โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

SET มี.ค.63 หนีโควิด-19 ไม่พ้น ส่อแววดิ่งแตะ 1,290 จุด

efinanceThai

เผยแพร่ 28 ก.พ. 2563 เวลา 10.26 น.

      ส่องตลาดหุ้น มี.ค.63 ยังหนีโควิด-19 ไม่พ้น คาดฉุดจีดีพีโลกดิ่ง - ศก.ไทยเสี่ยงถดถอย เงินนอกยังไหลออกจากตลาด พร้อมหั่นกำไรบจ.ปีนี้เหลือ 86.17 บ./หุ้น - คาดกรณีเลวร้าย SET ลงแตะ 1,290 จุด บน P/E 15 เท่า แนะถือหุ้นในพอร์ตเพียง 35% หาจังหวะเก็บหุ้นพื้นฐานดี     

* หุ้นไทย ก.พ.ดิ่ง % - ต่างชาติขนเงินหนี  ลบ. 

    ตลาดหุ้นไทยปิดวันที่ 28 ก.พ.62 ที่ระดับ 1,340.52 จุด ลดลง 54.56 จุด หรือ -3.91% มูลค่าซื้อขาย 86,068 ล้านบาท  โดยตลอดเดือนก.พ.63 ดัชนีปรับลดลงจากระดับปิดเดือน ม.ค. 63 ที่ 1,514.14 จุด หรือ  173.62 จุด  หรือ 11.46% 

    โดยสัดส่วนนักลงทุนที่ซื้อ- ขายหุ้นไทยเดือนก.พ.63 (วันที่ 28 ก.พ.62) มีดังนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศ ขายสุทธิ 3.92 พันลบ. (ขายสุทธิ 1.36 พันลบ.) บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ซื้อสุทธิ 38.71 ลบ. (ขายสุทธิ 638.87 ล้านบาท ) นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1.96 หมื่นลบ. (ขายสุทธิ 300.92 ล้านบาท ) นักลงทุนทั่วไป 2.35 หมื่นลบ. (ซื้อสุทธิ 2.3 พันลบ. )       

 
* จับตาโควิด-19 ยืดเยื้อ ทำ IMF หั่นจีดีพีโลก  

    บล.เอเซียพลัส  เปิดเผยถึงปัจจัยที่มีน้ำหนักต่อการลงทุนในเดือน มี.ค.2563 ยังต้องให้ความสนใจไปในเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่าจะยังยืดเยื้อ และรุนแรงต่อไปอีกนานเท่าใด ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงให้ IMF น่าจะปรับลด GDP Growth โลกปี 2563 ลงอีก จากเดิมที่ลดมาแล้วเหลือ 3.2% และปรับลด GDP Growth ประเทศจีนลง 0.4% จากประมาณการเดิมเหลือ 5.6%ในปี 2563 ภายใต้สมมุติฐานสำคัญว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะปกติใน Q2/63

* หั่นจีดีพีไทย เหลือโต 1.6% - กนง.จ่อลดดบ.อีก 1 ครั้ง  
 
    ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังถูกกระทบจากโควิด-19 เกือบทุกภาคส่วน ทั้ง ท่องเที่ยว การค้าระหว่างประเทศ, การบริโภคภายในประเทศ และค่าเงินบาท นำไปสู่การปรับลด GDPGrowth ไทย ปี 2563 ลงเหลือ 1.6% (จาก 2.8%) ทำให้กนง. มีโอกาสพิจารณาลดดอกเบี้ยลงอีกในช่วงที่เหลือของปี

    ด้านการบริโภคภายในประเทศ มีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากประชาชนกังวลว่าตนมีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้ จึงหลีกเลี่ยงการเดินทางไปที่ที่มีผู้คนจำนวนมาก (เช่น ศูนย์การค้า, แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น) ส่งผลให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยชะลอตัวลงได้ และยังมีประเด็นภัยแล้งปี 2563 รุนแรงมากที่สุดในรอบ 40 ปี กระทบภาคเกษตรกร 

* ศก.ไทยยังไม่ถดถอยทางเทคนิค -แต่หลายอุตฯเข้าข่ายแล้ว  
 
    ในงวด Q4/62 เศรษฐกิจไทยขยายตัวตํ่าสะท้อนจาก GDP Growth ขยายตัว 1.6%yoy แต่หากพิจารณาในรูป qoq จะพบว่า ขยายตัวตํ่าเพียง 0.2%qoq ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในภาพรวมยังไม่เดินไปสู่จุดเริ่มต้นของภาวะถดถอย (Technical Recession) หรือภาวะที่ GDP Growth หดตัว %qoq ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 ไตรมาส

    อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาลงไปในแต่ละภาคการผลิต(Production-side GDP) พบว่ามีบางอุตสาหกรรมเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว อาทิ ภาคเกษตร-ประมง, ไฟฟ้า, ก่อสร้าง รวมกัน คิดราว 11.6% ของ GDP และมีอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายRecession กล่าวคือ หดตัวไปแล้ว %QoQ 1 ไตรมาส หรือขยายตัว %QoQ ต่ำ คือกลุ่มการเงิน และการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ราว 16% ของ GDP 

    ดังนั้น หาก ไวรัส COVID-19 ยังยืดเยื้อ ยาวนาน ทำให้มีความเสี่ยงอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ ภาคอสังหาริมทรัพย์, ค้าปลีก ฯลฯ มีความเสี่ยงสูงมาก ที่จะหดตัว%QoQ ไตรมาสที่ Q1/63 -Q2/63 ได้
    
* มองเงินนอกยังไหลไปสินทรัพย์ปลอดภัยมากกว่าหุ้น  

    2 เดือนที่ผ่านมา Fund Flow ไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง สะท้อนจากใน ปี 2563 (ytd) ต่างชาติขายสุทธิหุ้นทุกประเทศในภูมิภาค ด้วย
มูลค่าสูงถึง 7.3 พันล้านเหรียญ เริ่มจากไต้หวันถูกขายสุทธิกว่า2.7 พันล้านเหรียญ, เกาหลีใต้ 2.0 ล้านเหรียญ ตามด้วยฟิลิปปินส์ 72 ล้านเหรียญ, อินโดนีเซีย 265 ล้านเหรียญเช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทย ต่างชาติขายสุทธิสูงถึง 614 ล้านเหรียญ หรือ 3.6 หมื่นล้านบาท เป็นต้น
    
    ส่วนแนวโน้ม Fund Flow ในเดือน มี.ค. 2563  คาดว่ายังไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างตราสารหนี้ และทองคำ ต่อเนื่อง ( ฝ่ายวิเคราะห์คาดว่าประเด็น COVID-19 จะกินระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือนถึงจะชะลอลง) บวกกับค่าเงินบาทที่ทะลุแนวต้านสำคัญที่ระดับ 31.50 บาท/เหรียญ ทำให้เม็ดเงินลงทุนในตลาดหุ้นยังมีโอกาสชะลออยู่

* หั่นกำไรบจ.เหลือ 86.17 บ./หุ้น - คาด SET ลงแตะ 1,290 จุด 
 
    ส่วนของกำไรบริษัทจดทะเบียน ล่าสุดฝ่ายวิจัยรวบรวมข้อมูลและได้มีการปรับลดประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียนปี 2563 ลง 9.06 หมื่นล้านบาท เหลือ 8.9 แสนล้านบาท (ลดลง 10%) ส่งผลให้ EPS63F เดิม 95.71 บาท/หุ้น ลดลงเหลือ 86.17 บาท/หุ้น 

    หลักๆ มาจากการปรับลดในกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ จาก Spread ปิโตรเคมีที่อยู่ในระดับต่ำ, กลุ่มธ.พ. ถูกกดดันจากดอกเบี้ย ที่อยู่ในระดับต่ำบวกกับสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอจึงมีความเสี่ยงที่จะมีการลดดอกเบี้ยอีกในช่วงที่เหลือของปี, กลุ่ม ICT มีต้นทุนจากการประมูลคลื่น 5G ที่เพิ่มขึ้น , กลุ่มการบินและท่องเที่ยว มีความเสี่ยงจากโรคระบาด COVID-19 หากยืดเยื้อ เป็นต้น

    อย่างไรก็ตามหากวิเคราะห์ Valuation ปัจจุบัน โดยพิจารณาผ่านMarket Earning Yield Gap ภายใต้ EPS63 ในระดับต่างๆ 86.17 บาท/หุ้น พร้อมกับใช้ Bond Yield 1 ปี ณ ปัจจุบัน ที่ 0.93% จะได้ Market Earning Yield Gap ในช่วง 5.20 % ถือว่ากว้างมากเที่ยบกับค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 4.28% และอยู่ในระดับเดียวกันกับตอนเศรษฐกิจถดถอยในปี2556 
    
    ทั้งนี้ได้ประเมินแนวรับดัชนี บน EPS ที่ 86 บ./หุ้น PE 15 เท่า ที่ 1,290 จุด และมองระดับสูงสุดที่ 1,462 จุด บน P/E 17เท่า     

    ด้วยปัจจัยลบที่ยังกดดันทั้งตลาดหุ้นโลกและไทย ฝ่ายวิจัยฯ จึงยังคงสัดส่วนพอร์ตการลงทุนไว้คงเดิมจากเดือนที่แล้วทั้งหมดได้แก่ ตลาดหุ้นไทย 35% (เท่าตลาดฯ) หุ้นต่างประเทศ 10%(น้อยกว่าตลาดฯ) รวมถึงตราสารหนี้ก็ยังคงน้ำหนักที่ 35%(มากกว่าตลาดฯ) และตลาดเงิน 10% (น้อยกว่าตลาดฯ) ขณะที่ตราสารลงทุนอื่นๆ คงน้ำหนักไว้ที่ 10% (เท่าตลาดฯ)
    
