบ หรือถูกละเมิด แต่ขาดความรู้ว่ามีเครื่องมือใดบ้างที่จะช่วยเหลือพวกเขา และไม่ทราบสิทธิทางกฎหมายของตนเองในการเรียกร้องความยุติธรรม”รายงานทั้งสองฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่ TIJ และ UN Women จัดขึ้นโดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และเสริมศักยภาพในด้านกฎหมายให้แก่ผู้มีหน้าที่รักษากฎหมายและผู้ที่มีส่วนในการสร้างความยุติธรรม และเพื่อกำจัดความรุนแรงต่อผู้หญิง ช่วยทำให้ผู้หญิงเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นที่กระบวนการยุติธรรมนั้นจะต้องใช้ความละเอียดอ่อนในเรื่องที่เกี่ยวกับเพศแอนนากล่าวเสริมว่า “ผู้หญิงจะต้องรู้สึกว่าตนเองได้รับความเคารพและได้รับการปกป้องในกระบวนการยุติธรรมเมื่อรายงานเหตุเกี่ยวกับความรุนแรงหรือการล่วงละเมิดทางเพศ และผู้กระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงจะต้องได้รับผลทางกฎหมายจากการกระทำความผิดนั้น”

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0