โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

คุยกับ MTC-SAK ผู้อยู่รอดท่ามกลางโควิด

Wealthy Thai

อัพเดต 10 ส.ค. 2566 เวลา 04.15 น. • เผยแพร่ 09 ก.ค. 2564 เวลา 08.44 น. • This’s Alano

หุ้น “หุ้นลิสซิ่ง” ยังมีกระแสนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะความต้องการสินเชื่อยังมีอยู่ระดับสูง ซึ่งในครั้งนี้ Wealthy Thai ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้บริหาร 2 บริษัท อย่าง บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTCและ บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SAK
เริ่มจาก MTC โดยนายชูชาติ เพ็ชรอำไพ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTC เปิดเผยกับ Wealthy Thai ว่า บริษัทเป็นสถาบันที่เป็น non-bank โดยให้บริการกับประชาชนที่เป็นรากหญ้า ที่ส่วนใหญ่มีรายได้น้อย ซึ่งในกลุ่มนี้แนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลังจะมีการใช้เงินในจำนวนที่สูงขึ้น เพราะกลุ่มดังกล่าวประกอบธุรกิจทางการเกษตร ที่จะเริ่มทำการเพาะปลูก รวมทั้งมีความต้องการใช้เงินในการซื้อเมล็ดพันธุ์ หรือหว่าน ไถ เป็นต้น ดังนั้นความต้องการใช้เงินในช่วงครึ่งปีหลังจึงมีมากกว่าครึ่งปีแรก
ทั้งนี้ในส่วนของผลประกอบการครึ่งปีแรกจะประกาศในเร็วๆนี้ ส่วนในครึ่งปีหลังยังมีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก และในช่วงครึ่งปีหลังนี้มีแผนปรับเป้าหมายสินเชื่อปีนี้ใหม่ จากเดิมคาดเติบโต 20-25%จากความต้องการสินเชื่อที่ยังเพิ่มขึ้น ขณะที่เอ็นพีแอลของบริษัทอยู่ที่ระดับ 1%ส่วนประเด็นที่คู่แข่งมีการลดดอกเบี้ย มองว่า ไม่มีผลกระทบต่อบริษัทแต่อย่างใด เนื่องจาก ปัจจุบั้นบริษัทก็ให้ดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำอยู่แล้ว
จากสถานการณ์ของโควิด-19 ในปัจจุบัน ในแง่ของการปล่อยสินเชื่อไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด เพราะยังมีความต้องการใช้เงินอย่างต่อเนื่อง แต่ในแง่ของการเก็บเงินเชื่อว่าจะกระทบต่อการทำงาน ในการเข้าหาลูกค้า รวมทั้งการพบลูกค้าก็จะช้าลง ดังนั้นจากสถานการณ์ของโควิด-19คงจะกังวลเพียงเรื่องการเก็บเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า
อย่างไรก็ตามในปี 2564 วางเป้าขยายสาขาเพิ่มอีก 600 สาขา แม้มีสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ระบาด แต่เชื่อว่าจะยังขยายสาขาได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยสิ้นปี 2564 คาดมีสาขารวมทั้งสิ้น 5,600-5,800 สาขา และกำหนดงบในการขยายสาขา 10-20 ล้านบาทต่อสาขา เพื่อรองรับความต้องการสินเชื่อของกลุ่มลูกค้าตามต่างจังหวัด
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่านักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า คาด MTC จะรายงานกำไรไตรมาส 2/64ที่ 1.38พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หนุนโดยควบคุมต้นทุนได้ดีและการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมที่แข็งแกร่งสามารถชดเชย NIM ที่ลดลง แม้ว่า MTC จะเพิ่มจำนวนสาขาเป็น 5,283 แห่ง เติบโต 16%จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในไตรมาส 2/64แต่อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ของบริษัทน่าจะทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการควบคุมต้นทุนที่ดี
โดยรายได้ค่าธรรมเนียมคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 33% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากค่าธรรมเนียมการจัดเก็บหนี้ที่สูงขึ้น ส่วนคุณภาพสินทรัพย์ คาดว่าอัตราส่วน NPL จะเพิ่มขึ้น เป็น 1.01% และต้นทุนสินเชื่อเพิ่มขึ้น 85bp ในไตรมาส 2/64โดยคาดว่าสินเชื่อน่าจะเติบโตแตะ 5.5 -6.0 พันล้านบาท ในไตรมาส 2/64 ซึ่งเป็นการเติบโตรายไตรมาสที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมายที่ 68 บาท

