โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

Permaculture วิถีเกษตรในยุค 70

รักบ้านเกิด

อัพเดต 19 ก.พ. 2563 เวลา 04.17 น. • เผยแพร่ 19 ก.พ. 2563 เวลา 04.17 น. • รักบ้านเกิด.คอม

เพอร์มาคัลเจอร์ อาจจะฟังดูไม่คุ้นหู แต่ถ้าหากเทียบกับคำในภาษาไทย มันก็คงจะพูดถึงการ ใช้ชีวิตในแบบพอเพียง การทำเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งแนวคิดนี้ก็ไม่ต่างจากคำสองคำนี้มากนัก
เพอร์มาคัลเจอร์ (permaculture) เป็นแนวคิดและวิถีทางการเกษตรที่เน้นเรื่องความยั่งยืนของชีวิตและสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นในต่างประเทศเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว องค์ความรู้แบบฝรั่งนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการทำการเกษตร แต่ครอบคลุมถึงการออกแบบวิถีการดำรงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับระบบเกษตรกรรม รวมถึงการใช้ชีวิตของผู้คนในรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ ซึ่งต้องอิงหลักการออกแบบพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง
หัวใจหลักของเพอร์มาคัลเจอร์
ไม่ว่าจะนำไปใช้ที่ไหน อันดับแรกเลยก็คือการใส่ใจโลก เพราะถ้าไม่มีโลก เราเองไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ สอง การใส่ใจผู้อื่น เพื่อให้เราสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้ และสุดท้าย มีความเป็นธรรม เลือกใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็นและคืนสิ่งที่ดีกลับสู่ธรรมชาติด้วย การจัดพื้นที่แบบเพอร์มาคัลเจอร์ ยังเน้นการจัดวางที่ทำให้ทุกสิ่งเกิดประโยชน์สูงสุดในตัวเอง และเมื่อสิ่งเหล่านั้นรวมกันแล้วจะต้องเกิดประโยชน์สูงกว่าการที่พวกมันอยู่เดี่ยวๆ โดยต้องใช้พลังงาน แรงงานและสร้างขยะให้น้อยที่สุด
เมื่อจัดพื้นที่ปลูกผักได้แล้ว ใครที่มีพื้นที่มากหน่อย ก็ยังสามารถขยับขยายมาทดลองจัดพื้นที่ 6 โซน เพื่อทำให้พื้นที่ใช้สอยในการปลูกผักแต่ละชนิดส่งเสริมกันไปด้วยก็ได้ โดยไล่ลำดับความสำคัญจากพืชผักที่ใกล้ชิดกับตัวเรามากที่สุด ออกไปสู่ป่าขนาดใหญ่ แบบนี้
- Zone 1โซนบ้านที่อยู่อาศัย เน้นการประหยัดพลังงานให้ได้มากที่สุด ออกแบบให้เข้ากับธรรมชาติ และสมดุลทั้งในด้านการทำงานและการอยู่อาศัย
- Zone 2โซนพืชผักใกล้บ้าน สำหรับปลูกพืชที่ต้องดูแลมากหน่อย เช่น ผักในฟาร์ม ผลไม้ต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นที่สำหรับทำเรือนกระจก เลี้ยงไส้เดือน ทำปุ๋ยจากขยะอาหาร ถ้าเป็นเพอร์มาคัลเจอร์ ในเมืองจะนิยมปลูกพืชแบบ raised bed หรือการสร้างแปลงผักขนาดเล็ก
- Zone 3ปลูกพืชที่ต้องการดูแลน้อยลงมาอีกหน่อย เช่น พืชหมุนเวียนตามฤดูกาล พืชหัว หรือเลี้ยงผึ้ง
- Zone 4โซนปลูกพืชสำหรับนำไปขาย ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องดูแลเป็นประจำ อาจผลัดมาใส่ปุ๋ย หรือรดน้ำอาทิตย์ละครั้ง
- Zone 5พื้นที่กึ่งป่า ปล่อยเอาไว้เพื่อเก็บผักกินหรือปลูกต้นไม้เอาเนื้อไม้ไปใช้
- Zone 6โซนป่า หรือพื้นที่ที่ควรปล่อยทิ้งให้ระบบนิเวศจัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง จึงมีทั้งแมลงและพืชต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาเอง เพื่อช่วยบำรุงระบบนิเวศและส่งเสริมให้โซนอื่นๆ สามารถอยู่ได้

แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
ขอขอบคุณ : ข้อมูลบางส่วนจากgreenery

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0