โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

Street Art สีสันสดใส แลนด์มาร์คแห่งใหม่ในชุมชนตลาดน้อย

The MATTER

เผยแพร่ 24 ต.ค. 2562 เวลา 03.43 น. • Branded Content

ตลาดน้อย ตลาดย่านเก่าแก่ของกรุงเทพฯ ที่ใครหลายคนมักจะมาทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ถ่ายรูปชิคๆ กับอาคารบ้านเรือน Street Art ตระเวนกินอาหารรสเด็ด เที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในบริเวณนี้ที่มีค่อนข้างเยอะ หรือแม้กระทั่งมาเพื่อซึมซับบรรยากาศความเป็นตลาดน้อยที่ยังคงความดั้งเดิมไว้ที่นี่

ปัจจุบันชุมชนตลาดน้อยกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ด้วยเสน่ห์ในด้านอาหารการกิน อาคารบ้านเรือนที่สวยงามแบบดั้งเดิม วิถีชีวิตของคนในชุมชนตลาดน้อยที่ยังคงไว้ตั้งแต่อดีตได้ดีมาก และที่สำคัญที่นี่ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทั้ง Icon Siam, เยาวราช, ไปรษณีย์กลาง, TCDC บางรัก, และคาเฟ่ต่างๆ

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจและห้ามพลาดเมื่อมาเยือนตลาดน้อยนั้นได้มีแลนด์มาร์คแห่งใหม่เกิดขึ้น เป็น Street Wall สีสันสดใสที่ถูกวาดโดย Jayoto ศิลปิน Steet Art ชาวไทย ที่ถ่ายทอดความหมายและเสน่ห์ของตลาดน้อย ที่มีความโดดเด่นเรื่องอาหารการกินและวัฒนธรรมลงบนกำแพงของบริษัท โรงงานน้ำปลาไทย (ตราปลาหมึก) จำกัด

เราจึงไปสำรวจความคิดเห็นของคนทั่วไป นักท่องเที่ยวและคนในชุมชนตลาดน้อย ที่มีต่อภาพนี้ว่าเขารู้สึกอย่างไรกับ Street Wall สีสันสดใสแลนด์มาร์คใหม่นี้บ้าง

*คิดว่าภาพนี้เป็นภาพอะไร *

“น่าจะเป็นภาพที่รวมความหลากหลายของวัฒนธรรม ของแต่ละชนชาติ แล้วก็อาหารของคนแต่ละชนชาติที่มารวมกันเป็นหนึ่งเดียว ก็สงสัยว่ามันเกี่ยวข้องกับที่นี่ด้วยหรือเปล่า”

“From my point of view it’s look like different cultures too I think it’s cut through to the people in Thailand who lived here who travel here.”

รู้สึกอย่างไรกับภาพนี้

“ชอบค่ะ มันเป็นสีสันที่มันโดดขึ้นมาจากตึกเก่าๆ ที่ยังไม่มีสีอะไรอย่างนี้เลยค่ะ”

“เวลาเราเห็นแล้ว รู้สึกเหมือนดึงดูด คือเราอยากไปบอกคนต่อๆ ให้มาเที่ยว ให้มาดูในสิ่งที่เราเห็น เราแค่พูดมันไม่เท่ากับที่คนมาดูจริงๆ จะสัมผัสได้เอง”

“มันก็ดีนะ ผสมกันไปเก่าใหม่ คนมาดูของเก่าที่นี่ก็ชอบอย่างหนึ่ง พอเปลี่ยนจากของเก่ามาดูใหม่ตรงนี้ก็ทันสมัยดี”

“I think it makes city beautiful because it’s little bit color to the city and brighten the city so it’s more cozy”

หลังจากมีแหล่งท่องเที่ยวต่างๆและภาพนี้ทำให้ชุมชนเปลี่ยนไปอย่างไร

นอกจากความสวยงามของ Street Wall ชิ้นนี้จะสร้างความประทับใจให้กับคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี คนในชุมชนตลาดน้อยยังบอกกับเราอีกว่า ภาพนี้ทำให้เกิดความคึกคัก ส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนตลาดน้อยได้อีกด้วย

