โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ล็อกดาวน์รอบใหม่ กระทบยอดขายหุ้นค้าปลีกแค่ไหน!!

Wealthy Thai

อัพเดต 10 ส.ค. 2566 เวลา 00.54 น. • เผยแพร่ 06 ส.ค. 2564 เวลา 08.52 น. • ศุภมาศ ศรีขำ

ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้ประกาศเพิ่มมาตรการควบคุม Covid-19 โดยขยายพื้นที่ควบคุมสูงสุดเป็น 29 จังหวัด จากเดิม 13 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก นครปฐม นครนายก นครราชสีมา นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ ปราจีนบุรี อยุธยา เพชรบุรี ปัตตานี เพชรบูรณ์ ยะลา ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สงขลา สิงห์บุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง เริ่มตั้งแต่วันที่ 3-16 ส.ค. 64 รวมเป็นระยะเวลา 14 วัน และประเมินสถานการณ์อีกครั้งวันที่ 18 ส.ค. 64
โดยพื้นที่ดังกล่าวได้ปรับมาตรการป้องกัน Covid-19 ดังนี้ ห้ามออกนอกเคหะสถานเวลา 21.00-04.00 น. งดให้บริการขนส่งข้ามเขตจังหวัด ให้ตั้งด่านสกัดระหว่างเขตจังหวัด (ตามาตรการที่ราชการกำหนด) ห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 5 คน ห้ามบริโภคในร้าน ให้ขายแบบนำกลับไปบริโภคที่อื่น เปิดได้ไม่เกินเวลา 20.00 น. งดจำหน่ายและดื่มสุราในร้าน
ส่วนการขายอาหารในศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าให้เปิดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มผ่านการให้บริการแบบเดลิเวอรี่ ส่วนร้านขายยา เวชภัณฑ์ ซูเปอร์มาเก็ต เปิดได้ไม่เกินเวลา 20.00 น. ให้ปิดร้านเสริมสวย ร้าน นวด สถานเสริมความงาม สถานที่เล่นกีฬา หรือแข่งขันกีฬา และห้ามใช้อาคารสถานที่ของสถานศึกษาทุกระดับ สถาบันกวดวิชา เพื่อจัดการเรียนการสอนกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมาก
แม้ครั้งนี้จะไม่ใช่ครั้งแรกที่ภาครัฐตัดสินใจใช้มาตรการควบคุมการระบาดสูงสุด แต่การตัดสินใจขยายระยะเวลาออกไปอีก 14 วัน อาจสร้างความเสี่ยงต่อเนื่องให้กับภาคธุรกิจมากกว่าที่คิด โดยนักวิเคราะห์จากบล.เอเซีย พลัส ระบุว่า การประกาศขยายมาตรการล็อกดาวน์ของ ศบค. รวม 29 เป็น Sentiment ลบ ต่อราคาหุ้นกลุ่มค้าปลีก ซึ่งกลุ่มที่คาดการณ์ว่ายอดขายจะได้รับผลกระทบมากที่สุดเป็นหุ้นค้าปลีกที่ไม่มีสาขาแบบ Stand aloneคือ COM7, SPVI และห้างสรรพสินค้า ซึ่ง Central และ Robinson คิดเป็นสัดส่วนยอดขายราว 20- 50% ของยอดขาย รองมาเป็น ILM, HMPRO คิดสัดส่วนประมาณ 30-35% ของยอดขาย และ BJC, DOHOME, CPALL คิดเป็นสัดส่วนราว 10-15% ของยอดขาย
ทั้งนี้ การคาดการณ์ดังกล่าว เป็นการประเมินจากสัดส่วนยอดขายที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการโดยตรง จึงเชื่อว่าผลกระทบจริงต่อประมาณการน่าจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า จากการปรับตัวขายผ่านช่องทางออนไลน์ ที่ส่วนใหญ่มีสัดส่วนยอดขายเพิ่มจาก 1-3% ในปี 2562 เป็น 5-10% ในปี 2563 รวมถึงการปรับกลยุทธ์เฉพาะตัว เช่น COM7 ที่เริ่มเปิดร้าน Stand alone นอกพื้นที่ห้างสรรพสินค้ามากขึ้น ซึ่งศบค. ยังอนุญาตให้เปิดได้

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิเคราะห์ประเมินทิศทางมาตรการดังกล่าว ยังเป็น Sentiment กดดันราคาหุ้นกลุ่มค้าปลีกในระยะสั้นอยู่ แต่จากมาตรการที่เข้มงวดขึ้น เชื่อว่ามีโอกาสที่น่าจะเห็นการติดเชื้อใหม่ชะลอตัวลงได้ ภาพรวมยังคงน้ำหนักการลงทุนหุ้นกลุ่มค้าปลีก เท่าตลาด โดยเน้นทยอยซื้อสะสม หุ้นที่กระทบจำกัด แต่ราคาหุ้นปรับฐานแรง เช่น DOHOME ราคาเป้าหมาย 30.4บาท และหุ้นที่พร้อมฟื้นตัวเร็วหากสถานการณ์คลี่คลาย เช่น COM7 ราคาเป้าหมาย 80บาท และ SPVI ราคาเป้าหมาย 8.65บาท จากกระแสการเรียนและทำงานที่บ้าน
ขณะที่หุ้นใหญ่ให้เน้นซื้อลงทุนระยะยาว รอรับสถานการณ์คลี่คลาย ให้น้ำหนัก BJC ราคาเป้าหมาย 39.5บาท โดยมีกระแสบวกจากธุรกิจเครื่องมือแพทย์ที่นำเข้าอุปกรณ์ตรวจ Covid-19ได้ ช่วยบรรเทาผลกระทบ รวมถึง MAKRO ราคาเป้าหมาย 44บาท ที่ยังประคองตัวได้ดี และ CPALL ราคาเป้าหมาย 65.5บาท จากพื้นฐานที่มั่นคง และความเป็นผู้นำกลุ่มที่มีช่องทางขาย ครอบคลุมทุกรูปแบบ
นับจากวันที่ 3 ส.ค. 64 ซึ่งเป็นวันเริ่มขยายมาตรการควบคุม และภาครัฐหวังว่าสถานการณ์ระบาดจะเริ่มคลี่คลาย แต่กลับกันจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ไม่ได้ลดลง แต่เพิ่มขึ้นทำนิวไฮต่อเนื่อง ล่าสุดทะลุ 20,000 รายต่อวัน สร้างความกังวลให้ประชาชนและภาคธุรกิจ ต้องรอติดตามว่าภาครัฐจะออกมาตรการควบคุมเพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อแก้ไขสถานการณ์ไม่ให้เลวร้ายไปกว่านี้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0