โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

SEAC ชี้ “ภาษาอังกฤษ” ทักษะที่จำเป็นต่อการปลดล็อก “ทักษะดิจิทัล” เพื่อต่อยอด Lifelong Learning

Techsauce

เผยแพร่ 18 พ.ย. 2562 เวลา 09.51 น. • Techsauce Team

เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา “SEAC” ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน ได้ประกาศความร่วมมือกับ “ELSA” Startup ผู้พัฒนา AI ด้านการศึกษาซึ่งเป็นผู้สร้างแอปพลิเคชัน “ฝึกภาษาอังกฤษ” โดยเฉพาะ ที่ Forbes นิตยสารธุรกิจเศรษฐกิจระดับโลกยอมรับว่าเป็น TOP 4 บริษัทที่มีการใช้นวัตกรรม AI ในการเปลี่ยนแปลงโลก หากแต่ความน่าสนใจของการร่วมมือครั้งนี้ไม่ได้อยู่ที่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่หรือจำนวนเงินลงทุน แต่อยู่ที่ “วิสัยทัศน์” ที่เห็นว่า “การฝึกฝน” ภาษาอังกฤษของคนไทยคือความจำเป็นในยุค Digital Disruption เราจึงขอพาทุกท่านไปสำรวจการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในแง่มุมนี้กัน

ทำไมเราถึงต้องฝึกสื่อสารภาษาอังกฤษในยุคเทคโนโลยี

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเราต้องฝึกภาษาอังกฤษในยุคที่เทคโนโลยีปัจจุบันสามารถแปลภาษาไปมาได้แทบจะทันที เพราะว่าอันที่จริงแล้ว การสื่อสารไม่ได้มีเรื่องของเนื้อหาสาระเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของความมั่นใจและน่าเชื่อถือเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้

คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC กล่าวว่า หากมองในภาพระดับโลก การสื่อสารภาษาอังกฤษของคนไทยอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง จากมาตรฐานของ EF EPI (EF English Proficiency Index) ในกลุ่มประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก เผยว่าค่าความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพของคนไทยอยู่ในระดับต่ำหรือ Low Proficiency โดยปี 2018 ไทยอยู่ในลำดับที่ 64 จากผู้ร่วมทดสอบ 88 ประเทศ และในปี 2019 ประเทศไทยมีคะแนนตกลงเป็นสิบอันดับโดยอยู่ในลำดับที่ 74 จาก 100 ประเทศ

คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC

หากให้เห็นภาพชัดขึ้น เมื่อเทียบกับในทวีปเอเชีย ไทยอยู่ในลำดับที่ 17 จาก 25 ประเทศที่ร่วมทดสอบมาตรฐานดังกล่าว

ทำให้เห็นว่าแม้เราจะมีการเรียนการสอนทฤษฎีด้านภาษาอย่างแข็งแรง แต่การสื่อสารให้มีประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องที่มากกว่าทฤษฎี ทั้งนี้ การสื่อสารภาษาอังกฤษโลกทุกวันนี้จำเป็นกับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องศึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อรับมือ Digital Transformation ซึ่งความรู้ส่วนใหญ่กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ถูกถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษ

แม้เข้าใจแต่พูดไม่เหมือน ก็พลาดโอกาสก้าวหน้า

นอกจากสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยแล้ว ยังมีการถ่ายทอดประสบการณ์ตรงอันเป็นทั้งภาพสะท้อนความสำคัญของการฝึกฝนสื่อสารภาษาอังกฤษ และแรงบันดาลใจในการสร้างแอปพลิเคชัน ELSA Speak ของคุณ Vu Van, CEO และ Co-Founder ของ ELSA 

คุณ Vu Van เล่าว่า เธอเป็นชาวเวียดนามที่มีโอกาสเข้าศึกษาด้านการบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง Stanford แน่นอนว่าเธอเข้าไปในมหาวิทยาลัยระดับนี้ด้วยคะแนนภาษาอังกฤษในระดับสูง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียนคือ เมื่อเธอพูดภาษาอังกฤษออกมา ทั้งเพื่อนและผู้สอนต่างไม่ได้หันมาพูดกับเธอมากพอ จนหลายครั้งเธอพลาดโอกาสที่จะมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดในชั้นเรียน ซึ่งการแลกเปลี่ยนความคิดในชั้นเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญมากในระบบการศึกษาขั้นสูง

คุณ Vu Van, CEO และ Co-Founder ของ ELSA

หลังจากที่เธอพลาดโอกาสต่างๆ จากการไม่ได้สื่อสาร เธอจึงเปิดใจสอบถามเพื่อนและผู้สอน ซึ่งพบว่าการที่พวกเขาไม่ได้สื่อสารกับเธอมากนัก เพราะพวกเขาฟังสำเนียงเธอได้ไม่ชัดเจน และไม่มีเวลาช่วยแก้ไขเนื่องจากมีผู้ที่ต้องการสื่อสารในชั้นเรียนเป็นจำนวนมาก