SAK ไตรมาส 3 รับไฮซีซั่น

ขณะที่ SAK โดยนายศิวพงศ์ บุญสาลี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SAK เปิดเผยกับ Wealthy Thai ว่า บริษัทมองในช่วงไตรมาส 3เป็นช่วงไฮซีซั่นอยู่แล้ว เนื่องจาก เป็นฤดูการทำการเกษตร ของภาคการเกษตร โดยนับตั้งแต่เดือนก.ค.ไปจนถึงเดือนต.ค.จะเป็นไฮซีซั่นของบริษัท
ดังนั้นด้วยปัจจัยจัยเหล่านี้เชื่อว่าผลประกอบการครึ่งปีหลังจะเติบโตได้ดีกว่าครึ่งปีแรก โดยคาดว่ายอดสินเชื่อจะเติบโตสูงมากในช่วงไตรมาส 3 ซึ่งช่วงครึ่งปีแรกพอร์ตสินเชื่อของบริษัทขยายตัวเป็น 7,500 ล้านบาท เติบโตราว 1,100ล้านบาท จากต้นปีที่ผ่านมา ทำให้มีรายได้จากดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเพิ่มมากขึ้น
ขณะที่ในช่วงครึ่งปีหลังปัจจัยที่เป็นแรงกดดันน่าจะเป็น มาตรการภาครัฐในการควบคุมการระบาดของโควิด-19 การจัดหาวัคซีน การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เพราะหากปล่อยนานไป เชื่อว่าประชาชนจะประกอบธุรกิจไม่ได้ จึงมองว่าเป็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาค เมื่อประชาชนขาดรายได้ ก็จะไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยหวังว่าภาครัฐจะแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้นโดยเร็ว
นอกจากนี้ประเด็นที่คณะรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงเรื่องหนี้ภาคครัวเรือน โดยให้ภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาพิจารณาทบทวนในเรื่องของการลดดอกเบี้ย และลดภาระของประชาชน โดยขณะนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ประสานงานร่วมกันกับผู้ประกอบการคาดว่าภายในเดือนก.ค.นี้จะมีความชัดเจนว่าจะมีการดำเนินการอย่างไร
แต่หากมีการลดดอกเบี้ยคาดว่ามีผลกระทบไม่มากเพราะบริษัทไม่ได้มีการเรียกเก็บดอกเบี้ยเต็มเพดาน ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อทะเบียนรถ และสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ หากลดเพดานมาราว 1-2%บริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมาบริษัทมีการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อจำนวนมาก หากมีการลดดอกเบี้ยลง ก็จะมีรายได้เข้ามาชดเชย
ส่วนประเด็นที่คู่แข่งมีการลดดอกเบี้ย มองว่าไม่มีผลกระทบต่อบริษัท เพราะเมื่อดูจากตัวเลขของสินเชื่อลูกค้าใหม่ที่บริษัทหาได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และลูกค้าเก่าก็ยังไม่ได้หายไปไหน
สำหรับแนวโน้มทั้งปี 64 มุ่งขยายพอร์ตสินเชื่อเพิ่มเป็น 8,400 ล้านบาท โต 30% จากปีก่อน โดยเป็นการเติบโตจากฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับขยายสาขาใหม่ในปี 64 ครบ 200 สาขา พร้อมให้บริการตั้งแต่เดือน พ.ค.64 ทำให้ปี 64 มีสาขารวม มี 719 สาขา ครอบคลุม 40 จังหวัด ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ขณะเดียวกันในอนาคตยังมีแผนขยายไปยังจังหวัดอื่นๆอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในปีนี้จะเปิดในจังหวัดที่มีสาขาให้บริการไปก่อน เพื่อให้เกิดการครอบคลุม และความหนาแน่นของสาขามากยิ่งขึ้น ซึ่งงบในการขยายสาขาไม่ถึง 2 แสนบาทต่อสาขา ตั้งเป้าปี 65-66 เปิดสาขาเพิ่มปีละ 200 สาขา ทำให้จำนวนสาขาเพิ่มขึ้นมาเป็น 1,100 สาขา และบริษัทวางแผนปี 66 มีพอร์ตสินเชื่อแตะ 12,000 ล้านบาท
ขณะที่จากสถานการณ์ของโควิด-19 ในปัจจุบัน จะมีผลกระทบบ้างต่อประชาชน และกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในเมืองใหญ่ ที่มีการระบาด ทำให้กลุ่มที่ค้าขายในตลาดหรือลูกจ้างไม่ประจำ จะมีผลกระทบต่อการหารายได้ หรือผู้ประกอบการร้านอาหารก็ขาดรายได้อีกด้วย ขณะที่ลูกค้าภาคเกษตรการประกอบธุรกิจยังดำเนินการปกติ รวมทั้งพ่อค้าคนกลางที่เข้ามารับซื้อสินค้าก็ยังดำเนินการได้ปกติ ต่างจากปีก่อนที่ไม่สามารถเดินทางเข้ามาซื้อสินค้าได้ โดยในการรับมือโควิด-19 นอกจากมาตรการของภาครัฐที่กำหนดมานั้น บริษัทได้จัดสรรวัคซีนชิโนฟาร์ม เพื่อฉีดให้กับพนักงานทุกคน 1,800 คน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนก.ค.นี้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0