โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

OneSpace บริษัทเอกชนจีนทดสอบยิงจรวดได้สำเร็จ ส่อแววจีนเตรียมจับทางธุรกิจอวกาศ

Thaiware

อัพเดต 22 พ.ค. 2561 เวลา 03.00 น. • เผยแพร่ 22 พ.ค. 2561 เวลา 03.00 น. • bywa
OneSpace บริษัทเอกชนจีนทดสอบยิงจรวดได้สำเร็จ ส่อแววจีนเตรียมจับทางธุรกิจอวกาศ
นับว่าเป็นทั้งครั้งแรกของ OneSpace และยังเป็นบริษัทเอกชนรายแรกของจีนที่สามารถทำการปล่อยตัวจรวดได้สำเร็จ

พี่จีนฉลองรับความสำเร็จ ภายหลังการทดสอบยิงจรวดโดยการดำเนินงานของบริษัท OneSpace Technologies ซึ่งเรียกว่าเป็นทั้งครั้งแรกของบริษัท รวมทั้งการเป็นบริษัทเอกชนรายแรกของประเทศจีนที่สามารถทำการปล่อยตัวจรวดด้วยตัวเองได้สำเร็จ นับว่าเป็นก้าวแรกที่ยิ่งใหญ่มากๆ ของจีนในการจะหันมาจับธุรกิจด้านอวกาศในเชิงพาณิชย์

จรวด Chongqing Liangjiang Star หรือ OS-X0 ถูกยิงจากฐานยิงซึ่งไม่มีการเปิดเผยตำแหน่ง ซึ่งได้ขึ้นไปจนถึงระดับความสูงที่ 25 ไมล์ (ราว 40 กิโลเมตร) และเดินทางไปประมาณ 170 ไมล์ (ราว 270 กม.) ก่อนที่จะตกกลับลงมายังโลกในพื้นที่ซึ่งถูกกำหนดไว้

แต่เดิมอุตสาหกรรมอวกาศของจีนนั้นถูกควบคุมโดยหน่วยงานอวกาศของรัฐบาลจีน หรือ China National Space Administration (CNSA) แต่ต่อมาในปี 2014 รัฐบาลจีนก็ตัดสินใจที่จะให้เอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้เน้นย้ำถึงความต้องการของเขา ที่จะทำให้จีนกลายเป็น 'ประเทศมหาอำนาจในด้านอวกาศ'

และ OneSpace ก็คือบริษัทเอกชนของจีนรายแรกซึ่งเป็นเจ้าของผลงานความสำเร็จในข้างต้นนี้ Shu Chang ซีอีโอของบริษัทฯ  ได้ให้สัมภาษณ์ว่า "เขาหวังว่า OneSpace จะกลายเป็น 'บริษัทรายใหญ่ของโลกที่เป็นผู้นำในเรื่องการปล่อยดาวเทียมขนาดเล็ก' และบริษัทฯ ยังมีแผนจะปล่อยตัวจรวดอีกถึง 10 ครั้งในปี 2019 นี้"

นอกจากนี้ก็ยังมีการกล่าวถึงบริษัท SpaceX ในเชิงเปรียบเทียบ และจะมุ่งพัฒนาในส่วนของตัวเองต่อไป เช่น เรื่องขนาดของจรวดซึ่ง OneSpace มีจรวดขนาดเล็กเพียง 30 ฟุต ซึ่งเล็กกว่าจรวดลำแรกของ SpaceX ที่สูง 70 ฟุต มากกว่าครึ่ง และสามารถรับน้ำหนักดาวเทียมได้เพียง 220 ปอนด์ (ประมาณ 100 กก.) เท่านั้น

ทั้งยังพูดถึงเรื่องการใช้เครื่องยนต์ ซึ่งของ OneSpace จะเป็น เครื่องยนต์เชื้อเพลิงแข็ง (Solid rocket fuel) ซึ่งโดยทั่วไปจะมีเสถียรภาพมากกว่าและสร้างได้ง่ายกว่า แต่จะไม่ไม่สามารถนำจรวดขับดันกลับมาใช้ใหม่ได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0