“ตั้งแต่รูปภาพเสร็จ แถวนี้ก็ครึกครื้นขึ้นค่ะ เวลาทัวร์มาลงตรงนี้ เขาก็สนใจภาพดี เหมือนเป็นแลนด์มาร์คๆ หนึ่งเวลานักท่องเที่ยวเดินผ่านเขาก็จะชอบถ่ายรูปไว้”

“ดีขึ้นนะคะ เห็นใครเขาก็เดินเข้าไปถ่ายรูปกัน ใครเขาก็ตื่นเต้นกัน ก็มีเด็กๆ รุ่นๆ อย่างนักศึกษาเดินถ่ายรูปกันเยอะแยะ”

เบื้องหลัง Street Wall ขนาดใหญ่เท่าตึก 4 ชั้น ที่ถูกวาดโดยศิลปินเพียงคนเดียว

ใครจะคิดว่าผลงาน Street Wall ที่มีสเกลงานใหญ่ขนาดนี้ จะถูกรังสรรค์ด้วยศิลปินเพียงคนเดียว ‘Jayoto’ หรือ แจ้ อุทิศ โพธิ์คำ ผู้อยู่เบื้องหลังผลงานสุดเท่ชิ้นนี้จะมาเล่ารายละเอียดของการทำงานในทุกขั้นตอนให้เราได้รู้กัน

Jayoto : ภาพนี้เป็นเรื่องของอาหารครับ เหมือนหลายๆ เชื้อชาติก็จะมีความผูกพันในเรื่องการกินอาหาร ซึ่งก็ทำให้มีความสุข สนุกสนานในการกิน ในภาพก็จะมีตัวแทนเชื้อชาติ วัฒนธรรมการกินต่างๆ ทั้ง ฝรั่ง ไทย จีน อินเดีย อินเดียแดง กำลังรับประทานอาหารกันอยู่ครับ

ผมใช้เทคนิคสีสเปรย์ คือรองพื้นด้วยสีอะคริลิคทาบ้านก่อน แล้วก็พ่นด้วยสเปรย์ทั้งหมด ตอนแรกผนังพื้นมันยังไม่ได้สะอาดมาก เป็นคราบผ่านระยะเวลานาน เขาเรียกว่าเป็นปูนเก่า เราต้องทำความสะอาดทั้งตึกเลย โดยผมเป็นคนทำความสะอาดเอง แล้วต้องใช้เครื่องพ่นน้ำแรงดันสูง เพื่อสกัดคราบต่างๆ ออก

ใช้เวลาหนึ่งวันในขั้นตอนนี้ หลังจากล้างเสร็จเรียบร้อยก็ต้องมีสีที่รองพื้นโดยเฉพาะครับ เขาเรียกว่าเป็นสีรองพื้นปูนเก่า ให้พื้นมีความแข็งแรงในด้านผนัง แล้วก็รองพื้นอีกรอบเป็นสีรองพื้นสีขาว แล้วก็ Background ของงานตามที่เราต้องการครับ

ใช้เวลาในการทำงานรวมๆ 11 วัน เกือบ 12 วัน ซึ่งจริงๆ วางแผนไว้เร็วกว่านั้น แต่ต้องมาทำความสะอาดก่อน ก็เลยใช้ระยะเวลาประมาณนี้ บวกกับงานไซส์ขนาดนี้ต้องมีผู้ช่วย แต่ด้วยข้อจำกัดที่มี คือ กระเช้าที่ยกเราขึ้นไปเล็กเท่าตัวหนึ่งคน แล้วก็ของ เช่น สีหรืออุปกรณ์ แปรงอะไรต่างๆ ใช้ได้แค่เพียงคนเดียวแค่นั้น ทำให้งานนี้เราต้องทำเองคนเดียวทั้งหมดเลยครับ

