โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

Nike, Adidas และ Under Armour ร่วมลงชื่อบอก “ทรัมป์” ใจเย็นก่อน! อย่าเพิ่งขึ้นภาษีนำเข้ารองเท้าจากจีน

Positioningmag

อัพเดต 21 พ.ค. 2562 เวลา 06.53 น. • เผยแพร่ 21 พ.ค. 2562 เวลา 06.59 น.

ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรองเท้ากว่า170 ราย รวมถึง Nike, Under Armour, Adidas, Foot Locker, Ugg และ Off Shoe Shoe Warehouse ได้เขียนจดหมายถึงทำเนียบขาวเพื่อขอให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พิจารณาหยุดการขึ้นภาษีรองเท้านำเข้าจากประเทศจีน

ข้อเรียกร้องนี้มีขึ้นหลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วทำเนียบขาว เปิดรายชื่อสินค้าขำเข้าจากจีนมูลค่ากว่า 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งอาจถูกภาษี 25% หากทรัมป์ตัดสินใจที่จะเดินหน้าทำสงครามภาษี

โดยในจำนวนนี้รวมไปถึงรองเท้า ที่ไล่ตั้งแต่รองเท้าผ้าใบ รองเท้าแตะ รองเท้ากอล์ฟ และรองเท้าสกี เป็นต้น

[caption id="attachment_1230751" align="aligncenter" width="960"]

Source : Facebook Adidas[/caption]

The Footwear Distributors and Retailers of America หรือ ผู้จัดจำหน่ายรองเท้าและผู้ค้าปลีกแห่งอเมริกา ประเมินว่า หากการขึ้นภาษีเป็นจริง ชาวอเมริกันจะต้องจ่ายค่ารองเท้าเพิ่มคิดเป็นเงินกว่า 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 2.2 แสนล้านบาท จึงของให้ “ถอดรองเท้าออกทันที” จากการถูกพิจารณาว่าต้องเสียภาษีเพิ่ม

“ขณะที่อัตราภาษีศุลกากรของสหรัฐ สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.9% แต่รองเท้าถูกคิดภาษีเฉลี่ย 11.3% ที่สำคัญรองเท้ามีอัตราเข้าถึงสูงกว่า 67.5% การขึ้นภาษีจะทำให้ครอบครัวชาวอเมริกันบางครอบครัว ต้องจ่ายเงินเพิ่มเกือบ 100% สำหรับสำหรับรองเท้าของพวกเขา” จดหมายกล่าว “นี่เป็นสิ่งที่ไม่อาจหยั่งรู้ได้”

ปีที่แล้วสหรัฐอเมริกานำเข้ารองเท้ามูลค่า 11.4 พันล้านดอลลาร์จากประเทศจีน ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่า อุตสาหกรรมรองเท้าในสหรัฐต้องพึ่งจีนอยู่ ด้วยมีต้นทุนแรงานราคาถูก แต่มีฝีมือ

[caption id="attachment_1230752" align="aligncenter" width="640"]

Source : Facebook Under Armou[/caption]

ก่อนหน้านี้ทั้ง Nike, Adidas และ Under Armour รวมไปถึงผู้ผลิตอื่นๆ ได้เริ่มย้ายฐานการผลิตไปที่เวียดนามบ้างแล้ว แต่รองเท้าเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก และต้องมีการวางล่วงหน้าหลายปี จึงไม่สามารถย้ายโรงงานได้ทันที

Source

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0