โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

New Normal ท้าทายธุรกิจขนส่งอาหารผ่านพรมแดน คาด...ทั้งปี 63 ยังไม่ราบรื่น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

อัพเดต 07 ก.ค. 2563 เวลา 09.14 น. • เผยแพร่ 07 ก.ค. 2563 เวลา 09.14 น.
food Transportation
food Transportation

​COVID-19 ทำให้ 4 เดือนแรกของปี 2563 การค้าชายแดนและผ่านแดนไทยมีมูลค่าลดลงมาอยู่ที่ 209,231 ล้านบาท หดตัว 10.6% (YoY) โดยเฉพาะการส่งออกอาหารสด ผักและผลไม้ที่หดตัวสูงถึง 38.1% (YoY) เนื่องจากมีความอ่อนไหวด้านระยะเวลาขนส่งอย่างมาก ขณะที่อาหารแปรรูปยังขยายตัวที่ 2.0% (YoY) นอกจากนี้ การส่งออกอาหารในภาพรวมยังต้องเผชิญกับต้นทุนการขนส่งที่ไม่แน่นอนในการรับมือกับมาตรการเฉพาะหน้าอย่างการคัดกรองบุคคลข้ามแดนที่มีผลอย่างมากต่อการขนส่ง รวมถึงมาตรการความปลอดภัยอื่น ๆ ที่จะส่งผลในระยะต่อไปจนกลายเป็นวิถีการขนส่งข้ามแดนรูปแบบใหม่ (New Normal)
การส่งออกอาหารผ่านชายแดนในปี 2563 อาจไม่ราบรื่นตลอดทั้งปี เนื่องจากการส่งออกอาหารสด ผักและผลไม้คิดเป็นสัดส่วนถึง 30% ของการส่งออกอาหารผ่านชายแดน อีกทั้งสินค้าเกือบทั้งหมดมีปลายทางอยู่ที่เวียดนามและจีน ซึ่งต้องขนส่งผ่าน สปป.ลาว และต้องปรับตัวรับมือกับบางมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าอาหารสดที่ต้องแข่งกับเวลา รวมทั้งการปรับตัวในระยะยาวให้พร้อมรับมือกับมาตรฐานความปลอดภัยและสุขอนามัยตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงมือผู้บริโภคซึ่งนานาประเทศจะให้ความสำคัญมากขึ้นในระยะข้างหน้า
อย่างไรก็ดี วิกฤติ COVID-19 ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าวิถีปฏิบัติของการขนส่งสินค้าทางบกภายในภูมิภาคแบบเดิมยังไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินการขนส่งสะดุดอย่างมาก ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญของภาครัฐที่ต้องเร่งผลักดันลดอุปสรรคในการขนส่งสินค้าในภูมิภาคให้สามารถเชื่อมโยงกันในทางปฏิบัติได้ทุกเส้นทาง เพื่อบรรเทาปัญหาจากความไม่แน่นอนหากไวรัสกลับมาลุกลามอีกครั้ง อาทิ การเจรจาให้แต่ละประเทศอะลุ่มอล่วยกฎระเบียบภายในเพื่อให้ทุกประเทศได้ประโยชน์ร่วมกันในการขนส่งสินค้า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0