ด้วยเหตุนี้ เธอจึงหันมาให้ความสำคัญกับการออกเสียงให้ถูกต้องตามสำเนียงภาษาอังกฤษ แต่ปัญหาคือการฝึกสำเนียงที่ถูกต้องจำเป็นต้องมีคนช่วยสอน และมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งใช่ว่าทุกคนจะสะดวกเป็นผู้สอน และทุกคนจะมีความสามารถทางการเงินสูงเช่นนั้น ในขณะที่ยังมีคนนับล้านที่ต้องการฝึกภาษาอังกฤษ แนวคิดการใช้เทคโนโลยีระดับสูงที่ช่วยแนะนำแก้ไขและเผยแพร่เป็นจำนวนมากจึงเกิดขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดหนีไม่พ้น “ปัญญาประดิษฐ์” อันเป็นจุดเริ่มต้นของ ELSA หรือ English Language Speech Assistant นั่นเอง

SEAC และ ELSA กับการฝึกทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษให้คนไทยด้วย AI

เรียกว่าความตั้งใจที่ลงตัวไม่น้อยสำหรับ SEAC และ ELSA กับการช่วยให้คนไทยมีช่องทางพัฒนาภาษาอังกฤษด้วยเครื่องมือระดับโลก โดยมีรางวัลการันตีและการสนับสนุนมากมาย โดยเฉพาะการได้รับเงินระดมทุนจาก Google Allo ซึ่งเป็น Fund ที่ลงทุนในเทคโนโลยี AI ของ Google เป็นการเฉพาะ ซึ่ง Google ระบุว่า ELSA Speak เป็นคลังเสียงภาษาอังกฤษของกลุ่มคนที่ไม่ใช่ Native Speaker ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

การใช้งาน ELSA Speak เพียงแค่ออกเสียงใส่แอปฯ บน Smartphone ซึ่งในแอปฯ จะมี Speech Recognition ฟังเสียงอยู่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีลิขสิทธิ์ของ ELSA Speak  จากนั้นระบบจึง Feedback จุดที่ถูกหรือผิดแบบทันทีอย่างแม่นยำโดยมีทฤษฎีด้าน Phonetic แบบมาตรฐานรองรับ ซึ่งรูปแบบบทเรียนของ ELSA Speak ยังเป็นแบบ “เกม” ที่ชวนให้น่าเรียนอย่างต่อเนื่องด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ ภายในแอปฯ ยังมี AI ทดสอบที่ช่วยจัดบทเรียนตามทักษะความสามารถของผู้เรียนรายบุคคลได้ มีการฝึกทั้งแบบคำและเป็นบทสนทนาในหัวข้อต่างๆ ตั้งแต่ในชีวิตประจำวัน การเดินทาง เทศกาล ไปจนถึงการทำธุรกิจที่นำไปใช้ได้จริง ทั้งยังมีบริการต่างๆ สำหรับลูกค้าองค์กร เช่น Learning Dashboard ที่ช่วยติดตามความคืบหน้าในการเรียนรู้ของพนักงานด้วย

คุณอริญญา เถลิงศรี กล่าวว่า ปัจจุบัน ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ELSA Speak ได้แล้ว  ทั้งนี้ ทาง SEAC และ ELSA มีแผนจะออกแบบเนื้อหาหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับคนไทยที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่นประโยค คำศัพท์หรือบทสนทนาของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ รวมถึงร้านอาหาร โรงพยาบาล และธุรกิจการศึกษา ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2020 ส่วนค่าบริการรายปีในราคาพิเศษสำหรับคนไทยที่สมัครผ่าน SEAC อยู่ที่เพียงปีละ 1,200 บาทเท่านั้น และมีข้อเสนอพิเศษอื่นๆ มากมาย

คุณ Vu Van กล่าวว่า ปัจจุบัน ELSA Speak มี Daily User มากถึง 5 ล้านราย และจากการเก็บ Feedback พบว่าผู้ใช้ 95 เปอร์เซ็นต์ มั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น และผู้ใช้ 90 เปอร์เซ็นต์ พบว่าการออกเสียงภาษาอังกฤษดีขึ้นจริง

เมื่อภาษาอังกฤษของคนไทยดีขึ้น โอกาสในด้านต่างๆ ก็จะเปิดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจและอาชีพต่างๆ และที่สำคัญคือการเข้าถึงความรู้ที่จำเป็นในกระบวนการ Digital Disruption อันเป็นเป้าหมายสำคัญเร่งด่วนที่พวกเราทุกคนตระหนักในเวลานี้

บทความนี้เป็น Advertorial

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0