โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

Relative Purchasing Power Parity (RPPP) คือ อะไร?

Finnomena

อัพเดต 13 มิ.ย. 2562 เวลา 08.42 น. • เผยแพร่ 21 มี.ค. 2562 เวลา 03.46 น. • CrisisMan
Relative Purchasing Power Parity (RPPP) คืออะไร? บอกอะไรเกี่ยวกับเงินเฟ้อและค่าเงิน?
Relative Purchasing Power Parity (RPPP) คืออะไร? บอกอะไรเกี่ยวกับเงินเฟ้อและค่าเงิน?

Relative Purchasing Power Parity (RPPP)หรือ ทฤษฎีความเสมอภาคของอำนาจซื้อโดยเปรียบเทียบ มีพื้นฐานมาจากทฤษฎี Purchasing Power Parity (PPP) หรือ ทฤษฎีความเสมอภาคของอำนาจซื้อ อันเป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ โดยอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินสองประเทศต้องอยู่ในภาวะสมดุล ทำให้อำนาจการซื้อหรือราคาสินค้าอย่างหนึ่งในประเทศทั้งสองเท่ากัน

ทฤษฎีนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินเฟ้อและอัตราแลกเปลี่ยน ขอสมมติว่าประเทศ A มีอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าประเทศ B 10% ต่อปี ดังนั้นเมื่อถึงสิ้นปี สกุลเงินของประเทศ A จะมีอำนาจซื้อสินค้าชิ้นหนึ่งลดลงไป 10%

ดังนั้นจากแนวคิดตามทฤษฎี Relative Purchasing Power Parity ความแตกต่างของอัตราเงินเฟ้อ จะส่งผลให้สกุลเงินของประเทศ A อ่อนค่าลง 10% เพื่อรักษาอำนาจซื้อสินค้าชิ้นหนึ่งให้เท่าเทียมกัน

ตัวอย่าง

อัตราเงินเฟ้อ

ประเทศไทย (Local) = 6% ต่อปี ประเทศสหรัฐอเมริกา (Foreign) = 3% ต่อปี

อัตราแลกเปลี่ยน

ปัจจุบัน (Spot Exchange Rate) = 30.50 THB/USD สามารถคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตได้จาก

Relative Purchasing Power Parity (RPPP) คืออะไร? บอกอะไรเกี่ยวกับเงินเฟ้อและค่าเงิน?
Relative Purchasing Power Parity (RPPP) คืออะไร? บอกอะไรเกี่ยวกับเงินเฟ้อและค่าเงิน?
Relative Purchasing Power Parity (RPPP) คืออะไร? บอกอะไรเกี่ยวกับเงินเฟ้อและค่าเงิน?
Relative Purchasing Power Parity (RPPP) คืออะไร? บอกอะไรเกี่ยวกับเงินเฟ้อและค่าเงิน?

เมื่อผ่านไป 1 ปี อัตราแลกเปลี่ยนควรอ่อนค่าไปที่ระดับ 31.39 THB/USD เพื่อรักษาอำนาจซื้อ

สรุป

จาก Relative Purchasing Power Parity (RPPP) สรุปได้ว่าประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงกว่า ค่าเงินจะมีแนวโน้มอ่อนค่ากว่าอย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่น เช่น คุณภาพสินค้า มุมมองของผู้บริโภค และสภาพทางเศรษฐกิจด้านอื่น ที่ส่งผลให้ทฤษฎีดังกล่าวใช้ไม่ได้ผลในโลกความเป็นจริง โดยเฉพาะในระยะสั้นSource  : Investopedia, fundmanagertalk.com

อ่านคำศัพท์อื่นๆ ทางการเงินได้ที่ : https://www.finnomena.com/vocab/

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0