โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

SCB EIC ประเมินตัวเลขส่งออกไทยปี 2562 ทั้งปีติดลบมากกว่า 2%

Brand Inside

อัพเดต 21 ก.ย 2562 เวลา 08.02 น. • เผยแพร่ 20 ก.ย 2562 เวลา 16.49 น. • Isriya Paireepairit
export big boat
ภาพจาก Shutterstock
ภาพจาก Shutterstock
ภาพจาก Shutterstock

เราเพิ่งเห็นตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์ ที่ระบุว่าตัวเลขการส่งออกของประเทศไทยในเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ติดลบ -4% และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ยังคงตัวเลขประเมินว่าการส่งออกของไทยทั้งปี 2562 จะเติบโตอยู่ที่ 0%

วันนี้มีการประเมินของอีกสำนักออกมาคือ SCB EIC ที่ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกไทยเดือน ส.ค. 2019 โดยรวมหดตัวที่ -4.0%YOY แต่หากหักทองคำที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ตัวเลขการส่งออกหดตัวถึง -9.8%

หากย้อนดูตัวเลขการส่งออกตลอดปี 2562 จำนวน 8 เดือนที่ผ่านมา มีเพียงเดือนกรกฎาคมเพียงเดือนเดียวที่การส่งออกกลับมาเป็นบวก และหากรวมตัวเลข 8 เดือน การส่งออกไทยหดตัว -3.3% และถ้าหักทองคำด้วย การส่งออกหดตัวที่ -5.3%

ตัวเลขนี้ทำให้ SCB EIC ประเมินตัวเลขการส่งออกของไทยตลอดปี 2562 จะต่ำกว่าที่เคยประมาณการไว้คือ -2% โดยอีก 4 เดือนที่เหลือ การส่งออกน่าจะยังติดลบเกือบทุกเดือน ยกเว้นในเดือนกันยายนที่อาจพลิกตัวกลับมาเป็นบวกได้ เพราะฐานของเดือนกันยายน 2561 ค่อนข้างต่ำ

ภาพจาก SCB EIC
ภาพจาก SCB EIC

หลายสินค้าส่งออกสำคัญยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง และหดตัวในเกือบทุกตลาด

  • สินค้าส่งออกสำคัญที่หดตัวได้แก่ รถยนต์-อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-12.6%) ข้าว (-44.7%) เครื่องคอมพิวเตอร์-อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-10.5%) เครื่องใช้ไฟฟ้า (-6.9%) แผงวงจรไฟฟ้า (-14.3%) และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป (-40.0%) เม็ดพลาสติก (-18.3%) และเคมีภัณฑ์ (-22.2%) เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในเดือน ส.ค. 2019 หดตัวในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า (ประมาณ -20%)
  • ตลาดส่งออกสำคัญที่หดตัวได้แก่ อาเซียน-5 (-24.6%) CLMV (-22.7%) อินเดีย (-18.0%) EU15 (-6.2%) จีน (-2.7%) ฮ่องกง (-6.5%) ญี่ปุ่น (-1.2%) เกาหลีใต้ (-6.5%) อย่างไรก็ดี การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ยังขยายตัวได้ที่ 8%
ภาพจาก SCB EIC
ภาพจาก SCB EIC

สินค้านำเข้าหดตัวในระดับสูง ส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยฐานสูงในปีก่อนหน้า โดยการนำเข้าสินค้าเมื่อเดือน ส.ค. ปี 2018 ขยายตัวมากถึง 22.2% จึงเป็นฐานที่สูงเมื่อเทียบกับมูลค่านำเข้าในเดือน ส.ค. ปีนี้ ซึ่งหดตัวมากถึง -14.6% นับเป็นการหดตัวในทุกหมวดสินค้า โดยสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีการหดตัวมากที่สุด
ที่ -27.7% ขณะที่การนำเข้าสินค้าทุนหดตัวรองลงมาที่ -7.9% ในส่วนของสินค้าหมวดอื่น ๆ ได้แก่ เชื้อเพลิง อุปโภคบริโภค และยานพาหนะ หดตัวที่ -0.8% -0.9% และ -0.4% ตามลำดับ

ภาพจาก SCB EIC
ภาพจาก SCB EIC
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0