โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

Palliative Care - รักษาแบบประคับประคอง หยุดยื้อลมหายใจไปใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข

HealthyLiving

อัพเดต 16 ก.ย 2562 เวลา 10.45 น. • เผยแพร่ 03 ก.ย 2562 เวลา 00.00 น. • Healthy Living
01_Content_600x600_palliative care copy.jpg

Palliative Care การรักษาแบบประคับประคอง หยุดยื้อลมหายใจแล้วไปใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข 
หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Palliative Care มาบ้างว่าคือการหยุดการรักษาแล้วกลับมาพักฟื้นที่บ้าน แต่จริงแล้ว Palliative care มีต้องให้คนป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด
 Palliative Care คือการรักษาแบบประคับประคอง
สำหรับประเทศไทย Palliative care อาจไม่ใช่คำที่คุ้นชินกันเท่าไร แต่จริงๆ มีมานานแล้วโดยใช้คำว่า “การบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย” หรือ “การรักษาแบบประคับประคอง” สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดย  Palliative care มีเป้าหมายให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดก่อนจะถึงวาระสุดท้าย แต่ไม่ได้หมายความว่าหยุดการรักษาทั้งหมด ซึ่ง Palliative care มีองค์ประกอบ 3 ด้านที่สำคัญคือ 
1) การควบคุมอาการไม่สุขสบาย คือการควบคุมอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย ทั้งอาการปวด การเป็นไข้ แผลกดทับและอาการอื่นที่จะเกิดขึ้นได้  
2) การรักษาโรค เป้าหมายอาจไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยหายขาดแต่เป็นการรักษาแบบประคับประคองให้ผู้ป่วยทรมานน้อยที่สุด และ 
3) การดูแลจิตใจและวิญญาณ ในส่วนนี้จะคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวที่ต้องการมีชีวิตในช่วงสุดท้ายให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความฝันที่อยากทำ การได้อยู่ใกล้กับคนใกล้ชิด รวมถึงวิธีการตายของผู้ป่วยที่อยากจากไปแบบที่ตัวเองต้องการ และการดูสุขภาพจิตของครอบครัวของผู้ป่วยด้วย
การเริ่มรักษาแบบ Palliative care จะเกิดขึ้นได้ก็พูดคุยกันทั้งคนป่วย ญาติ และแพทย์ร่วมกันตัดสินใจ และสิ่งนี้ไม่ใช่การยอมแพ้ แต่เป็นการให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติ โดยเน้นที่การรักษาให้ไม่มีอาการทรมานจากการรักษาและการยื้อชีวิต ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว
ข้อดีอีกคือ
● ไม่เจ็บปวดทรมานจากการรักษาเช่น การทำคีโม การเจาะคอช่วยหายใจ หรือการยื้อชีวิต
● ค่าใช้จ่ายต่ำกว่า เมื่อเทียบกับการรักษาเพื่อให้หายขาด โดยค่าใช้จ่ายในช่วงสุดท้ายของชีวิตคิดเป็น 10-23% ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ แต่ในสังคมเมืองการหาผู้ดูแลคนป่วยอาจเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเข้ามา เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการ รักษาตามปกติ และค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยที่ตายที่โรงพยาบาลสูงกว่าตายที่อื่น รวมทั้งตายที่บ้านถึง 2 เท่า 
