โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

PwC เผยซีอีโออาเซียนยังไม่พร้อมนำ 'AI' มาใช้งาน ต้องรออีก 5 ปี

Manager Online

อัพเดต 21 ก.พ. 2562 เวลา 07.10 น. • เผยแพร่ 21 ก.พ. 2562 เวลา 07.10 น. • MGR Online

PwC ประเทศไทย เผยผลสํารวจ Global CEO Survey พบซีอีโออาเซียนเกือบครึ่งมองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกปีนี้จะเติบโตลดลง ฉุดความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของรายได้ให้ลดลงตามไปด้วย สอดคล้องกับความเชื่อมั่น ที่ซบเซาของซีอีโอทั่วโลก หลังเผชิญกับผล กระทบจากปัญหาความขัดแย้งทางการค้า ความไม่แน่นอนทางการเมือง และสภาพเศรษฐกิจขาลงของกลุ่มประเทศมหาอํานาจ

โดยผู้นําธุรกิจอาเซียนตระหนักว่า AIจะเข้ามาปฏิวัติธุรกิจของพวกเขาในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่ก็ยอมรับว่ายังไม่พร้อมนําAIเข้ามาใช้งานเนื่องจากขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ และมีช่องว่างทางทักษะภายใองค์กร แนะให้ซีอีโอเร่งเพิ่มพูนทักษะใหม่และอบรมทักษะเดิมให้แก่พนักงาน โดยเฉพาะทักษะทางด้านดิจิทัล เพื่อจัดทัพองค์กรให้พร้อมทํางานร่วมกับAI

นายศิระ อินทรกําธรชัย ประธานกรรมการบริหาร และหุ้นส่วน บริษัท PwC ประเทศไทยเปิดเผยถึงผลสํารวจซีอีโอทั่วโลก ครั้งที่ 22 ประจําปี 2562 (PwC’s 22nd Annual Global CEO Survey) ที่ใช้ในการประชุมสมัชชาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) ที่กรุง ดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งสํารวจความคิดเห็นซีอีโอทั่วโลกจํานวน1,378 รายใน 91 ประเทศ ซึ่งในจํานวนนี้เป็นซีอีโอจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จํานวน 78 ราย ว่า ซีอีโออาเซียนเชื่อว่า เศรษฐกิจโลกปีนี้จะชะลอตัวจากปีก่อน

ทั้งนี้ 5 อันดับปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและรายได้ในสายตาของซีอีโออาเซียนในปี 2562 ได้แก่ ความขัดแย้งทางการค้า 83% ความไม่แน่นอนทางภูมิศาสตร์การเมือง 81% ความไม่แน่นอนของนโยบาย 78% กฎระเบียบข้อบังคับที่มากและเข้มงวดเกินไป 77% และ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก 73%

สถานการณ์ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ส่งผลให้ซีอีโออาเซียนมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดําเนินธุรกิจและกลยุทธ์ในการเติบโต โดย 29% มีการปรับกลยุทธ์ในการบริหารห่วงโซ่อุปทานและจัดหาวัตถุดิบ โดยหันไปส่งออกและหาแหล่งวัตถุดิบจากประเทศอื่นแทน

รวมถึงชะลอการใช้จ่ายด้านการลงทุนออกไปก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์และคาดหวังว่า ทั้งสองฝ่ายจะสามารถเจรจากันได้ และอีก 17% เลือกที่จะเปลี่ยนกลยุทธ์ไปเติบโตในตลาดอื่นๆ ที่มีศักยภาพ เช่น ตลาดเกิดใหมในเอเชียอย่าง อินโดนีเซียและเวียดนาม

สําหรับ อุปสรรคสําคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อการดําเนินธุรกิจของซีอีโออาเซียน ได้แก่ 1.การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ 82% 2. ภัยคุกคามทางไซเบอร์ 81% และ 3.ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 72%

'การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะทางด้านดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด จะส่งผลให้บริษัทสูญเสียโอกาสหลายๆ อย่าง ทั้งความสามารถทางการแข่งขัน การพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ รวมไปถึงการขยายสู่ตลาดใหม่ๆ อีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้ ถือเป็นปัญหาใหญของธุรกิจในอาเซียน'

นายศิระ กล่าวต่อว่า ผู้นําธุรกิจต่างตระหนักดีว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) หรือAI กำลังเข้ามามีอิทธิพลต่อการดําเนินธุรกิจทั่วโลก โดย72% ของซีอีโออาเซียนคาดว่าการปฏิวัติของAIจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อโลกยิ่งกว่าการปฏิวัติทางอินเทอร์เน็ตซึ่งเคยเกิดขึ้นในช่วงกลางของยุค 90s และ 87% ยังเห็นด้วยว่าAIจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทําธุรกิจของตนอย่างมีนัยสําคัญในอีก 5 ปี ข้างหน้า

แต่อย่างไรก็ดี ผลสํารวจกลับพบว่า ธุรกิจอาเซียนเกือบ 40% ยังไม่มีการนําAIเข้ามาใช้งานในปัจจุบัน ขณะที่อีก 32% มีแผนที่จะนําAIเข้ามาใช้งานในอีก 3 ปี ข้างหน้า 28% มีการใช้งานAIในวงจำกัดและมีเพียง 4% ที่มีการใช้AIอย่างกว้างขวางและเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงานในองค์กร

'เรามองว่า สาเหตุสําคัญที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ยังคงไม่ตื่นตัวในการพัฒนา หรือลงทุนเพื่อนํา AIเข้ามาประยุกต์ใช้ในการทํางานอย่างจริงจัง แม้ว่าจะตระหนักถึงความสําคัญในจุดนี้น่าจะเป็นเพราะช่องว่างทางทักษะของแรงงาน ที่มีความรู้ไม่เพียงพอในการใช้งานAI'

ดังนั้นภาครัฐ ผู้นําองค์กร ต้องลุกขึ้นมาปฏิวัติตัวเองด้วยการเพิ่มพูนทักษะใหม่และฝึกฝนอบรมทักษะเดิมอย่างสมํ่าเสมอ ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานทักษะทางด้านดิจิทัล การคิดวิเคราะห์ข้อมูล และการใช้เหตุผล ซึ่งส่วนตัวยังเชื่อว่า การเข้ามาของAIจะเป็นไปในลักษณะของ 'เพื่อนร่วมงาน' ที่เข้ามาสนับสนุนการทํางานประเภทที่ต้องทําซํ้าๆ และเปิดโอกาสให้แรงงานคนได้ไปใช้ทักษะในด้านอื่นมากกว่าเข้ามาแย่งงาน แต่นั่นแปลว่า เราก็ต้องรู้จักวิธีที่จะสามารถทํางานร่วมกับAIได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย

สถาบันการศึกษาเองควรส่งเสริมหลักสูตรSTEMศึกษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นแนวทางการจัดการศึกษาให้เกิดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ให้แก่บุคลากรที่กําลังจะถูกป้อนออกสู่ตลาดแรงงานโดยไม่ลืมที่จะปลูกฝังทักษะทางด้านอารมณ์ควบคู่กัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0