โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

Rebalance Portfolio ได้ผลอย่างไร เมื่อตลาดหุ้นไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ

aomMONEY

อัพเดต 12 พ.ค. 2561 เวลา 13.57 น. • เผยแพร่ 24 เม.ย. 2561 เวลา 10.37 น. • นายปั้นเงิน ปีศาจแห่งการลงทุน
Rebalance Portfolio ได้ผลอย่างไร เมื่อตลาดหุ้นไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
Rebalance Portfolio ได้ผลอย่างไร เมื่อตลาดหุ้นไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ

หลังจากที่ได้ไปออกรายการ Investment Tuesday ของออมมันนี่มาเมื่อปลายเดือน ภายใต้หัวข้อ Portfolio  Rebalancing” ระหว่างที่ไลฟ์รายการกันอยู่มี Feedback หนึ่งที่น่าสนใจมาก จากคุณผู้ชมท่านหนึ่ง ที่อยากรู้ว่าในระยะเวลา 5 ปีที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี พ.ศ.2538-2542 หรือ “วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง” หากทำ Portfolio Rebalancing  นั้นจะทำให้พอร์ตลงทุนของนักลงทุนเป็นอย่างไรบ้าง

เพราะจากบทความเรื่อง Portfolio Rebalancing ที่ผมนำไปพูดในรายการนั้น ผมใช้ตัวเลขสมมติในการทำ Case Study ให้เพื่อนๆได้อ่านกัน แต่ครั้งนี้เราจะมาดูกันว่าถ้าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจอีกครั้ง กลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบไหนจะให้ผลตอบแทนดีที่สุด 

ขอขอบคุณความคิดเห็นดีๆ จากแฟนเพจทุกคนนะครับ ที่ทำให้เราได้ไอเดียมาต่อยอดในการเรียนรู้ ครั้งหน้าถ้าใครสนใจเรื่องอะไรก็มาแชร์กันในระหว่างที่เรากำลังไลฟ์รายการกันได้นะ จะได้เรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆที่น่าสนใจไปพร้อมกัน

กลับมาเข้าเรื่องกันดีกว่า หลังจากที่ได้ไอเดียมาแล้ว ผมกลับมานั่งค้นคว้าตัวเลขและเก็บสถิติสำคัญจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) พบว่าถ้าเราเริ่มต้นลงทุนด้วยเงิน 1 ล้านบาทในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2542 ด้วยการจัดพอร์ตโฟลิโอ 3 กลยุทธ์ดังต่อไปนี้…

  • แบบที่ 1 เงินลงทุนทั้งหมด ลงทุนในกองทุนรวมดัชนีหุ้น 100% 

  • แบบที่ 2 จัดพอร์ตแบบ Asset Allocation ลงทุนในกองทุนรวมดัชนีหุ้น หุ้น 60% และ ฝากเงินในบัญชีฝากประจำ 40% 

  • แบบที่ 3 จัดพอร์ตแบบ Asset Allocation ลงทุนในกองทุนรวมดัชนีหุ้น หุ้น 60% และ ฝากเงินในบัญชีฝากประจำ 40%  + มีการทำ Portfolio Rebalancing ทุก 12 เดือน

สาเหตุที่ผมเปลี่ยนสินทรัพย์จากตราสารหนี้เป็นฝากประจำ เพราะในช่วงนั้นการฝากประจำให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบัน และเงินฝากประจำมีความเสี่ยงต่ำ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ผมนำสถิติมา คือ “ค่าเฉลี่ยต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ ระยะเวลา 12 เดือน” 

และเมื่อทดสอบกลยุทธ์ทั้ง 3 รูปแบบออกมา ผลลัพธ์ของการลงทุนด้วยเงิน 1 ล้านบาท ออกมาดังนี้…

  • แบบที่ 1 ยอดเงินคงเหลือจากการลงทุน 354,329 บาท ขาดทุนปีละ 12.91%

  • แบบที่ 2 ยอดเงินคงเหลือจากการลงทุน 809,937 บาท ขาดทุนปีละ 3.80% 

  • แบบที่ 3 ยอดเงินคงเหลือจากการลงทุน 712,218 บาท ขาดทุนปีละ 5.76%

จะเห็นว่าการลงทุนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ กลยุทธ์แบบที่ 2 Asset Allocation เพียงอย่างเดียวจะทำให้เราขาดทุนจากการลงทุนน้อยที่สุด แล้วทำไมการทำ Portfolio Rebalancing เพิ่มเข้าไปถึงให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าล่ะ?

คำตอบก็คือ ในช่วงระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2538-2541) การลงทุนในกองทุนรวมดัชนีจะให้ผลตอบแทน -73.84% หรือคิดเป็น -18.46% ต่อปี มีเพียงปีพ.ศ. 2542 เท่านั้นที่ทำผลตอบแทนได้สูงถึง 35.44% นั่นหมายความว่าการที่เรา Rebalance ทุกปี จะทำให้น้ำหนักเงินลงทุนของเราเทไปในสัดส่วนของตราสารทุนมากกว่า เมื่อดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลงจึงส่งผลให้เงินลงทุนได้รับผลเสียหายไปด้วย

แต่ถ้าสังเกตจากกราฟ ในปีสุดท้ายที่ตลาดหุ้นมีการฟื้นตัว ผลตอบแทนที่สูงทำให้พอร์ตฯที่มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นมาก ทำผลตอบแทนได้มากกว่า ในระยะยาวก็มีโอกาสที่พอร์ตการลงทุนแบบที่ 1 และ 3 จะกลับมาทำผลตอบแทนได้ดีกว่าแบบที่ 2

ข้อสรุปจากการจำลองกลยุทธ์ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้เราสามารถวางกลยุทธ์ระยะสั้นได้โดยลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสียหาย ถ้าไม่ได้ศึกษาหรือรับความเสี่ยงได้มากพอก็ให้อยู่เฉยๆ แล้วรอจังหวะ แต่ถ้ามั่นใจในความสามารถแล้วการลงทุนระยะยาวในหุ้นสามัญ หรือทำตามกลยุทธ์ที่คิดไว้ก็มีโอกาสทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้

เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน : )

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0