โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

STA-STGT ยังมีอะไรน่าสนใจ ทำไมนักวิเคราะห์ยังแนะนำ “ซื้อ”

Wealthy Thai

อัพเดต 09 ส.ค. 2566 เวลา 08.56 น. • เผยแพร่ 29 มิ.ย. 2564 เวลา 15.51 น. • Maratronman

หลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ในประเทศไทยกำลังระบาดหนักขึ้นอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเปรียบได้ว่าอาจจะเข้าสู่ช่วงการระบาดระลอกที่ 3.5 เลยก็ว่าได้ เพราะตัวเลขอัตราการติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยอยู่ที่ 2,000-3,000 รายต่อวัน ซึ่งหากย้อนไปเมื่อวันที่ 28 มิ.ย.64 ตัวเลขการติดเชื้อแตะระดับ 5,000 ราย ซึ่งถือเป็นยอดนิวไฮใหม่ที่ประเทศไทยยังไม่เคยเจอ
ก็ส่งผลให้หุ้น 2 แม่ลูกอย่างบริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA กับ บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT กลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะสองหุ้นแม่ลูกคู่นี้เป็นหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึง 2 บริษัทดังกล่าวยังมีข่าวดีคือการได้รับเข้าคำนวณใน SET 50 รอบครึ่งปีหลังของปี 64
โดยความเคลื่อนไหวของหุ้น STA ในวันนี้ (29 มิ.ย.64) มีมูลค่าการซื้อขายกว่า 1,000 ล้านบาท โดยราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดของวันที่ 42.50 บาท ขณะที่หุ้นบริษัทลูกอย่าง STGT มีมูลค่าการซื้อขายกว่า 800 ล้านบาท โดยระหว่างวันราคาหุ้นขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 42.75 บาทต่อหุ้น

ผลงานอาจจะลงแต่ยังคงแนะนำ “ซื้อ”

บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” STA แต่ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 58 บาท อิง 65 PER 7.0 เท่าอิงค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมยางในอดีต (จากเดิมที่ 65.00 บาท อิง 2022E PER 7.0 เท่า) จากการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 65 ลง
โดยเรามีมุมมองเป็นลบมากขึ้น จากแนวโน้มราคาขายถุงมือยางที่ลดลงอย่างมากในช่วงปลายไตรมาส 2/64 หลังจากที่เราได้ update กับทาง STA ล่าสุด โดยบริษัทคาดว่าราคาขายถุงมือยางในช่วงไตรมาส 2/64 คาดจะลดลงราว 15-20% เทียบกับที่คาดไว้ว่าจะลดลงประมาณ 10-15% ซึ่งราคาถุงมือยางเริ่มลดลงอย่างชัดเจนในช่วงเดือน มิ.ย. 64 จากปริมาณ supply โลกที่มากขึ้น และจำนวนคนฉีดวัคซีน covid-19 ที่เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วที่
ทั้งนี้ปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 64 เพิ่มขึ้น 30% จากปีก่อน อยู่ที่ 21,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 121% จากปีก่อน และปรับประมาณการกำไรปี 65 ลง 8% มาอยู่ที่ระดับ 13,829 ล้านบาท ลดลง 34% จากปี 64 จากการปรับสมมติฐานราคาขายถุงมือยางเฉลี่ยลดลงเป็น 1.60 บาทต่อชิ้น จากเดิมที่ 1.80 บาทต่อชิ้น ขณะที่คงปริมาณการขายไว้ที่ 40,000 ล้านชิ้น
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด มีมุมมองต่อ STGT ว่า ฝ่ายวิจัยฯได้มีการศึกษาผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 ที่มีต่อสองโรงงานหลักที่ผลิตถุงมือยาง ตั้งแต่ไตรมาส2/64 สืบเนื่องจากมีการติดเชื้อในกลุ่มคนงาน ทั้งนี้ตามกำหนดการหยุดโรงงานคือ 1) ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีปิดระหว่างวันที่ 29 พ.ค.-6 มิ.ย.64 และ 2) จังหวัดตรัง ปิดระหว่างวันที่ 28 พ.ค.-15 มิ.ย.64 โดยทั้งสองโรงงานมีสัดส่วนต่อการผลิตถุงมือต่อวัน คือ 20% และ 28% ตามลำดับ จากที่ผลิตถุงมือทั้งหมดต่อวันที่ 90 ล้านชิ้น
อีกทั้งได้คาดว่าราคาขายเฉลี่ย (ASP) และมีปริมาณการขายที่อ่อนตัวลงในช่วงไตรมาส 2/64 สืบเนื่องจากมีการใช้กลยุทธ์ปรับลดราคา (Price Dumping) ในตลาดจากบริษัทใหญ่ ผนวกกับปัจจัยลบเรื่องการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ในการส่งออก จึงได้มีการปรับลดประมาณการปี 64 ลงในอัตรา -16% ด้วยสมมุติฐานหลักคือ ให้อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ลดลง แต่แนวโน้มภาพรวมธุรกิจยังเป็นบวก
แต่อย่างไรก็ตามคงคำแนะนำ ซื้อ ด้วยราคาพื้นฐานใหม่ที่ปรับลงเล็กน้อยเป็น 59.50 บาท ซึ่งประเมินด้วยวิธี DCF แต่หลังปรับประมาณการ อัตราผลตอบแทนปันผลปี 64 ยังสูงเป็น 8.4% ส่วนปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งเช่นเดิมคือ ยอดขายมีโอกาสเติบโตสูง มีการขยายกำลังการผลิต อุปสงค์ในถุงมือยางยังมาก รวมทั้งอุปทานในตลาดก็ยังจำกัด(Undersupply)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0