* แนะหุ้นน่าเก็บ - หลีกเลี่ยง กลุ่มรพ.ยังมีสตอรี่  

    ดังนั้น คาดว่า SET Index ยังมีโอกาสฟื้นได้เร็วขึ้น เหมือนอดีตหากเหตุการณ์ต่างๆผ่อนคลายลง รวมถึงเวลาเกิดผลกระทบจาก
เหตุการณ์ที่ผิดปกติ มีโอกาสที่ทางกนง.จะใช้มาตรการทางการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง ช่วยหนุนดัชนีอีกแรง

    กลยุทธ์การลงทุนแนะนำสะสมหุ้นพื้น ฐานแข็งแกร่ง แนวโน้มกำเติบโตโดดเด่นเหนือตลาด อย่าง BJCHI, CHG, CPALL, CPF, INTUCH และMCS ส่วนหุ้นที่แนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุน คือ หุ้นที่ Over Value อย่าง TKN , HANA

    ส่วนกลุ่มโรงพยาบาล  แม้ภาพใหญ่กลุ่ม รพ. ยังคาดหวังการเติบโตระยะกลาง-ยาว จากแนวโน้มประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุได้ อย่างไรก็ตามภายใต้ภาวะแวดล้อมปัจจุบัน ทั้งปัญหาเศรษฐกิจที่ซบเซา และภัยแล้ง กดดันกำลังซื้อผู้บริโภค รวมถึงการเดินทางเข้ามารักษาของ
ผู้ป่วยต่างชาติก็ถูกจำกัดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เชื่อว่าน่าจะเริ่มเห็นแรงกดดันต่อกลุ่มรพ.  โดยกลุ่มรพ.ที่มีสัดส่วนยอดขายจากต่างประเทศสูงๆ ได้แก่ BH, BDMS, PR9 และ BCH ที่มีสัดส่วนรายได้จากลูกค้าต่างประเทศที่ 66%, 31%, 15% และ 10%  

    ประเมินกำไรกลุ่ม รพ. ปี 2563 เติบโต 6.8% โดยจะมีแรงหนุนหลักจากกลุ่มรพ.ประกันสังคม (BCH, CHG และ RJH) ที่จะโดดเด่น
ขณะที่กลุ่มรพ.ที่น่าจะยังเติบโตได้น้อยกว่ากลุ่ม คือ BH และ PR9ภาพรวมแม้กำไรกลุ่มฯ ปี 2563 จะเด่นกว่ากำไรตลาด แต่เชื่อว่าสะท้อนอยู่ในดัชนีกลุ่ม YTD ที่ปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดไปแล้ว

    คงน้ำหนักลงทุน เท่าตลาด Top picks เลือก CHG(FVB2.98) จากแรงหนุนรายได้ SSO + ปัจจัยเฉพาะตัวการเก็บเกี่ยวประโยชน์จากรพ.ใหม่ 2 แห่ง เข้าสู่จุดคุ้มทุน รองมายังชอบ BCH(FVละ BDMS (FV@B28) จากฐานธุรกิจที่มั่นคง  

* ธปท.รับ Q1 จีดีพีต่ำสุดของปี หวั่นปีนี้หลุด 1%    

    นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2563 ขณะนี้ยังคงต้องติดตามตัวเลขในเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม แต่ยอมรับว่า ไตรมาสแรกจะเป็นจุดต่ำสุดในรอบปี โดยปัจจัยที่ยังติดตาม คือ การระบาดของ COVID-19 ว่าจะยืดเยื้อแค่ไหน รวมถึงกรณีของไทยจะเข้าสู่ภาวะ 3 หรือไม่

    "เศรษฐกิจเดือนกุมภาพันธ์จะลงลึกมาก ส่วนทั้งปีจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือไม่  ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโควิด-19 ว่าจะยืดเยื้อ หรือระบาดทั้งปีหรือไม่ ซึ่งหากเป็นแบบนั้น ก็มีโอกาสที่จีดีพีต่ำกว่า 1% ส่วนกรณีที่เศรษฐกิจถดถอยจะเกิดขึ้น เมื่อเศรษฐกิจติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาส ซึ่งเราจะต้องรอดูตัวเลขเพื่อประเมินต่อไป ซึ่งเราคงบอกไม่ได้ว่าสุดท้ายจะเป็นอย่างไร แต่ทุกอย่างมันมีความเป็นไปได้ทั้งนั้น” นายดอน กล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0