● Palliative care ไม่ได้มองแค่การดูแลรักษาผู้ป่วย แต่ดูแลรักษาครอบครัวของผู้ป่วยในช่วงของความโศกเศร้าหลังการเสียชีวิตของผู้ป่วย เพราะการที่ได้ทำตามความต้องการของผู้ตายก่อนเสียชีวิตทำให้ครอบครัวไม่รู้สึกผิดทีไม่ได้ดูแลพ่อแม่ให้ดี  
ข้อเสียของ Palliative Care
การรักษาแต่ละแบบย่อมมีข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อเสียของการดูแลแบบประคับประคองก็มีเช่นกันซึ่งอาจจะหนักหนากว่ารักษาแบบปกติในบางแง่มุม โดยข้อเสียที่ต้องรู้มีดังนี้
●ผู้ป่วยไม่มีทางหายขาดแน่นอนเพราะปลายทางนี้คือความตายที่ผู้ป่วยและครอบครัวได้เลือกแล้ว●ครอบครัวผู้ป่วยต้องปรับที่พักให้เหมาะสมกับการดูแลซึ่งมีค่าใช้จ่ายในช่วงเริ่มต้นเยอะและใช้เวลาในการปรับปรุง●ครอบครัวเป็นคนเผชิญหน้ากับนาทีวิกฤต ซึ่งต้องตั้งสติให้ดีอยู่ตลอดเวลาจนมีความเครียดสะสมได้●ครอบครัวผู้ป่วยต้องเรียนรู้และฝึกการดูแลผู้ป่วยเอง ซึ่งต้องใช้เวลาในการเรียนรู้กว่าจะเกิดความเชี่ยวชาญและสามารถทำได้ดี ●ในประเทศไทยการรักษาแบบนี้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ●ญาติผู้ป่วยบางท่านอาจไม่ยินดีกับการรักษาแบบประคับประคอง อาจทำให้เกิดปัญหาครอบครัว
จากข้อดีและข้อเสียนี้เองที่่ผู้ป่วยและครอบครัวต้องร่วมกันคุยกับแพทย์ว่าจะเอาอย่างไรดีเมื่อต้องตัดสินใจจริงๆ เพราะถ้าคุยกันเองคนที่เสียงดังกว่าย่อมเป็นคนตัดสินใจเรื่องทั้งหมดเมื่อไหร่ที่ผู้ป่วยควรเริ่มเปลี่ยนมารักษาแบบ Palliative Care
สำหรับคนป่วย หรือญาติที่กำลังตัดสินใจเรื่องการรักษาแบบ Palliative care จากคำแนะนำของการแพทย์สมัยใหม่ สามารถเริ่มต้นตัดสินใจได้ตั้งแต่ช่วงวินิจฉัยโรคได้ทันที แต่ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วย ครอบครัว และความเห็นของแพทย์เจ้าของไข้ รวมถึงการขอคำปรึกษาจากแพทย์ ว่าผู้ป่วยเหมาะสมต่อการรักษาแบบนี้หรือไม่ ถ้าโรคที่ป่วยไม่รักษาให้หายได้ การเลือกรักษาแบบประคับประคองอาจเป็นคำตอบของชีวิต
ซึ่งความต้องการของผู้ป่วยอย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบของการเปลี่ยนมารักษาแบบประคับประคอง แต่ญาติและครอบครัวก็ต้องเห็นด้วยกับการรักษาแบบนี้ เพราะต้องใช้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายร่วมกัน เพื่อให้เกิดการรักษาที่ดีที่สุดต่อทุกคนหลายครั้งการกลับมารักษาที่บ้านก็เป็นสาเหตุของความแตกแยกของคนในครอบครัว จนทำให้มีความเครียดลอยอบอวลอยู่ในภายในบ้านจนไม่มีความสุขแทน
ไม่ว่าจะเลือกการรักษาแบบไหนแต่สิ่งที่ทุกคนต้องการคือให้ผู้ป่วยได้มีชีวิตที่มีความสุขที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าโรคไม่สามารักษษให้หายขาดได้ การเลือกรักษาแบบประคับประคอง อาจเป็นหนทางที่ทำให้ทุกคนมีความสุขกว่า ต้องทนเห็นคนที่เรารักทรมานจากการรักษา ที่ไม่เป็นผล การได้กลับมาอยู่กับครอบครัวอาจทำให้เขาได้มีความสุขสุดท้ายในช่วงชีวิตและจากไปอย่างสงบ
อ้างอิงสกล สิงหะ. Surgeon's Manual of Palliative care
พัชรี ภาระโข,สุวคนธ์ กุรัตน์, สุริวิยา สุวรรณโคตร. 2556. การดูแลผูป่วยระยะสุดท้าย:มิติใหม่ที่ท้ายทายบทบาทของพยาบาล
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
ปองกมล สุรัตน์. http://bit.ly/2kq42Ge . ถอดบทเรียนการประชุม Advance care planning 2019Url: http://bit.ly/2lB2c5p

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0