ความยากของงานชิ้นนี้เกิดจาก ช่วงที่ทำงานเป็นช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นฤดูฝน ฝนก็จะตกในระยะเวลาแตกต่างกันมาก ตกเช้า ตกบ่าย ตกเย็น พอเมื่อฝนตกเราก็ต้องรอเพื่อให้ฝนซาหรือฝนหยุดถึงจะทำงานได้ อีกอย่างก็แดด บางวันก็แดดแรงมาก แรง พลังงานเรา Energy ทุกอย่างต้องพร้อม ถึงจะทำงานที่ใหญ่ขนาดนี้ได้

ส่วนเสน่ห์ของที่นี่ที่ประทับใจคือ เราภูมิใจที่มีชาวต่างชาติมาแวะเวียนที่นี่เยอะมาก เวลาเขาเห็นผมทำงานเขาก็จะมาให้กำลังใจ หรือคอยส่งรอยยิ้ม มาถ่ายรูปอะไรอย่างนี้ ผมก็มีแรง มีกำลังใจในการทำงาน เป็นเสน่ห์ของย่านนี้เลยครับ

*แนวคิดสำคัญเบื้องหลังการจัดทำ Street Wall *

อีกหนึ่งแรงผลักดันที่สำคัญที่สุดในงานชิ้นนี้ก็คือเจ้าของฝาผนัง ซึ่งผนังนี้เป็นพื้นที่ของบริษัท โรงงานน้ำปลาไทย (ตราปลาหมึก) ที่มีความผูกพันกับชุมชนตลาดน้อยมาอย่างยาวนาน

โดยคุณปรญา คุณาเทียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานน้ำปลาไทย (ตราปลาหมึก) จำกัด

จะมาเปิดเผยวิสัยทัศน์ในการจัดทำ Street Wall ที่อยู่บนผนังของบริษัทชิ้นนี้

คุณปรญา : เสน่ห์ความเป็นตลาดน้อยที่ทำให้อยากหยิบมาทำเป็น Street Art คือ ชุมชนที่นี่มีความอบอุ่น มีหลายๆ จุดที่สวยงามซ่อนตัวอยู่ในตรอกซอกซอย ยังมีกลิ่นอายของความดั้งเดิม คนที่มาที่นี่จะเห็นวัฒนธรรม เห็นการกินอยู่ของคนยุคก่อนๆ ก็เป็นเหมือนสถานที่ให้เราระลึกถึงความดั้งเดิมเหล่านั้นได้ เราเองในฐานะที่อยู่ในชุมชนนี้มานาน ก็อยากจะเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวในตลาดน้อย อยากให้มีคนรักตลาดน้อยมากขึ้นด้วยค่ะ

ชุมชนตลาดน้อยถือว่ามีสำคัญต่อบริษัทเรามาก เราอยู่ที่นี่มาตั้งแต่เริ่มต้นแล้วนะคะ ตั้งแต่ที่มีบริษัทนี้ก็ 30 ปีแล้ว ตอนเป็นบริษัทที่เก่าก็ประมาณ 20-30 ปีเหมือนกัน แต่อยู่ฝั่งตรงข้ามที่นี่ ด้วยความที่เราอยู่ที่นี่มานาน เราเดินไปไหนก็รู้จักกัน ก็เป็นที่คุ้นเคยของคนแถวนี้ แล้วเรามีความเจริญเติบโต มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มันเป็นความผูกพันของบริษัทเรากับชุมชนตลาดน้อย

เรามองว่าเราอยู่ในชุมชนก็อยากสร้างสีสันให้ชุมชน แล้วก็อยากเป็นส่วนหนึ่งให้คนที่มาเที่ยวที่นี่ได้เห็นอะไรใหม่ๆ ทำให้ได้เที่ยวอย่างสนุกสนาน แล้วก็เกิดความรักตลาดน้อย เหมือนที่เรารักตลาดน้อยค่ะ

เราอยากชวนให้คุณไปดูผลงานชิ้นนี้ด้วยตัวเองที่ตลาดน้อย อยากให้คุณได้สัมผัสและซึมซับความเป็นตลาดน้อยอย่างเต็มที่ แล้วจะหลงรักตลาดน้อยเหมือนที่เราทุกคนหลงรักที่นี่

ดูคลิป/โพสท์ คลิ๊กที่นี่

Content by Isariya Wichitnetisard

Illustration by Yanin Jomwong

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0